การพัฒนาการดำเนินงานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยแบบบูรณาการ จังหวัดลำปาง

Main Article Content

จันทนา ลี้สวัสดิ์
ถาวร ล่อกา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่ออธิบายกระบวนการและประเมินผลการพัฒนาการดำเนินงานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยแบบบูรณาการของจังหวัดลำปาง  วิธีการ:  การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบฝังในการพัฒนาบริการสุขภาพ โดยผสมผสานกิจกรรมการพัฒนาและกิจกรรมการวิจัย การศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2565  การวิจัยทำในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดลำปาง จำนวน 13 แห่ง การดำเนินงานแบบบูรณาการทำโดยพัฒนาเกณฑ์โรงพยาบาลอาหารปลอดภัย (เกณฑ์ฯ)  การดำเนินงานโครงการ และการวิจัยสลับกันเป็นระยะ ๆ กิจกรรมหลักมี ดังนี้ 1) การนำกิจกรรมการพัฒนาการดำเนินงานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยเริ่มต้นลงสู่การปฏิบัติ  2) การพัฒนาการดำเนินงานเป็นระยะ ๆ 3) การวิจัยเพื่อประเมินผล 4) การปรับรูปแบบและกิจกรรมการพัฒนา และ 5) การพัฒนาการดำเนินงานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยต่อเนื่อง การศึกษารวบรวมข้อมูลการดำเนินงานตามเกณฑ์ฯ และข้อมูลเกี่ยวกับบริบท ปัจจัยนำเข้า และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการนำเกณฑ์ฯ สู่การปฏิบัติ จากบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน จำนวน 63 คน โดยการสนทนากลุ่มและใช้แบบสอบถาม  ผลการวิจัย:  การดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1  ปีงบประมาณ 2562-2563  มีการบูรณาการประเด็นตามยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดลำปาง “ลดหวาน ลดเค็ม” ร่วมกับการดำเนินงานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยและปรับรูปแบบการจัดกิจกรรม การติดตามกำกับและรายงานผล ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2564 ได้พัฒนาเกณฑ์โรงพยาบาลอาหารปลอดภัยและโภชนาการจังหวัดลำปาง โดยกำหนดเกณฑ์ฯที่มีข้อกำหนดมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 19 ข้อและกำหนดให้ 6 ข้อเป็นเกณฑ์บังคับ ส่วนในระยะที่ 3 ปีงบประมาณ 2565 เพิ่มเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการขยายการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในโรงเรียน รอบรั้วโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผลการประเมินพบว่า โรงพยาบาลผ่านเกณฑ์ระดับดีเด่น จำนวน 10 แห่งและระดับดีมาก จำนวน 3 แห่ง ในการประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และ ด้านกระบวนการอยู่ในระดับดี ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการทำงานแบบบูรณาการและเกณฑ์ฯ สรุป: การพัฒนาการดำเนินงานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยแบบบูรณาการอย่างต่อเนื่อง และบริบท ปัจจัยนำเข้า และกระบวนการที่เอื้อต่อการดำเนินงาน ทำให้โรงพยาบาลทุกแห่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานในระดับที่พึงประสงค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Mobile Unit for Food Safety, Food Division. Food and health products safety situation at the place of sale (Provincial), results of preliminary analysis on chemistry and microorganisms, fiscal year 2017 [online]. 2017 [cited Apr 10, 2022]. Available from: webs.rmutl.ac.th/assets/upload/files/2018/06/20180 612134403_80883.pdf2.

Health Administration Division, Ministry of Public Health. Food safety hospital. 2nd ed. Samutsakorn: Born To Be Publishing; 2017.

Chiang Mai Provincial Public Health Office. Summary report of food and health product safety mobile unit, Public Health Region 1. Chiang Mai: Chiang Mai Provincial Public Health Office; 2018.

Lampang Provincial Public Health Office. Summary report of public health consumer protection mobile unit. Lampang: Lampang Provincial Public Health Office; 2017.

Bureau of Environmental Health, Department of Health, Ministry of Public Health. Green and clean hospital. 3rd ed. Bangkok: War Veterans Organization Office of Printing Mill; 2018.

Sakarin W. Development of management model on food safety hospitals management, Songkhla Province. Research and Development Health System Journal 2022; 15: 226-40.

Rakjun P, Vannasathid P, Klomthongjarean K, Baimai C. Transformational leadership, employee engage ment and intention to stay of employees: literature review. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology 2020; 5: 15-29.

Sirisunhirun S, Ploywan P, Amornsiriphong S, Nom nian A, Rugchatjaroen K, Arakpochong W. Human resource development for working competency in sugar cane, sugar, and continuous industries. Journal of Politics and Governance 2019; 9: 146-67.

Buangam S. The performance management for successful performance commitment. Dhammathas Academic Journal 2020; 20: 173-84.

Saengduangdee S. The development of participa- tory marketing public relations strategies for safe vegetable brand in Nakhonpathom Province. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences 2021; 4: 744-56.

Tawornnurak P, Boonyarit S, Tunsakul S. A study on the role for management of integral community health in Banbosai Health promoting hospital, Papayom district, Patthalung Province. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology 2017; 2: 27-33.

Vasasiri N, Prangam N. Human resource manage ment and performance efficiency of Phitsanulok University employees. Kasalongkham Research Journal Chiangrai Rajabhat University 2017; 11: 185-95.

Thurapang W. The influence of transformation leade rship and ability to reduce waste and intervening variables of empowerment are impact to the performance of logistic department staff in Asian Alliance International Company Limited. Journal of Innovation and Management 2020; 5: 98-114.

Putsom W, Junbu J. The influence of work roles, processes, and work motivation on student team work efficiency. APHEIT Social Science 2021; 27: 94-112.

Putsom W. The causal factor model of adaptive capability, business performance, and the survival of small business entrepreneurs in the COVID-19 situation. Dusit Thani College Journal 2021; 15: 129-44.

Uthaisang T. COVID-2019: raising morale and morale for healthcare workers. MCU Haripunchai Review 2021; 5: 94-107.