ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนตาม หลักบันไดขั้นที่ 2 ของร้านขายยาแผนปัจจุบันในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เสถียร พูลผล
ณัฐธิดา วุฒิโสภากร
พันธ์วิรา ชาติสมพงษ์
ภัครินทร์ พณิชย์อมรกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (GPP) ตามหลักบันไดขั้นที่ 2 ของร้านยาในกรุงเทพมหานคร วิธีการ: งานวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้เก็บข้อมูลจากเจ้าของร้านยาหรือเภสัชกรประจำร้าน 108 แห่งที่เลือกมาโดยวิธีแบบตามความสะดวกโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ หรือแบบสอบถามทางไปรษณีย์ หรือการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ในช่วงธันวาคม 2563 – กุมภาพันธ์ 2564 แบบสอบถามที่ใช้สร้างโดยผู้วิจัยเพื่อสำรวจข้อมูลทั่วไปของร้านยาและประเมินความยากในการปฏิบัติตามข้อกำหนด GPP ขั้นที่ 2 โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้านได้แก่ ด้านสถานที่ ด้านอุปกรณ์ ด้านบุคลากร และด้านวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน ผลการวิจัย: ตัวอย่างร้อยละ 44.44 เป็นเจ้าของร้านที่เป็นเภสัชกร ร้านส่วนใหญ่เป็นร้านที่ติดถนนใหญ่ (ร้อยละ 39.8) มีคู่แข่งน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ร้าน (ร้อยละ 63.9) เปิดดำเนินการน้อยกว่า 3 ปี (ร้อยละ 49.1) มีพื้นที่มากกว่า 45 ตารางเมตร (ร้อยละ 35.2) เวลาทำการ 7 วัน (ร้อยละ 69.4) เปิดไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 63.9) มียอดขายต่อเดือน 200,000 – 500,000 บาท (ร้อยละ 37.0) เงินทุนสำหรับใช้ในการปรับปรุงร้านเพื่อให้ผ่านเกณฑ์น้อยกว่า 50,000 บาท (ร้อยละ 31.5) ตัวอย่างส่วนใหญ่ผ่านการประเมิน GPP แบบเต็มขั้นแล้ว (ร้อยละ 77.8)  ร้านยาสามารถปฏิบัติตามเกณฑ์ทั้ง 4 ด้านได้ง่าย (คะแนนเฉลี่ย = 1.33 ± 0.57 โดย 3 = ปฏิบัติได้ยากมากและ 1 = ปฏิบัติได้ง่าย) จำนวนคู่แข่ง สถานะการผ่านการประเมิน GPP ของร้านยา จำนวนปีที่เปิดดำเนินการ และเงินทุนสำหรับใช้ในการปรับปรุงร้านเพื่อให้ผ่านเกณฑ์ สามารถทำนายความสามารถในการปฏิบัติตามข้อกำหนด GPP ขั้นที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.002, 0.012, 0.015 และ 0.007 ตามลำดับ) สรุป: การสนับสนุนให้ร้านยาสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนด GPP ขั้นที่ 2 ควรให้ความสำคัญกับร้านที่มีคู่แข่งมากกว่า 2 ร้านขึ้นไป ร้านที่ต้องรับการประเมิน GPP ขั้นที่ 2 ร้านยาที่เปิดดำเนินการ มากกว่า 7 ปีขึ้นไป และร้านที่ต้องใช้เงินทุนสำหรับใช้ในการปรับปรุงร้านเพื่อให้ผ่านเกณฑ์มากกว่า 200,000 บาท

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Public Health Ministerial Rule in 2014 on the requirement of premises, instruments, and good pharmacy practice in selling establishments of modern drugs according to the Drug Act. Royal Gazette No. 131, Part 223D (supplement) (Nov 5, 2014).

Ministry of Public Health. Good pharmacy practices: GPP audit guide [online]. 2014 [cited Jun 17, 2020]. Available from: www.fda.moph.go.th/sites/drug/GPP PageFile/Operator/คู่มือการตรวจ20GPP20Sep20201 5.pdf

Vimolkittipong S, Pantong M. Guideline to achieve mandatory GPP regulation [online]. 2014 [cited Jun 18, 2020]. Available from: www.fda.moph.go.th/sites/ drug/GPPPageFile/Operator/ManagementGPP(29Oct2015).pdf.

Food and Drug Administration. Statistics of pharma- ceutical business licenses for the year 2019 [online]. 2019 [cited Jun 19, 2020]. Available from: www.fda. moph.go.th/sites/drug/Shared20Documents/Statistic/Licensee-20190828.pdf.

Food and Drug Administration. Statistics of pharma- ceutical business licenses for the year 2018 [online]. 2018 [cited Jun 19, 2020]. Available from: www.fda. moph.go.th/sites/drug/Shared20Documents/Statistic/Licensee-20181004.pdf.

Srisatidnarakul B. Effect size, power analysis, optimal sample size calculations using G*power software. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2020.

Srisatidnarakul B. The methodology in nursing research. 2nd ed. Bangkok: Faculty of Nursing, Chulalongkorn University; 2002.

Wientong P, Chinwong D, Chinwong S, Vachara- chaisurapol P, Dutjanuthat A, Supakul S. Readiness among community pharmacists in Chiang Mai to comply with the ministerial declaration on licensing and requirements on premises, instruments and good pharmacy practice. Thai Journal of Pharmacy Practice 2017; 9: 92-102.

Kittisuaban C, Kamwangpruek W, Prajunnual A, Phunpon S. A study of obstructive factors which impede participation in the Good Pharmacy Practice (GPP) of drug stores in Thailand. [independent study]. Bangkok: Siam University 2019.

Angkanavisul T. The study of ability to practice with law of Good Pharmacy Practice (GPP) of drugstore operator in Phra Nakorn Sri Ayutthaya. Government Pharmaceutical Organization 2014; 40: 27-36.

Thavornwattanayong W, Yuklanthuan C, Panyakrua P, Nakarin R, Athitrakoonlert E. Pharmacy owners’ opinions in Nakhon Pathom province on the notifica- tion of the Ministry of Public Health B.E. 2557 (2014) on the regulations of setting, equipment and good pharmacy practice. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences. 2016; 11: 27-44.