การปรับปรุงและประเมินผลระบบงานประสานรายการยา ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกของโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง

Main Article Content

ณิชากร พิริยะชนานุสรณ์
นพดล ชะลอธรรม
นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อปรับปรุงและประเมินผลระบบงานประสานรายการยา (medication reconciliation: MR) ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกของโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการด้วยการทบทวนเอกสารเพื่อวิเคราะห์ปัญหาของระบบงาน MR และการสนทนากลุ่มเชิงลึกในกลุ่มสหวิชาชีพผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการ MR จำนวน 11 รายเพื่อหาแนวทางปรับปรุงระบบ และกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายการดำเนินงาน ซึ่งนำไปสู่การจัดทำเครื่องมือปฏิบัติงานและแนวปฏิบัติของการทำ MR การศึกษาประเมินผลการทำ MR ในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกหลังปรับปรุงระบบ (เมษายน-มิถุนายน พ.ศ.2565) ผลการวิจัย: กระบวนการ MR ในระบบเดิมขาดการสื่อสารที่เพียงพอ ยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์และหน้าที่ในทีมสหวิชาชีพ ส่วนตัวชี้วัดในการดำเนินงาน คือ ปัญหาจากการใช้ยา ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้เพื่อป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา (medication error: ME) เมื่อมีการส่งต่อการรักษาได้ ทำให้ต้องปรับปรุงระบบ MR ด้วยการปรับขั้นตอนการสืบค้นประวัติยาเดิมของเภสัชกร การใช้ใบสั่งยาแยกสีตามประวัติแพ้ยา การใช้สติ๊กเกอร์แจ้งเตือนให้มีการทบทวนยา การติดตามและบันทึกผล MR ด้วยแบบบันทึกของเภสัชกรและฐานข้อมูลสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ หลังปรับปรุงระบบ MR พบว่า จากการเข้ารักษาในโรงพยาบาลทั้งหมด 184 ครั้ง มีผู้ป่วยได้รับการเปรียบเทียบรายการยาภายใน 24 ชั่วโมงของการแรกรับ 162 ครั้ง (ร้อยละ 88.0) และขณะจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล 179 ครั้ง (ร้อยละ 97.3) ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่กำหนด (ร้อยละ 80) ผู้ป่วยได้รับการแก้ไขปัญหายาไม่เพียงพอถึงวันนัดทุกครั้ง การศึกษาพบความแตกต่างของรายการยาที่แพทย์สั่งจ่ายใหม่เทียบกับรายการยาเดิมของผู้ป่วยในขณะแรกรับร้อยละ 17.1 และขณะจำหน่ายร้อยละ 6.2 ของจำนวนรายการยาที่สั่งจ่ายขณะรักษาในโรงพยาบาลทั้งหมด ความแตกต่างฯ ที่พบร้อยละ 27.4 เกิดจากความไม่ได้ตั้งใจของแพทย์ในการสั่งจ่ายรายการยาที่แตกต่างนั้นและไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุผลทางคลินิก ซึ่งนับเป็น ME ร้อยละ 20.1 ของจำนวนครั้งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งนี้ ME ที่พบมากที่สุด คือ ผู้ป่วยไม่ได้รับยาเดิมที่เคยได้รับ ความรุนแรงของ ME ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ B แพทย์ยอมรับคำปรึกษาจากเภสัชกรเพื่อป้องกันหรือลดการเกิด ME ร้อยละ 88.6 สรุป: การปรับปรุงระบบ MR ด้วยการเพิ่มการสื่อสารระหว่างวิชาชีพ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และการพัฒนาเครื่องมือปฏิบัติงาน ช่วยให้ค้นพบ ME ที่เกิดจากความแตกต่างของรายการยา ช่วยป้องกันการเกิดปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากการใช้ยา และทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

National Coordinating Council for Medication Error Report and Prevention (NCCMERP). NCC MERP Index for categorizing medication errors [online]. 2001 [cited Jan 23, 2022]. Available from: www. nccmerp.org/about-medication-errors

Institute for Healthcare Improvement. Medication reconciliation [online]. 2005 [cited Jan 8, 2022]. Available from: www.ihi.org/resources/Pages/View All.aspx?FilterField1=IHI_x0020_Topic&FilterValue1=Medication+Reconciliation

Tam VC, Knowles SR, Cornish PL, Fine N, Marche sano R, Etchells EE. Frequency, type and clinical importance of medication history errors at admis- sion to hospital: a systematic review. Can Med Assoc J 2005; 173: 510-5.

Paiboonvong T. Medication reconciliation, Thai Journal of Hospital Pharmacy 2007; 17: 185-192.

Ningsanon T. Medication reconciliation. In: Ningsa non T, Montakantikul P, Chulavatnatol S, editors. Medication reconciliation. Bangkok: Prachachon; 2008. p. 2-26.

Supachutikul A, Limpanyalert P, Madsathan W, editors. Healthcare service and hospital standard. 5th ed. Nonthaburi: Healthcare Accreditation Institute; 2021.

Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organizations, USA. Using medication reconcilia- tion to prevent errors. Sentinel Event Alert. 2006; 32: 230-2.

Jeenanan K, Cheawchanwattana A, Chanthapasa K, Ningsanon T. Medication reconciliation processes in in-patient department of public hospitals in region 7 of National Health Security Office, Ministry of Public Health. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2017; 13: 11-23.

Sirikantavanon C, Prakongsai N. Effect of a medica- tion reconciliation on medication error in diabetic patients, Prapokklao Hospital. Journal of Prapok klao Hospital Clinical Medical Education Center 2014; 31: 232-47.

Institute for Safe Medication Practices Canada (ISMP Canada). Medication reconciliation in acute care: Getting started kit. [online]. 2011 [cited Jan 13, 2022]. Available from: www.ismp-canada.org/ publications.htm

Gleason K, Groszek J, Sullivan C,Rooney D, Bar nard C, Noskin G. Reconciliation of discrepancies in medication histories and admission orders of newly hospitalized patients. Am J Health-Syst Pharm 2004; 61: 1689-95.

Tewthanom K, Tananonniwas S. Medication error and prevention guide for patient’s safety. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). 2009; 2: 1-23.

Phromkhot C, Rattanamahattana M. Development and evaluation of a hospital medication reconcili- ation process: A case study for diabetic in – patient service at a mid - level general hospital in the north east region. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2017; 13: 49-58.

Khankaew N, Singkan P. Outcomes of utilizing computer program in medication reconciliation from hospital to home by pharmacist. Thai Journal of Hospital Pharmacy 2021; 31: 209-220.

Madbouch N, Pattharachayakul S, Lerkiatbundit S. Effect of the utilization of pharmaceutical care tools developed to manage preventable adverse drug events in general surgical patients. Thai Journal of Pharmacy Practice 2018; 10: 494-504.

Taha H, abdulhay dana, Luqman N, et al. Improving admission medication reconciliation compliance using the electronic tool in admitted medical patients. BMJ Qual Improv Rep 2016; 5: 1-4.

Chanatepaporn P, Anutchatchaval S, Nakornratana chai P. Development of medication reconciliation at female-medicine Ward in Srinagarind Hospital. Srinagarind Medical Journal 2014; 29: 276-82.

Saithai S, Wongpoowarak P. Outcomes of medica- tion reconciliation at the female medical ward in a general hospital. Thai Journal of Pharmacy Practice 2013; 5: 1-15.

Mayachearw K, Wongpoowarak P. Effects of medica tion reconciliation Process at surgical wards in a regional hospital. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 8: 35-47.