การประเมินผลการประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์แผนไทย ของผู้ประกอบวิชาชีพที่ผ่านการอบรมการใช้ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสม

Main Article Content

อรปภา จันทร์หอม
ระพีพรรณ ฉลองสุข

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินผลการประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์แผนไทยของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยที่ผ่านการอบรมการใช้ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสม และศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการนำความรู้จากการอบรมไปใช้ วิธีการ : การศึกษานี้เก็บข้อมูลในผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยที่ผ่านอบรมการใช้กัญชาทางการแพทย์แผนไทยปี พ.ศ. 2562 จำนวน 452 คน ด้วยแบบสอบถามปัญหาและอุปสรรคในการนำความรู้จากการอบรมไปใช้จริง และแบบทดสอบการประยุกต์ใช้ความรู้ในรูปแบบกรณีศึกษาจำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับการอบรมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) กฎหมายและการรายงานยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 และความรับผิดทางกฎหมาย 2) การเฝ้าระวังความปลอดภัยการใช้ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ 3) ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่และความรู้พื้นฐานสมุนไพรกัญชา และ 4) หลักการและแนวทางการปรุงยาเฉพาะราย การประยุกต์ใช้ความรู้มีคะแนนในช่วง 8 - 40 คะแนน เกณฑ์การผ่านการทดสอบคือคะแนนร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม ผลการวิจัย: ผู้ผ่านเกณฑ์การทดสอบการประยุกต์ใช้ความรู้มีจำนวน 340 คน (ร้อยละ 75.22) ค่าเฉลี่ยของคะแนนในผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรวิทยากร ครู ก (29.41 ± 5.56) มากกว่าคะแนนของผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการใช้กัญชาทางการแพทย์แผนไทย (26.44 ± 5.35) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) ความรู้ด้านหลักการและแนวทางการปรุงยาเฉพาะรายเป็นด้านที่มีผู้ตอบตอบถูกมากสุด มีคะแนนเฉลี่ย 4.32 ± 0.86 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน) ด้านการเฝ้าระวังความปลอดภัยการใช้ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่มีผู้ตอบถูกน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ย 2.11 ± 1.03 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน) กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า ปัญหาและอุปสรรคในการสั่งใช้ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสม ได้แก่ การขาดประสบการณ์การสั่งใช้ยา ประชาชนยังขาดความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ และความกังวลผลข้างเคียงจากการใช้กัญชาทำให้ไม่กล้าสั่งใช้ยา สรุป: ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรโดยเพิ่มเติมความรู้ในเชิงปฏิบัติและเพิ่มคำถามของการประเมินผลการอบรมในรูปแบบกรณีศึกษา และควรจัดทำหลักสูตรเพิ่มพูนทักษะเพื่อพัฒนาผู้ผ่านการอบรมอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Department of Thai Traditional and Alternative Medicine. Thai traditional medicine wisdom book set conservation edition: National Thai traditional medicine recipes with marijuana. Nonthaburi: Sam chareon Phanich; 2021.

The Act Promulgating the Narcotics Code, B.E. 2564. Royal Gazette No. 138, Part 73A (Nov 21, 2021).

Notification of the Ministry of Public Health on specifying the names of narcotics in schedule B.E. 2565. Royal Gazette No. 139, Part 35D special (Feb 9, 2022).

Assanangkornchai S, Thaikra K, Talib MF, Paileeklee S, Jaroenrat S, Sai-ngam D. Population size estima tion of current medical cannabis user in Thailand [online]. 2021 [cited Dec 6, 2022]. Available from: kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5346?show=full.

Kanato M, Leeyatikul P, Wong-ooppama R. Impact of marijuana laws in Thailand. ONCB Journal 2020; 36: 24-34

Office for the Management of Cannabis and Kratom in Thai Traditional Medicine. Sixteen Thai traditional medicine recipes containing cannabis [online]. 2021 [cited Dec 6, 2022]. Available from: ockt.dtam.moph. go.th/index.php/cannabis-formula/200-infographic-16.

Food and Drug Administration. Report on the efficacy, effectiveness and safety of cannabis use [online]. 2021 [cited March 12, 2021]; Available from: toimin ta2.fda.moph.go.th/Reports/powerbi/MRJN/hvpc_bi? rs :embed= true&APP=GUEST.

Medical Department. Guidelines for providing inte- grated cannabis clinic services. Bangkok: Office of the Printing Affairs of the Veterans Organization; 2021.

Office for the Management of Cannabis and Kratom in Thai Traditional Medicine. Training course [online] . 2019 [cited Dec 6, 2022]. Available from: ockt.dtam .moph.go.th/index.php/training/176-2019-09-16-09-0 9-49.

Yamane T. Statistics: An introduction analysis. 3th ed. Tokyo: Haeper International Education; 1973.

Baron N. The ‘TOT’: a global approach for the training of trainers for psychosocial and mental health interventions in countries affected by war, violence and natural disasters. Intervention 2006; 4: 109-26.

Krikpatrick DL, Evaluation the ASTD training and development handbook. 2nd ed. New York: Mcgraw Hil; 1996

Suwankesawong W, Pokhakul P. Development of risk-based approach for safety monitoring program of new drug in Thailand. Thai Food and Drug Journal. 2019; 26: 11-24.

Thai Traditional Medical Council. Standard criteria and procedures of Thai traditional medicine practitioners [online]. 2020. [cited Dec 11, 2022]. Available from: thaimed.or.th/wp-content/uploads/20 20/05/

Saijanket P, Nojan P, Meekai N, Suknarin R. Knowl edge and attitudes about medical cannabis among people in Phitsanulok province. Journal of Thai Tradi tional & Alternative Medicine. 2020; 8: 595-603.