การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานร้านชำคุณภาพและการสำรวจร้านชำตามเกณฑ์ดังกล่าว ในอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ไสว ตันทวุทธ
สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานร้านชำคุณภาพและสำรวจร้านชำในอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษโดยใช้เกณฑ์ฯ ที่พัฒนาขึ้น วิธีการ: การศึกษานี้แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานร้านชำคุณภาพและแบบเก็บข้อมูลตามเกณฑ์ฯ โดยคณะผู้เชี่ยวชาญ ผู้วิจัยจัดการสนทนากลุ่มในเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้ประกอบการร้านชำ ผู้นำชุมชน และประชาชน รวม 24 คน ประเด็นการสนทนา คือ ความคาดหวังต่อร้านชำในพื้นที่ ความเหมาะสมของเกณฑ์ฯ ที่ร่างขึ้น และข้อเสนอแนะในการปรับปรุง ระยะที่ 2 เป็นการสำรวจร้านชำ 92 ร้านตามเกณฑ์ฯ ผลการวิจัย: การศึกษาระยะที่ 1 ทำให้ได้เกณฑ์ฯ ประกอบด้วย 3 หมวดคือ หมวดสถานที่ (4 ข้อ) หมวดผลิตภัณฑ์ (16 ข้อโดยเกี่ยวกับยา อาหาร และเครื่องสำอาง จำนวน 8, 6 และ 2 ข้อ ตามลำดับ) และหมวดความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (11 ข้อโดยเกี่ยวกับยา อาหาร และเครื่องสำอาง จำนวน 3, 5 และ 3 ข้อ ตามลำดับ) การสำรวจร้านชำในหมวดสถานที่พบ ร้านชำสะอาดไม่เจอหยากไย่ (ร้อยละ 78.26 ของร้านชำ) ไม่มีแสงแดดส่องถึงกรณีจำหน่ายเครื่องสำอาง (ร้อยละ 96.74) อาหารที่จำหน่ายสะอาด (ร้อยละ 96.74) และแยกหมวดหมู่การขายผลิตภัณฑ์สุขภาพเหมาะสม (ร้อยละ 92.39) ในหมวดผลิตภัณฑ์ยาพบการจำหน่ายยาสามัญประจำบ้าน (ร้อยละ 84.78) เช่น พาราเซตามอล ทุกร้านไม่มีการขายยาชุด พบการจำหน่ายยาอันตราย (ร้อยละ 15.22) ผลิตภัณฑ์อาหารประเภทเครื่องปรุงมีเลขสารบบอาหาร (ร้อยละ 100) อาหารแห้งมีฉลาก (ร้อยละ 75) ไม่มีอาหารเสื่อมคุณภาพ (ร้อยละ 98.91) ไม่มีอาหารกระป๋องบุบ/มีสนิม (ร้อยละ 97.83) ไม่มีอาหารดองที่มีกลิ่น ฟอง หรือสีฉูดฉาด (ร้อยละ 95.65) ไม่มีขนมปังที่พบเชื้อรา (ร้อยละ 97.83) ไม่พบการจำหน่ายเครื่องสำอางที่ไม่มีเลขจดแจ้ง (ร้อยละ 100) ในหมวดความรอบรู้ ร้านชำมีความรอบรู้ด้านยาร้อยละ 77.17 ด้านอาหารร้อยละ 97.83 และด้านเครื่องสำอางร้อยละ 54.35 สรุป: การศึกษาทำให้ได้เกณฑ์ฯที่สามารถนำไปใช้ประเมินร้านชำเพื่อให้ทราบถึงปัญหาของการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างไม่เหมาะสม ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปจัดการปัญหาเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Institute for Population and Social Research. Thai people health 2019. 2nded. Nakhon Pathom: Mahidol University; 2019.

Chengsatiansup K, Paonil V, Sringgernyuang L. Drug and community: Social and cultural dimensions [online]. 2007 [cited Dec 12, 2021]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4874.

Arthawekul T, Pansila W, Promsathayaprote W. The development of surveillance system for dangerous drug selling in grocery stores in the area of Sakreaprong sub-district, Muang district, in Buriram province. Christian University Journal 2016; 22: 498-509.

Naiyapatana O. Quantitative and qualitative research methodologies in behavioral and social sciences. 2nd ed. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House; 2008.

Food and Drug Administration. Assessment of quality grocery in 2020 [online]. 2020 [cited Sept 23, 2021]. Available from: www.kanpho.go.th/consumer/images /Form-Drugstore/market_checklist.pdf

Chiangmai Provincial Public Health Office. Assess ment form for quality grocery in 2019 of Chiangmai Provincial Public Health Office [online]. 2019 [cited Sept 23, 2021]. Available from: groups.google.com/ g/saraphidho/c/mnZFKPXkWts.

Food Sanitation Division, Health Department Assessment of quality grocery in 2020 [online]. 2020 [cited Sept 23, 2021]. Available from: foodsan.ana mai.moph.go.th/th/food-sanitation/204388.

Nakhonratchasima Health Provincial Office. Assess ment of quality grocery in 2020 [online]. 2020 [cited Sept 23, 2021]. Available from: fdakorat.files.word press.com/2020/01/grocerystore_formv2563.pdf.

Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley &Sons; 1977.

Bungyung U, Muenpa R. Prevalence of and factors affecting inappropriate sale of drugs in grocery stores within Phitsanulok Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2019; 11: 106-18.

Booddawong B, Kiatying-Angsulee N,.Wanleepong K, Boonmanus L, Kadsomboon O, Dokbua J, et al. Sources and distribution of unlawful medicines in 8 provinces of Thailand to inform the public policy change. Isan Journal Pharmaceutical Sciences. 2016; 11: 260-68.

Jitprasithsiri S. Prevalence of illegal drug distribution among Groceries in Sanamchaikhet District, Chacho engsao. Thai Journal of Pharmacy Practice 2019; 11: 388-96

Koonyodying A. Prevalence and characteristics of antibiotic providing groceries in Amphoe Wangnuea, Lampang province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2015; 7: 114-20.

Yodsatern P. Development of food standard surveil lance process in store [master thesis]. Mahasara kham: Mahasarakham University; 2019.