การศึกษาการเลือกตั้งกรรมการสภาเภสัชกรรมประเทศไทยแบบออนไลน์ พ.ศ. 2564
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อนำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการลงคะแนนเสียงออนไลน์ในการเลือกตั้งกรรมการสภาเภสัชกรรม และเปรียบเทียบข้อดีและข้อจำกัดของการลงคะแนนแบบออนไลน์กับแบบที่ใช้บัตรเลือกตั้ง วิธีการ: การศึกษารวบรวมข้อมูลการลงคะแนนเลือกกรรมการสภาเภสัชกรรมของสมาชิกจากอดีตถึงปัจจุบัน เพื่อเปรียบเทียบอัตราการใช้สิทธิ์เลือกตั้งระหว่างการลงคะแนนเสียงแบบอิเล็กทรอนิกส์กับรูปแบบการลงคะแนนโดยใช้บัตรเลือกตั้งในอดีต การศึกษาวิเคราะห์อัตราการลงคะแนนของสมาชิกในแต่ละช่วงอายุ ช่วงเวลาของการลงคะแนนนับจากวันเปิดให้ลงคะแนน นอกจากนี้ยังรวบรวมความเห็นของผู้จัดการเลืกตั้งในเรื่องข้อจำกัดและแนวทางการพัฒนาการเลือกตั้งรูปแบบออนไลน์ ผลการวิจัย: การใช้การลงคะแนนเสียงออนไลน์ทำให้สัดส่วนของสมาชิกที่ใช้สิทธิเลือกตั้งเพิ่มขึ้นจากการลงคะแนนด้วยบัตรลงคะแนนแบบเดียวใน (วาระที่ 8) ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 17.30 เป็นร้อยละ 45.15 และ 55.34 ในวาระ 9 และ 10 ตามลำดับ ช่วงอายุของสมาชิกที่มีการใช้สิทธิเกินร้อยละ 50 คือ 25-62 ปี ซึ่งถือเป็นช่วงอายุที่กว้าง ครอบคลุมทั้ง generation X, Y และ baby boomer สรุป: วิธีการลงคะแนนแบบออนไลน์สามารถเพิ่มอัตราการใช้สิทธิในการเลือกกรรมการสภาเภสัชกรรมได้มากกว่า 3 เท่า เมื่อเทียบกับการใช้บัตรลงคะแนน โดยภาพรวมช่วงอายุไม่ถือเป็นอุปสรรคในการใช้ระบบลงคะแนนแบบออนไลน์ อย่างไรก็ตาม ระบบลงคะแนนต้องออกแบบให้ใช้งานง่าย มีความปลอดภัยในเรื่องข้อมูล ตลอดจนต้องมีการประชาสัมพันธ์และสื่อสารวิธีการลงคะแนนแบบใหม่กับสมาชิก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Office of the Council of State. The drug selling control act, B.E 2479 [Internet]. 1936 [cited 2021, 3 Nov]. Available from: https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/previewer.php.
3. Office of the Council of State. The healing arts practices comtrol act, B.E. 2479 [Internet]. 1936 [cited 2021, 3 Nov]. Available from: https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/previewer.php.
4. Office of the Council of State. The pharmaceutical profession act, B.E 2537 [Internet]. 1994 [cited 2021, 3 Nov]. Available from: http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%C743/%C743-20-2537-001.htm
5. The Alumni Association of Faculty of Pharmaceutical Sciences, Chulalongkorn University (A.P.C.U.). 100 years of Pharmacy Chula; 100 Alumni Awards. Bangkok: Language center & advertisement; 2013.
6. Health Systems Research Institute. Thai Drug System 2020. Bangkok: Thanaaroonkarnpim; 2020.
7. The Pharmacy Council of Thailand. Pharmacy Council 2021 [cited 2021, 3 Nov]. Available from: https://www.pharmacycouncil.org/.
8. International Pharmaceutical Federation (FIP). Pharmacy at a glance 2015-2017. Hague: International Pharmaceutical Federation; 2017.
9. The Pharmaceutical Association of Thailand Under Royal Patronage. History 2021 [cited 2021, 7 Nov]. Available from: https://www.pat.or.th/index.php/2017-09-24-07-08-19/2017-09-24-07-08-20.