การส่งมอบยาและการให้คำแนะนำในการใช้ยาในหน่วยบริการปฐมภูมิของเขตสุขภาพที่ 10
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจสถานการณ์และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งมอบยาและการให้คำแนะนำในการใช้ยาในหน่วยบริการปฐมภูมิของเขตสุขภาพที่ 10 วิธีการ: การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน โดยการสำรวจผู้ส่งมอบยาและให้คำแนะนำในการใช้ยาประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ใช้แบบสำรวจประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับการทำกิจกรรม 55 รายการ แบ่งเป็น 6 หมวด ได้แก่ การบริหารจัดการระบบยา (22 ข้อ) มาตรฐานการส่งมอบยาและการให้คำแนะนำในการใช้ยา (10 ข้อ) การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (9 ข้อ) ระบบเฝ้าระวังความคลาดเคลื่อนทางยา (8 ข้อ) ระบบเฝ้าระวังการแพ้ยา (3 ข้อ) และระบบเฝ้าระวังการใช้ยาความเสี่ยงสูง (3 ข้อ) คำถามเป็นแบบปลายปิดมี 3 ตัวเลือก (มี/ไม่มี/ไม่ทราบ) คะแนนรวมของการปฏิบัติเท่ากับ 55 คะแนน และมีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างในผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 9 คนเพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน ผลการศึกษา: ผู้ตอบแบบสอบถามมีจำนวน 132 คน ส่วนใหญ่พยาบาลวิชาชีพเป็นผู้ส่งมอบยาและให้คำแนะนำในการใช้ยา (ร้อยละ 93.18) การส่งมอบยาและการให้คำแนะนำในการใช้ยาในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 48.50±8.61 คะแนน (เต็ม 55 คะแนน) คะแนนแยกตามหมวด คือ การบริหารจัดการระบบยา 17.71±5.80 คะแนน (เต็ม 22 คะแนน) มาตรฐานการส่งมอบยาและการให้คำแนะนำในการใช้ยา 9.53±1.03 คะแนน (เต็ม 10 คะแนน) การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล 8.57±1.11 คะแนน (เต็ม 9 คะแนน) ระบบการติดตามความคลาดเคลื่อนทางยา 7.22±1.32 คะแนน (เต็ม 8 คะแนน) ระบบการเฝ้าระวังการแพ้ยา 2.91±0.34 คะแนน (เต็ม 3 คะแนน) และระบบเฝ้าระวังการใช้ยาความเสี่ยงสูง 2.91±0.34 คะแนน (เต็ม 3 คะแนน) การได้รับการฝึกอบรมด้านการส่งมอบยาและการให้คำแนะนำในการใช้ยาและการมีเครื่องพิมพ์ฉลากยา (P<0.001) ช่วยสนับสนุนการทำงานด้านนี้ ผลการสัมภาษณ์พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานทั้งแง่บวกและลบ ได้แก่ บุคลากร กระบวนการจ่ายยา และการพัฒนาเข้าสู่มาตรฐาน รพ.สต. ติดดาว สรุป: การดำเนินงานการส่งมอบยาและการให้คำแนะนำในการใช้ยาของหน่วยบริการปฐมภูมิของเขตสุขภาพที่ 10 นั้นทำได้ดีในภาพรวม แต่หน่วยบริการปฐมภูมิยังคงต้องการเภสัชกรในการช่วยสนับสนุนการดำเนินงานด้านนี้ จึงควรสนับสนุนให้เภสัชกรได้ปฏิบัติหน้าที่ด้านนี้ในหน่วยบริการปฐมภูมิอย่างสม่ำเสมอ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
World Health Organization. Handbook for drug supply management at the first-level health facility [online]. 2006 [cited Jan 20, 2020]. Available from: apps.who .int/iris/handle/10665/69731
Pharmacy Board of Australia. Guidelines for dispensing of medicines [online]. 2015 [cited Jan 20, 2020]. Available from: www.pharmacyboard.gov.au/ codes-guidelines.aspx
Ministry of Health Malaysia. Guide to good dispensing practice [online]. 2016 [cited Jan 20, 2020]. Available from: www.pharmacy.gov.my/v2/sites/default/files/do cument-upload/gdsp-2016-final.pdf
Pharmacy Board of Australia. Guidelines for dispen sing of medicines [online]. 2015 [cited Jan 20, 2020]. Available from: www.psa.org.au/wp-content/uploads/ 2019/06/5574-PSA-Dispensing-Practice-guidelines_ FI NAL.pdf
Primary Care Supporting Office. Guideline for deve loping starred sub-district health promoting hospital 2020 [online]. 2020 [cited Jan 20, 2022]. Available from: drive.google.com/file/d/1L2HhIQtgfqdM0hT06 QLwlBregInl3alT/view
Service System Reform Working Group. A practice guideline for developing primary care cluster. Nonta buri: Ministry of Public Health; 2016.
Pagaiya N, Khaonuan B, Phanthunane P, Bamrung A, Jirawattanapisal T. Human resources for health projections for primary health care services in Thailand 2026. Journal of Health System Research 2018; 12:189–204.
Primary Care Pharmacy Working Group. Handbook for pharmacist to work in primary care unit. Bangkok: Srimuang Printing; 2017.
Mateeapiruk P. The analyze the performance in acordance with the pharmaceutical standards in primary care unit (PCU), Songkhla province. Southern College Network Journal of Nursing and Public Health 2017; 4: 153–70.
Seangsai K. Development of indicators and criterias to assess performance of primary care pharmacy for sub-district primary care [master thesis]. Maha Sarakham: Mahasarakham University; 2019.
Tanubhut R, Natt J. Operation of primary care pharmacy in North East region [dissertaion]. Maha Sarakham: Mahasarakham University; 2018.
Chankunapart P. Primary care pharmacy operation of district hospital under Ministry of Public Health. Thai Journal of Clinical Pharmacy. 2017; 23: 66–84.
Liu J, Xu B, Chen T, Chen J, Feng J, Xu C, et al. Practical issues in calculating the sample size for prevalence studies. Arch Orofac Sci. 2006; 1: 9–14.
Pharmacy Council of Thailand. Core competency for pharmacist. Nonthaburi: HR Print and Training; 2019.
World Health Organization. Monitoring the building blocks of health systems: A handbook of indicators and their measurement strategies. Geneva: World Health Organization; 2010.
Boddy CR. Sample size for qualitative research. Qual Mark Res. 2016;19: 426–32.
Austin Z, Sutton J. Research methods in pharmacy practice. China: Elsevier; 2018.
Farmer T, Robinson K, Elliott SJ, Eyles J. Develo ping and implementing a triangulation protocol for qualitative health research. Qual Health Res. 2006; 16: 377–94.
Saramunee K, Chaiyasong S, Anusornsangiam W, Kansutti N, Phasuk P. A Survey of need in improving knowledge and skills for primary care pharmacy. Journal of Science & Technology MSU. 2017; 36: 543–52.
Booncherd C, Saramunee K, Phimarn W. Perception towards roles of primary care pharmacy of multidisciplinary in the 10th health region. Health Science Journal of Thailand 2022; 4: 43–53.
Seeha A, Saramunee K. Development of a Care process at sub-district health promotion hospitals in Kamalasai health district to enhance safety for warfarin patients. Isan Journal of Pharmaceutical Science. 2019; 15: 37–49.
Leite SN, Bernardo NLM da C, Álvares J, Guerra Junior AA, Costa EA, Acurcio F de A, et al. Medicine dispensing service in primary health care of SUS. Rev Saude Publica 2017; 51: 1-10.
Rohaning W. Education management pharmaceu ticals and medicine public hospital in the district AoLuek, Krabi. Region 11 Medical Journal 2015; 29: 449–63.
Kunthong K, Fuangchan A. Development of medica tion service system to reduce medication error for patients with chronic diseases at Phakhai primary care unit, Ayutthaya. Isan Journal of Pharmaceutical Science. 2015; 11: 82-8.