การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพร้านขายยาแผนปัจจุบัน บรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษในจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ 1. ศึกษาความพร้อมและปัญหาของร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ (ข.ย. 2) ในการปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการกำหนดเกี่ยวกับสถานที่ อุปกรณ์ และวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนในสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ (ประกาศกระทรวงฯ) 2. ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของ ข.ย. 2 และ 3. ประเมินผลการใช้แนวทางการพัฒนาศักยภาพดังกล่าว วิธีการ: ประชากรในการวิจัย คือ ข.ย.2 ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 106 แห่ง การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยมีการวิจัย 4 ขั้นตอนประกอบด้วยการวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนการปฏิบัติ การศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ตามลำดับ ผลการวิจัย: คะแนนเฉลี่ยความพร้อมของร้านขายยาในภาพรวม คือ 1.25±0.21 (ปฏิบัติแล้ว = 2, อยู่ระหว่างการปฏิบัติ = 1, ยังไม่ปฏิบัติ = 0) ตัวอย่างขาดความรู้เกี่ยวกับประกาศกระทรวงฯ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และยังมีทัศนคติทัศนคติในทางลบต่อการดำเนินการตามประกาศกระทรวงฯ นอกจากนี้ยังขาดทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็น แนวทางการพัฒนาศักยภาพร้านขายยา คือ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาความรู้และทัศนคติต่อการดำเนินการตามประกาศกระทรวงฯ และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การลงมือทดลองปฏิบัติและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการลงพื้นที่ตรวจประเมินร้านยา หลังการเข้าร่วมกิจกรรมผู้ประกอบการมีความรู้และทัศนคติการดำเนินการตามประกาศกระทรวงฯ ตลอดจนมีทักษะการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 หลังการร่วมกิจกรรม ร้านยามีคะแนนความพร้อมในภาพรวมอยู่ใน 1.62±0.31 และมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นทุกหมวดของความพร้อม ข.ย.2 ทุกแห่งรวมทั้งสิ้น 106 แห่ง ผ่านการประเมินและปฏิบัติตามประกาศกระทรวงฯ ทันเวลาบังคับใช้ตามกฎหมาย ข.ย.2 แบ่งได้ 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มที่มีศักยภาพสูงและต้องการเปลี่ยนแปลงเป็นร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ข.ย.1) จำนวน 11 แห่ง 2) กลุ่มที่มีศักยภาพเป็นไปตามประกาศกระทรวงฯ และประสงค์เป็น ข.ย.2 ต่อไป จำนวน 86 แห่ง และ 3) กลุ่มที่มีศักยภาพเป็นไปตามประกาศกระทรวงฯ ที่กำหนด แต่ขอยกเลิกกิจการ 9 แห่ง เพราะไม่มีผู้ประสงค์สืบทอดกิจการและปัญหาสภาพเศรษฐกิจ สรุป: การพัฒนาศักยภาพร้านขายยาด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ทำให้ ข.ย.2 สามารถปฏิบัติตามประกาศกระทรวงฯ ได้ทันระยะเวลาบังคับใช้ตามกฎหมายและมีแนวโน้มในการพัฒนาสู่เกณฑ์มาตรฐานร้านยาที่สูงขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Food and Drug Administration, Ministry of Public Health. Statistics of business licenses related to drugstores across the country [online]. 2021 [cited July 9, 2021]. Available from: www.fda.moph.go.th/ sites/drug/Shared%20Documents/Statistic/Licensee- 20210531.pdf
Notification of the Ministry of Public Health on prescribing places, equipment and methods of community pharmacy in a place that sells ready-to-pack modern medicines that are not dangerous drugs or specially controlled drugs according to the Drug Law, B.E. 2021. Royal Gazette. No.138, Part 281D Special (Nov 16, 2021).
Notification of the Ministry of Public Health on Prescription places, equipment, and methods of community pharmacy in a place that sells ready-to-pack modern medicines according to the Drug Law , B.E. 2014. Royal Gazette No.121, Part 223D Special (Nov 5, 2014).
Chonburi Public Health Office. Information of pharma- cy registration statistics (January – December). Chonburi: Chonburi Public Health Office; 2021.
Chonburi Public Health Office. Complaint information. Chonburi: Chonburi Public Health Office; 2021.
Kemmis S, McTagart R. The action research planner. Geelong: Deakin University Press; 1990.
Thongyoung P, Komwuthikarn K. Development of drugstores to good pharmacy practice by participa- tory action research in Samutsongkhram Province. Thai Food and Drug Journal 2018; 25: 39-48.
Office of Community Pharmacy Accreditation. Princi- ples of the approved pharmacy assessment form quality pharmacy [online]. 2018 [cited Jul 21, 2021]. Available from: pharmacycouncil.org/pharmacycoun cil /templates/pa/files/PA-FormSRR-01.pdf.
Pattamasaravut P, Muenpa R. Development of model grocery store from the civil state project on collective action for drugs safety in communities. Thai journal of Pharmacy Practice 2020; 12: 601-11.
Bloom BS. Hand book on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.
Thavornwattanayong W, Yuklanthuan C, Panyakrua P, Nakarin P, Athitrakoonlert A. Pharmacy owners’ opinions in Nakhon Pathom province on the notification of the Ministry of Public Health B.E.2014 on the regulations of setting, equipment and good pharmacy practice. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences 2016; 11: 27-44.
Best JW. Research in education. 3rd ed. New Jersey: Prentice-Hal; 1977.
Health Education Division, Ministry of Public Health. Report of the study of access and use of information for food consumption of people in the working age group [online]. 2017 [cited Jul 20, 2021]. Available from: www.hed.go.th/linkhed/file/709.
Angkanavisan T. The study of ability to practice with law of Good Pharmacy Practice (GPP) of drugstore operator in Phra Nakorn Sri Ayuthaya [online]. 2014 [cited Jul 20, 2021]. Available from: www.ayo.moph. go.th/main/file_upload/subforms/2015_80169fe192959e1ed1a6760a3d0611a/การศึกษาความพร้อมของร้านขายยาแผนปัจจุบัน%20จ.อยุธยา_201501191039. pdf
Onprasert P. A development approach for pharmacy to reach standards of quality pharmacy in Yala Province [master thesis]. Songkhla: Prince of Song kla University; 2015.
Pratumtong P, Boonchan Y, Preechadok P. A study of standard of drugstores type1 to develop the readiness to decrease overcrowding project of service units in the national health insurance system according to the Minister of Public Health Policy, Nong Khai Province. Research and Development Health System Journal 2020; 13: 145-54.
Schwartz NE. Nutritional knowledge, attitude and practices of high school graduates. J Am Diet Assoc 1975; 66: 28–31.
Sombutpoothon P. Factors on drug store with good pharmacy practice to abide the criterion of the quality pharmacy at Chonburi province [master thesis]. Pitsanulok: Naresuan University; 2021.
Meeduang A, Arpasrithongsakul S. Development of a model for reducing the use of ya-chud in community by the council of community organization in Tumbon Ban-Ku, Yangsisurat District, Mahasara kham. Thai Journal of Pharmacy Practice 2022; 14: 70-85.
Chuntaravichit U. Development model to upgrade good pharmacy practice (GPP) standards in drug store Singburi. Singburi Hospital Journal 2020; 29: 119-28.