ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานของเภสัชกรคลินิกในยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันในประเทศไทย

Main Article Content

จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์
ราตรี สว่างจิตร
พยอม สุขเอนกนันท์ โอลสัน
ภัทรินทร์ กิตติบุญญาคุณ
รจเรศ นิธิไพจิตร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและค้นหาทักษะและองค์ความรู้ใหม่ที่จำเป็นในการพัฒนางานเภสัชกรรมคลินิกในยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน (digital transformation) วิธีการ: รูปแบบงานวิจัยเป็นแบบผสมผสานวิธีการโดยประยุกต์ใช้การสร้างแผนที่มโนทัศน์ (concept mapping) ตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่เข้าร่วมกระบวนการซึ่งถูกคัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจงจากตัวแทนเภสัชกรโรงพยาบาลและอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามรวม 24 คน ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและการจัดประชุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อระดมสมองในการตอบคำถามเจาะจง ได้แก่ “ทักษะและความรู้อะไรที่จะตอบโจทย์การทำงานทางด้านเภสัชกรรมคลินิกในอนาคตหรือยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน” การนำข้อมูลจากการจัดกลุ่มความคิดไปวิเคราะห์โดยใช้สถิติ multidimensional scaling และ hierarchical cluster analysis เพื่อให้ได้แผนที่มโนทัศน์ ผลการวิจัย: จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ปัญหาของเภสัชกรในการทำงานด้านเภสัชกรรม ได้แก่ ภาระงานที่เพิ่มขึ้นและการขาดอัตรากำลังคน ปัญหาในการสร้างเครือข่ายของฐานข้อมูลผู้ป่วย และการขาดทักษะที่จำเป็น เช่น ทักษะการใช้เทคโนโลยี เป็นต้น ความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับเภสัชกรคลินิกในยุคดิจิตอลทรานสฟอร์เมชันทั้งหมด 4 กลุ่มที่ได้จากการระดมสมองและการจัดกลุ่มความคิด รวมทั้งการให้คะแนนความสำคัญและความเป็นไปได้ในปฏิบัติ ได้แก่ 1. ความรู้และทักษะในการบริบาลทางเภสัชกรรม 2. ความรู้และทักษะในการคิด จัดการข้อมูล และการนำไปใช้ประโยชน์ 3. ความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีใหม่ และ 4. ความรู้และทักษะในการสื่อสาร สรุป: เภสัชกรควรมีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีใหม่ รวมทั้งการจัดการข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนางานเภสัชกรรมคลินิกในยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ministry of Public Health. Service plans B.E. 2561-2565. Bangkok: The Agricultural Co-operative Fede- ration of Thailand; 2016.

Prachuabmoh V. Aging in Thailand. Bangkok: Chula longkorn University; 2019.

Simonson W, Feinberg JL. Medication-related problems in the elderly: defining the issues and identifying solutions. Drugs Aging 2005; 22: 559-69.

National Institute of General Medical Sciences. Pharmacogenomics [online]. 2020 [cited Aug 31, 2022]. Available from: nigms.nih.gov/education/fact-sheets/Pages/pharmacogenomics.aspx.

U.S. Food and Drug Admistration. Biological product definition [online]. 2018 [cited Aug 31, 2022]. Availa- ble from: www.fda.gov/files/drugs/published/Biologi cal-Product-Definitions.pdf

Anderson HD, Saseen JJ. The importance of clinical research skills according to PharmD students, first-year residents, and residency directors. Curr Pharm Teach Learn 2017; 9: 224-9.

Mirzaian E, Franson KL. Leading a digital transfor- mation in pharmacy education with a pandemic as the accelerant. Pharmacy. 2021; 9: 19.

Fetooh HM, Youssef H, Ali AH, Yusuf M, Adel S, Zaki AAE, et al. A future vision for digital transformation in pharmacy and drug system. Med Updates. 2022; 8: 140-54.

de Jong CC, Ros WJG, van Leeuwen M, Schrijvers G. How professionals share an E-care plan for the elderly in primary care: Evaluating the use of an E-communication tool by different combinations of professionals. J Med Internet Res. 2016; 18: e304.

Baldoni S, Amenta F, Ricci G. Telepharmacy ser- vices : Present status and future perspectives: A review. Medicina 2019; 55: 327.

Faculty of Pharmacy, Mahasarakham University. Master of pharmacy program in clinical pharmacy [online]. 2022 [cited Aug 31, 2022]. Available from: pharmacy.msu.ac.th/en/?page_id=307.

Novak JD, Cañas AJ. The origins of the concept mapping tool and the continuing evolution of the tool. Inf Vis. 2016; 5: 175-84.