การพัฒนาเครื่องมือส่งสัญญาณเพื่อใช้ติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยา ในงานเภสัชกรรมการจ่ายยาด้วยการสร้างแผนที่มโนทัศน์

Main Article Content

รจเรศ นิธิไพจิตร
ธีระพงษ์ ศรีศิลป์
พีรยา ศรีผ่อง
ปวิช พากฏิพัทธ์
นฤมล คูณเจริญรัตน์
เพชรรัตน์ดา ราชดา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาเครื่องมือส่งสัญญาณเพื่อใช้ติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาในงานเภสัชกรรมการจ่ายยาด้วยการสร้างแผนที่มโนทัศน์ วิธีการ: รูปแบบงานวิจัยเป็นแบบวิธีวิจัยผสมผสาน ผู้เข้าร่วมพัฒนาเครื่องมือส่งสัญญาณฯ ได้แก่ เภสัชกรในกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทำงานอยู่ในงานจ่ายยาผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน จำนวน 20 คนและอาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 4 คนผู้เข้าร่วมการวิจัยประชุมร่วมกันเพื่อกำหนด “คำถามเจาะจง” เพื่อใช้รวบรวมเครื่องมือส่งสัญญาณฯ หลังจากนั้น เสนอความคิดเพื่อตอบคำถามเจาะจงในแบบสอบถาม การประชุมครั้งที่ 2 จัดเพื่อพิจารณาความคิดที่ได้ และนำความคิดที่ผ่านการพิจารณาให้ผู้มีส่วนร่วมจัดกลุ่มและให้คะแนนความเป็นไปได้และความสัมพันธ์กับการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ต่อมานำข้อมูลการจัดกลุ่มไปวิเคราะห์ด้วย multidimensional scaling และ hierarchical cluster analysis ส่วนข้อมูลคะแนนความเป็นไปได้และความสัมพันธ์กับการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาวิเคราะห์ด้วยวิธี quadrant analysis เพื่อให้ได้แผนที่มโนทัศน์ ผลการวิจัย: ตัวส่งสัญญาณฯ ที่ได้มี 21 ตัวที่แบ่งได้ 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) การแพ้ยา 2) โรคที่เกิดจากยา 3) การปรับขนาดยาในโรคไต 4) ตัวส่งสัญญาณฯ เกี่ยวกับโปแตสเซียม และ 5) การได้รับยาเกินขนาด สรุป: เครื่องมือส่งสัญญาณฯ ที่ได้ครอบคลุมรายการยาและค่าทางห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจได้ในงานเภสัชกรรมการจ่ายยา จึงควรนำเครื่องมือส่งสัญญาณฯ ไปศึกษาประสิทธิผลในการค้นหาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Classen DC, Pestotnik SL, Evans R, Lloyd JF, Burke JP. Adverse drug events in hospitalized patients: Excess length of stay, extra costs, and attributable mortality. JAMA. 1997; 277: 301-6.

Institute for Healthcare Improvement. Introduction to trigger tools for identifying adverse events [online]. 2022 [cited May 3,2022]. Available from: www.ihi.org/resources/Pages/Tools/IntrotoTriggerToolsforIdentifyingAEs.aspx.

Griffin F, Resar R. IHI Global trigger tool for measuring adverse events 2nd ed. Cambridge, MA: Institute for Healthcare Improvement; 2009.

Classen DC, Resar R, Griffin F, Federico F, Frankel T, Kimmel N, et al. ‘Global trigger tool’shows that adverse events in hospitals may be ten times greater than previously measured. Health affairs. 2011; 30: 581-9.

Wong BM, Dyal S, Etchells EE, Knowles S, Gerard L, Diamantouros A, et al. Application of a trigger tool in near real time to inform quality improvement activities: a prospective study in a general medicine ward. BMJ Qual Saf. 2015; 24: 272-81.

Stultz J, Nahata M. Preventability of voluntarily reported or trigger tool-identified medication errors in a pediatric institution by information technology: A retrospective cohort study. Drug Saf. 2015; 38: 661-70.

Rozich JD, Haraden CR, Resar RK. Adverse drug event trigger tool: a practical methodology for measuring medication related harm. Qual Saf Health Care. 2003; 12: 194-200.

Yeesoonpan N, Tragulpiankit P, Kaeratigachakorn W, Uaviseswong T, Ninsananda T, Chaikledkaew U, et al. Detecting adverse drug events by trigger tool at a provincial hospital in Thailand. Thai Journal of Pharmacy Practice 2015; 7: 234-49.

Hu Q, Qin Z, Zhan M, Wu B, Chen Z, Xu T. Development of a trigger tool for the detection of adverse drug events in Chinese geriatric inpatients using the Delphi method. Int J Clin Pharm. 2019; 41: 1174-83.

Anansakulwat W. Knowledge from community of practice on risk management. risk search by trigger charted review. Engagement for Patient Safety; 15 July 2015; Miracle Grand Convention Hotel. Bangkok, Thailand: The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization); 2015.

Trochim WMK. An introduction to concept mapping for planning and evaluation. Eval Program Plann. 1989; 12: 1-16.