การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนการตลาดโดยใช้แนวคิด A3: กรณีศึกษายาอมประสะมะแว้ง

Main Article Content

สมฤทัย บุญญาวรรณ
วรรณี ชัยเฉลิมพงษ์
นุศราพร เกษสมบูรณ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อวางแผนการตลาดโดยใช้แนวคิด A3 กับยาอมประสะมะแว้งและประเมินผลลัพธ์ระยะสั้นของแผนการตลาดดังกล่าวสำหรับยายี่ห้อ A วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 หรือการวางแผน เป็นการเก็บข้อมูลสำหรับจัดทำแผนการตลาด ข้อมูลทุติยภูมิที่เก็บ ได้แก่ ยอดขายยาอมชนิดนี้ ข้อมูลลูกค้า และข้อมูลสถานที่ผลิตยา ข้อมูลปฐมภูมิที่เก็บ คือ ทัศนคติต่อการใช้ยาสมุนไพร ความคิดเห็นต่อส่วนประสมการตลาด ความคิดเห็นต่อนโยบายที่เกี่ยวข้องกับยาสมุนไพร การดำเนินงานผลิตยาสมุนไพร และการทำตลาดยาสมุนไพร ข้อมูลนี้เก็บโดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในบุคคล 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้มีอำนาจในการจัดซื้อจัดหาเวชภัณฑ์ 3 ท่าน 2) กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการสั่งใช้ยาสมุนไพร คือ แพทย์แผนปัจจุบัน 3 ท่าน แพทย์แผนไทย 3 ท่าน และเภสัชกร 3 ท่าน 3) กลุ่มผู้ป่วย/ผู้บริโภคยาอมชนิดนี้ 30 ท่าน และ 4) บุคลากรของสถานที่ผลิตยา A จำนวน 3 ท่าน ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติ เป็นวิเคราะห์ SWOT และ TOWS matrix ของสถานที่ผลิตยา A ตลาดยาอมชนิดนี้ในจังหวัด การหาสาเหตุรากของการที่ยา A มียอดขายน้อย และการวางแผนการตลาดโดยใช้แนวคิด A3 หลังจากนั้นดำเนินการตามแผนบางส่วนเป็นเวลา 3 เดือน ขั้นตอนที่ 3 การสังเกตการณ์เป็นการประเมินผลจากการนำแผนไปปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 4 เป็นการสะท้อนกลับโดยใช้ข้อมูลจากปัญหาที่พบเพื่อเสนอแนวทางปรับปรุงแผนการตลาดและจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับสถานที่ผลิตยา A ผลการวิจัย: แผนการตลาดที่ได้มีเป้าหมายการตลาดคือ 1) เพิ่มจำนวนลูกค้า ≥10 ราย ภายใน 1 ปี และ 2) เพิ่มยอดขายยานี้ ≥ ร้อยละ 50 ภายใน 1 ปี สาเหตุรากที่ทำให้ยอดขายน้อย ได้แก่ 1) บรรจุภัณฑ์ไม่ใช่แบบซองตามที่ผู้บริโภคต้องการ 2) การไม่มีฝ่ายการตลาด 3) การสั่งซื้อมีขั้นตอนยุ่งยากและไม่สะดวก 4) ราคาสูงกว่าคู่แข่ง และ 5) การไม่มีนโยบายสนับสนุนยาอมชนิดนี้ แผนการตลาดที่ได้ประกอบด้วยกลยุทธ์ด้านสินค้าและบริการ ราคา ช่องทางการจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด การประเมินผลรระยะสั้น พบว่า 1) จำนวนผู้สั่งซื้อยานี้เพิ่มขึ้นเป็น 18 แห่ง 2) ยอดขายยานี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 จากยอดขายเดิม 3) สามารถดำเนินการสำเร็จ 4 โครงการ เช่น โครงการสั่งซื้อผ่านแอพลิเคชั่นไลน์ การศึกษาพบปัญหา 5 เรื่อง เช่น ความเสี่ยงจากการมีกลุ่มเป้าหมายเดียวที่เป็นสถานพยาบาลของรัฐ การดำเนินโครงการนี้ทำให้ได้ข้อเสนอแนะดังนี้ 1) ควรทำวิจัยการตลาดเพิ่มเติม 2) ควรเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในการทำการตลาด 3) ควรปรับปรุงผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 4) ควรตั้งศูนย์จัดจำหน่ายในลักษณะนิติบุคคล และ 5) ควรปรับปรุงระบบสารสนเทศการเก็บข้อมูลของสถานที่ผลิตยา A และ 6) ควรจัดหาและพัฒนาบุคลากรให้เพียงพอต่อภาระงานและมีทักษะที่จำเป็น เช่น ด้านการตลาด สรุป: การนำแนวคิด A3 มาประยุกต์ใช้ในการทำแผนการตลาด ช่วยให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่ตรงกับสาเหตุ รวมถึงช่วยให้มีการดำเนินงานด้านการตลาดตามวงจรคุณภาพซึ่งจะทำให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kemmis S. Action research planner: Doing critical participatory action research. Singapore: Springer; 2016.

Evans EA, Ballen FH. Eight steps to developing a simple marketing plan [online]. 2015 [cited Sep 23, 2022]. Available from: edis.ifas.ufl.edu/pdf/FE/FE96 700.pdf

Kotler P, Keller KL. Marketing management. 14th Ed. New Jersey: Pearson Education; 2012.

Sareerat S, Meejinda P, Anuwitchanon J, Lertwan nawit A, Sareerat S. Marketing management. Bangkok: Thammasan company; 2017.

Office of Administrative System Development. How to Use A3 report to increase work performance [online]. 2015 [cited Feb 8, 2018] Available from: www.fda.moph.go.th: https://t2m.io/36zNLXfz

Mulder P. A3 lean template [online] 2012. [cited Feb 8, 2018]. Available from: www.toolshero.com/pro blem-solving/a3-lean-template/

Dager J. Marketing with A3. Developing a problem solving culture in your marketing [online]. 2016. [cited Sep 23, 2022]. Available from: business901. com/blog1/marketing-with-a3-ebook-download/

Elle LS. The A3 report [online]. 2018 [cited Sep 23, 2022]. Available from: wiki.doing-projects.org/index. php/The_A3_report

National Drug System Development Committee Declaration in 2013 on National List of Essential Medicines. Royal Gazette No. 130, Part 126 special (Sep 30, 2013).

Herbal Product Act B.E. 2562. Royal Gazette No. 136, Part 56A (April 30, 2019).

Abubakar A, Bagheri Zadeh P, Janicke H, Howley R. Root cause analysis (RCA) as a preliminary tool into the investigation of identity theft [online]. 2016 [cited Sep 23, 2022]. Available from: ieeexplore.ieee. org/abstract/document/7502349/

Matthews D. The A3 workbook: unlock your problem -solving mind. New York: Productivity Press; 2011.

Rule, procedure and condition of herbal product for general sales Act B.E. 2564. Royal Gazette No. 138, Part 93D special (April 30, 2021).