ความรู้และความคิดเห็นต่อแนวปฏิบัติในการพิจารณาอนุญาตให้ปลูกกัญชาของคณะกรรมการพิจารณาอนุญาตให้ปลูกกัญชาในระดับจังหวัด: กรณีศึกษาเขตสุขภาพที่ 3

Main Article Content

ณทัตดา อ่อนปาน
ระพีพรรณ ฉลองสุข

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องและความคิดเห็นต่อแนวทางการปฏิบัติในการพิจารณาอนุญาตให้ปลูกกัญชาของคณะกรรมการพิจารณาอนุญาตให้ปลูกกัญชาในระดับพื้นที่จังหวัดในเขตสุขภาพที่ 3 วิธีการ: การศึกษาเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2563 ด้วยแบบสอบถามในคณะกรรมการฯ จำนวนทั้งสิ้น 126 คน ใน 5 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี และชัยนาท ผลการวิจัย : ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (ร้อยละ 60.0) มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุญาตให้ปลูกกัญชาเท่ากับ 6.9 ± 3.3 จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน ทั้งนี้ตัวอย่าง (ร้อยละ 57.8) ระบุว่า ตนไม่ได้มีพื้นฐานทางด้านกฎหมาย หรือไม่ได้มีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับกฎหมายโดยตรง แม้ว่าบางส่วนได้ผ่านการอบรมด้านกฎหมาย แต่เป็นกฎหมายด้านปกครองซึ่งเกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานโดยตรง ผู้ตอบแบบสอบถามเสนอว่าควรมีการให้ความรู้แก่คณะกรรมการฯ ดังนี้ ความรู้เกี่ยวกับการสั่งใช้สารสกัดกัญชาสำหรับผู้ป่วยของแพทย์ ความรู้เกี่ยวกับบุคคลที่มีสิทธิยื่นขออนุญาตปลูกพืชกัญชาได้ตามกฎหมาย ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการทำลายพืชกัญชาที่เหลือจากการเก็บเกี่ยว และไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานกำหนด เป็นต้น ผู้ตอบแบบสอบถามทุกราย เห็นด้วยกับแนวทางในการพิจารณาอนุญาตให้ปลูกกัญชาของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยประเด็นที่เห็นด้วยมากที่สุด 4 ลำดับแรก คือ 1. ผู้ขอรับอนุญาตปลูกกัญชาต้องผ่านการทดสอบความรู้เกี่ยวกับกระบวนการปลูกกัญชา การจัดเตรียมสถานที่ การเก็บรักษา และการควบคุมการใช้ 2. ผู้อนุญาตควรมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองคำขออนุญาตปลูกกัญชาในส่วนภูมิภาค ตามแนวทางการพิจารณาอนุญาตเกี่ยวกับการปลูกกัญชา พ.ศ.2562 และแนวทางการปฏิบัติด้านการจัดเตรียมสถานที่ การเก็บรักษา และการควบคุมการใช้สำหรับผู้ขอรับอนุญาตปลูกกัญชา 3. การควบคุมคุณภาพการปลูกกัญชา ต้องมีการลงพื้นที่ตรวจสอบสถานที่จริงโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายก่อนอนุญาตให้ดำเนินการเพาะปลูกกัญชาได้ 4. หลังจากที่ได้รับใบอนุญาต ต้องมีการตรวจสอบเฝ้าระวังมาตรฐานของสถานที่เพาะปลูกกัญชา อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปีโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สรุป: ผู้รับผิดชอบในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอนุญาตให้ปลูกกัญชาในระดับพื้นที่จังหวัด ควรได้รับการอบรมเกี่ยวกับกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับการขออนุญาตปลูกกัญชา รวมถึงกระบวนการปฏิบัติในการพิจารณาอนุญาตให้ปลูกกัญชาตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อให้คณะกรรมการฯ มีความรู้ และมีศักยภาพเพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ และสามารถสนองนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการนำกัญชาไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และป้องกันการนำกัญชาไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมายด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Queensland Health. Clinical guidance for the use of medicinal cannabis products in Queensland 2018 [online]. 2018 [cited Oct 12, 2019]. Available from: www.health.qld.gov.au/__data/assets/pdf_file/0023/634163/med-cannabis-clinical-guide.pdf.

Taupachit W, Kessomboon N. Medicinal use of cannabis. Isan Journal of Pharmaceutical sciences. 2017; 13: 231-40.

Narcotics Act, the Eight Amendment B.E.2562. Royal Gazette No.136, Part 19A (Feb 18, 2019).

Suphanchaimat R, Pavasuthipasit C. Potential benefits and risks from medicalisation and legalisa- tion of cannabis. Journal of Health Systems Research. 2018; 12: 71-94.

Changket C. Cannabis laws [online]. 2019 [cited Dec 9, 2020 ]. Available from: www.parliament.go.th/ewt admin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2247.

Order of Phichit Province no. 1309/2562 on Appointing a committee to approving the cultivation of marijuana-only category 5 narcotics on Aug 22, 2019.

Order of Uthai Thani Province no. 3425/2562 on Appoint a committee to screen the permission to grow cannabis in Uthai Thani province on Dec 2, 2019.

Order of Nakhon Sawan Province no. 3628/2562 on Appoint a committee to inspect medical marijuana cultivation areas on Dec 3, 2019.

Order of Chainat Province no. 4125/2562 on Appoint a committee to screen new request for permission on marijuana cultivation or request for license renewal or request to increase the amount of cannabis cultivation in Chainat province on Sep 5, 2019.

Rujikittioangsuthon S, The significance of funda- mental knowledge of legal principle in the study of social science (1st Part). Journal of Humanities and Social Science. 2019; 10: 60-90.

Boonloy W, Kongjareon M, Boonwatthanakul C, Ninlamot W. Enforcement on promotion of non–formal and informal education act, B.E.2551. CMU Journal of Education. 2018; 2: 69-91.

Onmak K. The crime prevention operation of police officers in Nakhon pathom provincial police to be sustainability. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology. 2020; 5: 418-30.

Terathongkum S, Chuengkriangkrai B, Norasan S. A prospective study of outcomes of a teaching – learning course of the professional nursing law on knowledge and nursing practice in the realm of law among nurse students. Ramathibodi Nursing Journal 2010; 6: 184-98.

Ngamkachonkulkit W. The opinions of broadcaster training courses and broadcaster licence law enforcement. The 14th National and International Sripatum University Conference; 2019 Dec 19; Pathum Thani: Sripatum University; 2019.

Suchaphan S, Mekhora T. Factors affecting bangk- okian entrepreneur adoption of primary good manu- facturing practice compliance implementation in Bangkok. King Mongkut,s Agricultural Journal. 2016; 34: 85-93.

Tosaguan K, Kapool N, Thavorncharoensap M, Suk somboon N, Kulpeng W, Tantivess S, et al. Views of health professionals on herbal medicine and policy for promotion of herbal medicine use in healthcare settings. Journal of Health Systems Research. 2011; 5: 513-21.

Supol S. Quality evaluation of urine methamphe tamine color test and immunoassay test. Journal of Health Science. 2013; 22: 131-40.

Sirithunnon R, Kamonruk P. Evaluation of laboratory quality and service standard in primary care unit according to ministry of public health standard 2014-2016. Journal of Health Systems. 2018; 12: 113-23.

Dontumprai P, Panma P, Norkaew M, Bodeerat C. Free cannabis policy as a medical plant, Journal Of Roi Kaensarn Acadedemi. 2021;6(1):184-98.