การพัฒนาจังหวัดอุทัยธานีสู่การเป็นจังหวัดใช้ยาอย่างสมเหตุผล
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาทุกอำเภอในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีเพื่อนำไปสู่การเป็นจังหวัดใช้ยาอย่างสมเหตุผลและประเมินผลของการพัฒนาดังกล่าว วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการประกอบด้วยกิจกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาล ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และในชุมชน การศึกษาเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังการพัฒนา ได้แก่ ความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของตัวอย่าง คือ ประชาชนสัญชาติไทยอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไปจำนวน 589 คน และสถานการณ์ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในครัวเรือนของตัวอย่าง 589 ครัวเรือน ผู้ช่วยวิจัยที่ผ่านการอบรมเป็นผู้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจ ผลการวิจัย: การพัฒนาจังหวัดอุทัยธานีสู่จังหวัดใช้ยาอย่างสมเหตุผลดำเนินการตามกรอบ six building blocks plus ประกอบด้วยการพัฒนา 1) ภาวะผู้นำและการอภิบาลระบบ 2) กำลังคนและการพัฒนาบุคลากร 3) ระบบบริการสุขภาพ 4) ระบบข้อมูลและสารสนเทศ 5) สื่อองค์ความรู้/เทคโนโลยีทางการแพทย์ 6) งบประมาณ และ 7) การมีส่วนร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ การดำเนินการพัฒนาประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสะท้อนการปฏิบัติการ และการปรับปรุงแผนการปฏิบัติการ โดยดำเนินการจำนวน 2 วงรอบ ผลผลิตของการพัฒนาที่พบ คือ ทุกอำเภอมีการดำเนินการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลทั้งในสถานบริการสุขภาพและในชุมชนโดยมี RDU coordinator ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบลเป็นผู้ประสานงานหลักในการขับเคลื่อนการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลหรือแก้ไขปัญหาการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมเชิงระบบอย่างมีส่วนร่วม ผลลัพธ์ที่พบ คือ หลังการพัฒนา ค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จาก 38.08 ± 9.59 คะแนน เป็น 44.26 ± 5.76 คะแนน (P < 0.001) ยาปฏิชีวนะเหลือใช้ในครัวเรือนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากร้อยละ 17.83 เป็นร้อยละ 14.16 (P = 0.009) และความชุกของครัวเรือนที่พบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อาจมีการปนเปื้อนของสารสเตียรอยด์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากร้อยละ 11.20 เป็นร้อยละ 3.20 (P <0.001) สรุป: การพัฒนาจังหวัดอุทัยธานีสู่การเป็นจังหวัดใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตามกรอบ six building blocks plus โดยมี RDU coordinator เป็นผู้ประสานงานหลัก ทำให้ทุกอำเภอมีการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลอย่างมีส่วนร่วม ทำให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพิ่มขึ้นและทำให้สถานการณ์ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในครัวเรือนลดลง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
National Health Commission Office. Irrational drug use is a big issue that people overlook [online]. 2022 [cited Jul 16, 2022]. Available from: www.nationalhe alth.or.th/th/node/2209
Chaiyakunapruek N, Nimphithakphong P, Jearapee rapong N, Dilokthornsakul P. A study of the scale and fiscal effects of drug overuse and policy solutions [online]. 2012 [cited Jul 16, 2022]. Available from: kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3 641?locale-attribute=th
Ratchatanawin R, Thakhinsathien A, Chailuekit L, Suksriwong C, Pongcharoensuk P. A study of the prevalence of clinical problems caused by steroid-containing agents without medical indication. Bang kok: Thailand Research Fund; 2007.
Poomthong S. Summary project to promote safe drug use in the community 2018-2019 [online]. 2019 [cited Jul 16, 2022]. Available from: ndi.fda.moph.go. th/uploads/sensible_file/ 20191118101736.pdf
Health Consumer Protection and Pharmacy Depart ment, Uthaithani Provincial Public Health Office. Annual report 2017-2018. Uthaithani; Uthaithani Provincial Public Health Office; 2018.
Ministry of Public Health. KPI template fiscal year 2022 [online]. 2022 [cited Dec 10, 2021]. Available from: bps.moph.go.th/new_bps/KPITemplate_MOPH
Puripanyawanich N. Developing a systematic proposal to promote the rational use of drugs in Thailand [online]. 2017 [cited Jul 11, 2022]. Available from: kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4697?lo cale-attrib ute=th
Office of Registration Administration, Department of Administrative Affairs. Registered population statistics: population by age Uthaithani province [online]. 2022 [cited Jul 11, 2022]. Available from: stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData
Roma W, Kloyiam S, Sookawong W, Kaew-Amdee T, Tunnung A, Khampang R. et al. Health literacy survey of thai people aged 15 years and over, 2019 [online]. 2022 [cited Aug 10, 2022]. Available from: kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5216
Phodha T, Maluangnon K, Kanjanarat P, Pumtong S. Development of tool and measurement of rational drug use literacy of Thai people [online]. 2021 [cited Jan 23, 2021]. Available from: kb.hsri.or.th/dspace /handle/11228/ 5595?locale-attribute=th
Rakchai N., Chaowanapulpol H., Prasertsuk S. Results of the service plan rational drug use hospital under the office of the permanent secretary for public heath, regional 8th. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2019; 15: 50-64.
Noksakda C. Developing a community-centered rational drug policy driven approach Khonkaen province [online]. 2021 [cited Oct 7, 2021]. Available from: www.r2rthailand.org/resources/detail/19123