ความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่อการนำส่งยาระหว่างการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อบริการจัดส่งยาถึงบ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หรือ อสม. Grab drug วิธีการ: อสม. Grab drug คือ วิธีการที่โรงพยาบาลจัดส่งยาของผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) ซึ่ง รพสต. จะเป็นผู้ประสานงานกับ อสม. เพื่อนำส่งยาแก่ผู้ป่วยในพื้นที่ของตนด้วยจักรยานยนต์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการแออัดในโรงพยาบาลและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้เข้าร่วมโครงการ อสม. Grab drug คือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 กลุ่มโรค คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไตวาย โรคหัวใจ และโรคลมชัก ที่เข้ารับบริการจากโรงพยาบาลกุดชุมที่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ ผู้วิจัยคัดเลือกผู้ป่วย 240 รายที่มีนัดรับยาจาก อสม. Grab drug ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564 ด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิตามพื้นที่บริการของ รพสต. ทั้ง 14 แห่ง หลังจากนั้นให้ตอบแบบสอบถามชนิดตอบเองเพื่อประเมินความพึงพอใจต่อบริการ ผลการวิจัย: ผู้ป่วยเห็นด้วยมากที่สุดต่อประเด็นที่ว่า การนำส่งยาผ่าน อสม. Grab drug เกิดประโยชน์โดยลดภาระการเดินทางมาโรงพยาบาล ทำให้ไม่ต้องรอนาน และลดความแออัดในโรงพยาบาล โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.43±0.87 (จากคะแนนเต็ม 5) รองลงมาคือ ความพึงพอใจต่อหน้าที่การนำส่งยาของ อสม. ในช่วงการระบาดของโรค (4.39±0.85) และประเด็นที่ว่า การนำส่งยาไม่ยุ่งยาก สะดวก เข้าใจง่าย และนำสามารถใช้ได้ต่อเนื่อง (4.35±0.93) นอกจากนี้ ตัวอย่างยังเห็นว่า ข้อมูลบนฉลากยามีความถูกต้องครบถ้วน และการส่งยามีความทันเวลา ตัวอย่างให้ความเห็นว่า ต้องการให้เภสัชกรออกจ่ายยาใน รพสต. และหากตนมีปัญหาด้านยาหรือพบว่าได้รับยาที่มีรูปแบบหรือลักษณะต่างจากเดิม จะปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ใน รพสต. ใกล้บ้าน สรุป: ผู้เข้าร่วมโครงการ อสม. Grab drug มีความพึงพอใจต่อบริการ ดังนั้นควรดำเนินโครงการนี้ต่อไป และพัฒนาให้บริการครอบคลุมผู้ป่วยและการใช้ยากลุ่มอื่น ๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Primary Medical Care Act. (2019) Retrived Mar 14, 2021, form http://164.115.41.179/service/sites/default/files)
3. Cunningham AC, Goh HP, Koh D. (2020).Treatment of COVID-19: old tricks for new challenges. Crit Care;24(1):91.
4. Ma J, Wang L., (2018) Characteristics of mail-orderpharmacy users: results from the medical expenditures panel survey. J Pharm Pract;33(3)
5. Vichit Tagjittbpon. (2014) Sending medicines by mail to reduce congestion in hospital. Retrived Jun13,2021, from https://www.hfocus.org/content/2014/05/7272
6. Piyawat Rattanapon et.,al. (2020) Development of a postal drug delivery system for hypertensive patients in the epidemic situation of the 2019 novel coronavirus. Chiangrai Medical Journal, Vol. 12 No.2/2020.
7. Drug Delivery Address., (2015) Pranangklao Hospital. Retrived May 2, 2021, from http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:tHNqW_pNdvcJ:dmsic.moph.go.th/dmsic/admin/files/userfiles/files/DrugMailDelivery.pdf+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th
8. The gold card fund reduces the epidemic covid 19. (2020) Retrived Aug 3, 2021 from https://www.nhso.go.th/news/2837
9. Paruethai Sumrankong. (2013) Cost – Effectiveness analysis of pharmacy mail –order service compared with outpatientdepartment service for schizophrenic patients at Suanprung hospital, Chiang Mai province. Bulletin of Suan Prung, Vol. 29, No1.
10. Chuanchom Thananithisak et. al. (2019) Survey of Preference for Prescription Refilling Options in Patients with Chronic Diseases. Thai Jounal of Pharmacy Practice Vol.11 No 3 : 504-14.