การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับเกลือสินเธาว์เสริมไอโอดีน ของผู้ผลิตและผู้บริโภคในอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับเกลือสินเธาว์เสริมไอโอดีนของผู้ผลิตและผู้บริโภคเกลือสินเธาว์ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน วิธีการ: การศึกษาเก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้ผลิต 14 คน และผู้บริโภค 39 คนจากหมู่บ้านแหล่งผลิต ใกล้แหล่งผลิต และไกลแหล่งผลิต จำนวน 12, 14 และ 13 คน ตามลำดับ และยังจัดสนทนากลุ่มในกลุ่มผู้ผลิตและผู้บริโภค กลุ่มละ 2 ครั้ง แต่ละครั้งมีสมาชิก 6 คน ผลการวิจัย: ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดการยอมรับเกลือสินเธาว์เสริมไอโอดีน ได้แก่ การผลิตและใช้เกลือสินเธาว์เสริมไอโอดีนไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน การมีอาสาสมัครประจำหมู่บ้านที่เข้มแข็งในการขับเคลื่อนมาตรการเกลือเสริมไอโอดีนถ้วนหน้า และการมีเด็กเป็นสมาชิกในครัวเรือน ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการยอมรับเกลือสินเธาว์เสริมไอโอดีน ได้แก่ การมีวิถีชีวิตที่คุ้นเคยกับการใช้เกลือสินเธาว์แบบดั้งเดิม การมีประสบการณ์ทางลบในการใช้เกลือสินเธาว์เสริมไอโอดีน เช่น ไม่สามารถใช้หมักดองได้เพราะทำให้เกิดการเน่าเสีย เป็นต้น การได้รับอิทธิพลจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่มีความเชื่อว่า การใช้เกลือสินเธาว์เสริมไอโอดีนทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศและเป็นหมัน การมีบริบทสังคมแบบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โดยมีการแบ่งปันเกลือสินเธาว์แบบดั้งเดิมโดยไม่ต้องซื้อหรือซื้อในราคาถูก และความรู้เกี่ยวกับโรคขาดสารไอโอดีนที่เชื่อว่าเป็นโรคทางพันธุกรรม นอกจากนี้การบังคับใช้กฎหมายควบคุมการผลิตในพื้นที่เป็นการขอความร่วมมือโดยไม่มีการลงโทษและขาดความสะดวกในการเข้าถึงสถานที่ผลิต ร่วมกับการมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวและหนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ทำให้เกลือสินเธาว์แบบดั้งเดิมและผลิตภัณฑ์แปรรูปเป็นที่นิยมและสร้างรายได้มากกว่า สรุป: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับเกลือสินเธาว์เสริมไอโอดีนผูกโยงกับมิติการดำเนินชีวิตและสังคม การจะจัดการหรือจัดกระทำกับปัจจัยเหล่านี้จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเพื่อให้เกิดการการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมเชิงบวกอย่างยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Bureau of Nutrition, Department of Health, Ministry of Public Health. Control and prevention of iodine deficiency: a path to sustainability. Bangkok: Sam Chareon Phanich (Bangkok); 2020.
Bureau of Nutrition, Department of Health, Ministry of Public Health. Report on the control and prevention of iodine deficiency (May, 2018 – Apr 2020). Bangkok: SamChareon Phanich (Bangkok); 2020.
Public Health Ministerial Declaration on table salt. Royal Gazette No.128, Part 41D (Apr 7, 2011).
Health Consumer Protection and Public Health Pharmacy Department. Annual report of the fiscal year of 2020. Nan: Nan Provincial Public Health Office; 2020.
Viriyautsahakul N. The conference for teachers and public health workforce capacity building of the fiscal year of 2017, Bureau of Nutrition, Department of Health, Ministry of Public Health; 2017 Jan 18-20; Pathum Thani, Thailand.
Moryadee P. The inheritant and development of rock salt production in the Bor Kluar Tai sub district, Bor Kluar district, Nan province. Journal of Humanities and Social Sciences Suratthani Rajabhat University 2013; 5: 187-201.
Intamano S. Thuads and their ways of life in modernization. [master thesis]. Songkla: Prince of Songkla University; 2010.
Phumsawat P. Introduction to gender equality. Bangkok: Department of Women's Affairs and Family Development; 2020.
Chatsnga N, Phupinyokul M, Jewcharoensakul S. The production of local-made iodized salt to comply with Public Health Ministerial notification of edible salt case study of Bo Klue district, Nan province. Academic Conference of Kasetsart University No.50; Bangkok, Thailand: 2012 p. 25-33
Sakulpacharoen L. Risk management of iodized salt in Udon Thani. Thai Journal of Pharmacy Practice 2018; 10: 29-36.
Yontrakul S, Phaengmal C. A model development for solving iodine deficiency through promoting participation, Mahasarakham province. Journal of Health Science 2014; 23: 252-61.
Soonthonchot S, Suwanlee SR, Buchai P. The rock salt production and its trade route: The Kathin saltine, Khon Kean province. Journal of Local Governance and Innovation. 2018; 2: 1-14.
Mokmamen S, Phuthonjai S. Factors affecting the consumption behavior of iodine supplement in Bo Luang village, Bo Kluea Tai sub-district, Bo Kluea district, Nan province. Journal of Health Science 2019; 9: 32-45.
Ananda CK. Le système de la famille Yao [online]. Journal of Siam Society. 2515; 60: 187-94.
Bureau of Nutrition, Department of Health, Ministry of Public Health. The study reported of iodine supplementation in pregnancy. Bangkok: Sam Chareon Phanich (Bangkok); 2018.
Health Consumer Protection and Public Health Pharmacy Department. Annual report of the fiscal year of 2019. Nan: Bo Kluea District Public Health; 2019.