การพัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการคลังยาย่อยด้วยกูเกิลแอปพลิเคชัน: กรณีศึกษาในห้องยาย่อยคลินิกเอชไอวี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

Main Article Content

วีรียา วรรลยางกูร
พีรยศ ภมรศิลปธรรม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ 1) พัฒนาโปรแกรมการบริหารจัดการคลังยาย่อยด้วยกูเกิลแอปพลิเคชัน (Program for Management of Drug Sub-inventory by Google application: PMDSI-GA) และ 2) วัดประสิทธิผลจากการทำงานผ่านตัวชี้วัดต่าง ๆ สำหรับการเบิกจ่ายและการบริหารจัดการยาต้านไวรัสในห้องจ่ายยาย่อยในช่วงก่อนและหลังใช้ PMDSI-GA ในคลินิกเอชไอวี ณ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี วิธีการ: ผู้วิจัยออกแบบการทำงานของ PMDSI-GA โดยการศึกษาระบบบริหารจัดการคลังยาย่อยเดิมและพัฒนาโปรแกรมดังกล่าว โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศทางสุขภาพ 3 ท่าน และถูกปรับปรุงก่อนนำไปทดสอบใช้งาน ผู้วิจัยประเมินระยะเวลาการบริหารจัดการคลังยาและมูลค่าสินค้าคงคลังในช่วง 3 เดือนก่อนและหลังการใช้โปรแกรม และใช้แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อโปรแกรมหลังการทดลองใช้งาน ผลการวิจัย: PMDSI-GA สามารถบริหารจัดการคลังยาย่อยตามความต้องการของผู้ใช้งานในด้านต่าง ๆ เช่น การรับเข้าข้อมูลยา การค้นหาข้อมูลยา การตัดจ่ายยาออกจากคลังยาย่อย การส่งไลน์แจ้งเตือนเมื่อยาใกล้หมดอายุในเวลาที่กำหนด PMDSI-GA ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ ระบบที่พัฒนาสามารถลดค่าเฉลี่ยระยะเวลาบริหารจัดการคลังยาจาก 583.3, 615.0, และ 637.5 นาทีต่อเดือนในช่วงสามเดือนก่อนการใช้โปรแกรม เหลือ 29.7, 32.3, และ 37.5 นาทีต่อเดือนในช่วงสามเดือนหลังการใช้โปรแกรม มูลค่าสินค้าคงคลังลดลงร้อยละ 61.81 โปรแกรมสามารถจัดการปัญหายาหมดอายุได้ ความพึงพอใจต่อโปรแกรมฯ มีค่าเฉลี่ย4.92±0.19 จากคะแนนเต็ม 5 สรุป: PMDSI-GA สามารถทำงานได้ตามความต้องการและสอดคล้องกับการปฏิบัติงาน โดยช่วยให้ระยะเวลาการทำงานลดลงและทำให้ประสิทธิผลการบริหารจัดการคลังยาย่อยดีขึ้น ตลอดจนผู้ใช้งานมีความพึงพอใจสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Singprom S. “S-A-M-NG-A-M: Inventory management system and an accounting system regulated by network technology. Journal of Health and Enviorn mental Education. 2020; 5: 163-71.

Nananukool P. Improvement of medical inventory management system under “Single Archive” Approach in Petchaburi Province. Journal of Health Science. 2017; 24: 110–23.

Sangthong T, Kumban S, Chanamool N. Disburse ment managment of hospital medical supplies with Kanban system. Thai Industrial Engineering Net- work Journal 2021; 2: 41–50.

Khongyuen N. Access to HIV drugs by infected patients: A case scenario if Thailand joins Trans-Pacific Partnership Agreement (TPP). Public Health Policy and Laws Journal 2018; 4: 349-58.

Kongta J. Problems and development guidelines for the information services of Sirikit National Institute of Child Health. Journal of Rattana Bundit University. 2018; 13: 43-51.

Phosri N, Lertnattee V. Google Translate using for a communication tool between Thai pharmacists and Myanmar patients in drugstores. Journal of Health Science Research. 2019; 13: 104-14.

Herrick DR. Google this!: using Google apps for collaboration and productivity SIGUCCS '09: Proceedings of the 37th annual ACM SIGUCCS fall conference: communication and collaboration; 2009 October 11-14, St. Louis Missouri USA; 2009. p.55–64.

mHIMSS App Usability Work Group. Selecting a mobile app: evaluating the usability of medical applications [online]. 2012 [cited Apr 18, 2022]. Available from: www.himss.org/sites/hde/files/HIMS S.org/Content/files/SelectingMobileApp_EvaluatingUsabilityMedicalApplications.pdf

Boonpat R, Leepraphaiwong R, Punyanirun S, Issara grisil C, Tantanawuttiwat K. The development of com pounding sterile preparations management of ear eye nose throat pharmacy at Siriraj Hospital. Siriraj Medical Bulletin 2020; 13: 85-95.

Thongmee S. “Smart anesthetic stock program” [online]. 2019 [cited Apr 18, 2022]. Available from: nurseanesth.org/home/wp-content/uploads/2019/06/ hand2.pdf

Sommanus C, Supplies and inventory management system on cloud architecture using google app scripts. [Independent Study]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2015.