การบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะริดสีดวงทวารสำหรับเภสัชกรชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
“ริดสีดวงทวาร” เป็นภาวะที่ผิดปกติของระบบทางเดินอาหารส่วนล่างที่พบบ่อย ภาวะนี้เกิดจากการมีแรงดันในระบบทางเดินอาหารส่วนล่างมากจนทำให้เนื้อเยื่อ anal cushion ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเบาะรองกันกระแทก ยืดตัวลงมาจนเกิดพยาธิสภาพขึ้นที่ทวารหนัก ในกรณีที่ไม่พบติ่งเนื้อยื่นออกมาภายนอกจะเรียกว่าคือริดสีดวงทวารภายใน แต่หากพบติ่งเนื้อยื่นออกมาภายนอกจะเรียกว่าริดสีดวงทวารภายนอก การซักประวัติผู้ป่วยให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมเป็นทักษะสำคัญของเภสัชกรชุมชนในการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยจะต้องได้ข้อมูลปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคและอาการแสดงที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การแยกโรคและระบุความรุนแรงของโรค การประเมินการตอบสนองของการรักษาที่ได้รับมาก่อนหน้าและอาการที่เปลี่ยนแปลงไป การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการรักษาพบว่า ไม่มีการกล่าวถึงบทบาทของการรักษาด้วยยามากนัก แต่เนื่องจากในบริบทงานเภสัชกรรมชุมชนของประเทศไทย จำเป็นต้องให้การบริบาลผู้ป่วยกลุ่มนี้เบื้องต้นโดยการใช้ยา บทความปริทัศน์วรรณกรรมฉบับนี้ พบประเด็นที่น่าสนใจ คือ ยากลุ่มที่สามารถจ่ายได้ ได้แก่ ยาชาเฉพาะที่ที่ผสมกับยาฝาดสมาน ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่ผสมกับยาชาเฉพาะที่ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่ผสมกับยาชาเฉพาะที่และ framycetin sulfate และ esculin และยารักษาริดสีดวงชนิดรับประทานเพิ่มการหมุนเวียนเลือด ลดการอักเสบ และเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเลือดฝอยและหลอดเลือดดำเล็ก ทั้งนี้ ต้องพิจารณาอาการแสดงของผู้ป่วยและต้องติดตามการตอบสนองด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Sheikh P, Régnier C, Goron F, Salmat G. The prevalence, characteristics and treatment of hemorrhoidal disease: results of an international web-based survey. J Comp Eff Res. 2020; 9: 1219-32.
Hong YS, Jung KU, Rampal S, Zhao D, Guallar E, Ryu S, et al. Risk factors for hemorrhoidal disease among healthy young and middle-aged Korean adults. Sci Rep. 2022; 12: 129.
Pata F, Sgró A, Ferrara F, Vigorita V, Gallo G, Pellino G. Anatomy, physiology and pathophysiology of haemorrhoids. Rev Recent Clin Trials. 2021; 16: 75-80.
Lawrence A, McLaren ER. External hemorrhoid [online]. 2021 [cited Aug 8, 2022].Available from: www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK500009/
Fontem RF, Eyvazzadeh D. Internal hemorrhoid [online]. 2021 [cited Aug 8, 2022].Available from: www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK537182/
Hollingshead JR, Phillips RK. Haemorrhoids: modern diagnosis and treatment. Postgrad Med J. 2016; 92: 4-8.
Sun Z, Migaly J. Review of hemorrhoid disease: presentation and management. Clin Colon Rectal Surg. 2016; 29: 22-9.
Mott T, Latimer K, Edwards C. Hemorrhoids: diagnosis and treatment options. Am Fam Physician. 2018; 97: 172-9.
De Marco S, Tiso D. Lifestyle and risk factors in hemorrhoidal disease. Front Surg. 2021; 8: 729166.
Jacobs D. Clinical practice. Hemorrhoids. N Engl J Med. 2014; 371: 944-51.
Garg P, Singh P. Adequate dietary fiber supplement and TONE can help avoid surgery in most patients with advanced hemorrhoids. Minerva Gastroenterol Dietol. 2017; 63: 92-6.
Alonso-Coello P, Mills E, Heels-Ansdell D, López-Yarto M, Zhou Q, Johanson JF, et al. Fiber for the treatment of hemorrhoids complications: a systematic review and meta-analysis. Am J Gastroenterol. 2006; 101: 181-8.
Garg P. Hemorrhoid treatment needs a relook: more room for conservative management even in advanced grades of hemorrhoids. Indian J Surg. 2017; 79: 578-9.
Sandler RS, Peery AF. Rethinking what we know about hemorrhoids. Clin Gastroenterol Hepatol. 2019; 17: 8-15.
Shafik A. Role of warm-water bath in anorectal conditions. The "thermosphincteric reflex". J Clin Gastroenterol 1993; 16: 304-8.
Tejirian T, Abbas MA. Sitz bath: where is the evidence? Scientific basis of a common practice. Dis Colon Rectum. 2005; 48: 2336-40.
Ryoo SB, Oh HK, Han EC, Song YS, Seo MS, Choe EK, Moon SH, Park KJ. Comparison between a new electronic bidet and conventional sitz baths: a manometric evaluation of the anal resting pressure in normal healthy volunteers. Tech Coloproctol. 2015; 19: 535-40.
Kestřánek J. Hemorrhoid management in women: the role of tribenoside + lidocaine. Drugs Context. 2019; 8: 212602.
Xia W, MacFater HS, MacFater WS, Otutaha BF, Barazanchi AWH, Sammour T, et al. Local anaesthe sia alone versus regional or general anaesthesia in excisional haemorrhoidectomy: a systematic review and meta-analysis. World J Surg. 2020; 44: 3119-29.
Feng J, Cheng J, Xiang F. Management of intractable pain in patients treated with hemorrhoidectomy for mixed hemorrhoids. Ann Palliat Med. 2021; 10: 479-83.
Altomare DF, Giannini I. Pharmacological treatment of hemorrhoids: a narrative review. Expert Opin Pharmacother. 2013; 14: 2343-9.
Sheikh P, Lohsiriwat V, Shelygin Y. Micronized purified flavonoid fraction in hemorrhoid disease: a systematic review and meta-analysis. Adv Ther. 2020; 37: 2792-812.