การประเมินความคลาดเคลื่อนทางยาจากการให้บริการทางเภสัชกรรม ของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศตนันทน์ มณีอ่อน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อหาอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยา และผลกระทบด้านภาระงานและต้นทุนที่เกิดขึ้นในการบริการทางเภสัชกรรมของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยเก็บข้อมูลไปข้างหน้า เพื่อรวบรวมความคลาดเคลื่อนจากการสั่งยาและความคลาดเคลื่อนก่อนจ่ายยาของการให้บริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2563 หลังจากนั้นนำข้อมูลจำนวนความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นและระยะเวลาของการแก้ไขความคลาดเคลื่อนเพื่อนำมาคำนวณภาระงาน และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อเภสัชกรและผู้ช่วยเภสัชกรแก้ไขความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น ผลการศึกษา: อัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนของการสั่งยาและความคลาดเคลื่อนก่อนจ่ายยาในผู้ป่วยนอก คือ 36.73 ครั้งต่อ 1,000 ใบสั่งยา และ 69.86 ครั้งต่อ 1,000 ใบสั่งยา ตามลำดับ ส่วนอัตราที่พบในผู้ป่วยใน คือ 51.95 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน และ 38.09 ครั้งต่อ 1,000 วันนอน ตามลำดับ ต้นทุนและภาระงานของผู้ปฏิบัติงานในการแก้ไขความคลาดเคลื่อนจากการสั่งยาและความคลาดเคลื่อนในกระบวนการก่อนจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยนอก เท่ากับ 59.86 บาทต่อครั้ง (0.000144 FTE)  และ 9.05 บาทต่อครั้ง (0.000015 FTE) ตามลำดับ สำหรับผู้ป่วยใน เท่ากับ 15.41 บาทต่อครั้ง (0.000038 FTE) และ 18.53 บาทต่อครั้ง (0.000031 FTE) ตามลำดับ ค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาระดับ E ขึ้นไปซึ่งผู้ป่วยได้รับอันตรายจากการใช้ยาจะสูงขึ้นเฉลี่ย 61,290.50 บาทต่อราย สรุป: ความคลาดเคลื่อนทางยาส่งผลทำให้ภาระงานและต้นทุนเพิ่มขึ้นในการแก้ไขความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น ดังนั้นควรส่งเสริมนโยบายลดความคลาดเคลื่อนเพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา ลดความผิดพลาดในการบันทึกรายการยา และเกิดการจัดยาอย่างเป็นระบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Hartwig SC. National Coordinating Council for Medication Error Report and Prevention (NCC MERP) [online]. 2001 [cited May 17, 2022]. Available from: www.nccmerp.org/types-medication-errors.

Sausukpaiboon P. Medication errors reported by the computer program developed in a large hospital. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2012; 4: 3-16.

Sanongdech S. Studies of medication errors in pharmaceutical services for out-patients in the pharmacy work group, Loei Hospital. Udonthani Hospital Medical Journal. 2016; 24: 123-32.

Keerati-Urai S. Pharmaceutical care in multidisci- plinary team in pediatric ward at Maharat Nakornrat- chasima Hospital [Dissertation]. Bangkok: Chulalong korn University; 2003.

Kruerut P. The development of preventing mediation error for patient safety in Bannasan Hospital. Region 11 Medical Journal. 2018; 16: 871-80.

Choi I, Lee SM, Flynn L, Kim CM, Lee S, Kim NK, et al. Incidence and treatment costs attributable to medication errors in hospitalized patients. Res Social Adm Pharm 2016; 12: 428-37.

Samp JC, Touchette DR, Marinac JS, Kuo GM. Economic evaluation of the impact of medication errors reported by U.S. clinical pharmacists. Pharmacotherapy. 2014; 34: 350-7.

Numchaitosapol S, Kessomboon N, Virojanawat V. Cost savings, cost addition, and cost avoidance from medication error Interventions in Sawangdandin Crown Prince Hospital, Sakon Nakhon Province. Journal of Health Systems Research. 2011; 5: 371-80.

Noparatayaporn P, Sakulbumrungsil R, Thaweetham charoen T, Sangseenil W. Comparison on human resource requirement between manual and automated dispensing systems. Value Health Reg Issues. 2017; 12: 107-11.