ผลลัพธ์ของการปรับกระบวนการประสานรายการยาโดยทีมสหวิชาชีพ : กรณีศึกษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม 1 โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

เพ็ญพร พัฒนเกรียงไกร
วรวิทย์ ตั้งวิไล
พีรยศ ภมรศิลปธรรม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลลัพธ์ของการปรับปรุงการประสานรายการยา (medication reconciliation:  MR) โดยทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์โดยวัดจากความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกิดขึ้นและมูลค่ายาที่ประหยัดได้ วิธีการ: การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้เปรียบเทียบผลลัพธ์ของ MR ในช่วงก่อนและหลังการปรับปรุงกระบวนการโดยระบุขั้นตอนและผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน ทำให้การทำงานสหวิชาชีพเกิดความร่วมมือ การศึกษาทำในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์โดยการเก็บข้อมูลประวัติเจ็บป่วยและการใช้ยาของผู้ป่วยจากโปรแกรมสารสนเทศของโรงพยาบาล (HosXP version 4) และแบบฟอร์ม MR ผลการวิจัย: ผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 1,506 ราย มีอายุอยู่ในช่วง 61-80 ปี และมีรายการยาที่รับประทานเฉลี่ย 6 รายการขึ้นไป ข้อมูลการใช้ยาของผู้ป่วยโดยมากได้มาจาก 2 วิธีร่วมกันผ่านการค้นหาในฐานข้อมูลของโรงพยาบาลและการซักประวัติผู้ป่วยหรือญาติ ผู้ป่วยส่วนมากมียาเดิมที่ใช้ แต่ร้อยละ 56.58 ของผู้ป่วยนำยาเดิมมาโรงพยาบาล MR โดยทีมสหวิชาชีพช่วยลดอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาโดยเฉพาะความคลาดเคลื่อนจากการสั่งจ่ายยาของแพทย์ (prescribing error: PE) ช่วงแรกของการเก็บข้อมูลพบ PE 2.46 อุบัติการณ์ต่อ 1,000 วันนอน และลดลงในช่วงหลังของการเก็บข้อมูลโดยมี PE 1.94 อุบัติการณ์ต่อ 1,000 วันนอน การสั่งรายการยาเดิมของผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ครบ (omission error) ลดจากช่วงก่อนการปรับปรุง (118 อุบัติการณ์ใน 3 เดือน) เหลือ 86 อุบัติการณ์ใน 3 เดือนช่วงหลังปรับปรุง การปรับปรุงกระบวนการช่วยประหยัดมูลค่าการใช้ยาของผู้ป่วยและโรงพยาบาลในช่วง 6 เดือนที่เก็บข้อมูลได้ 42,930 บาท สรุป: การปรับปรุงการประสานรายการยาโดยทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาลโดยระบุขั้นตอนและผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน ช่วยลดความคลาดเคลื่อนทางยาโดยเฉพาะ PE และช่วยลดมูลค่าการใช้ยาลงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Hospital Pharmacy Association (Thailand). Hospital pharmacy professional standards 2018–2016 [online] . 2018 [cited Sep 24, 2021]. Available from: thaihp.org/download/HospitalPharmacyProfessionalStandards2018–2016.pdf.

Rattanadetsakul C, Rattanadetsakul P. Medication error and uses in drug management systems [online]. 2017 [cited Sep 24, 2021]. Available from: ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=303

Grissinger M, Rich D. JCAHO: meeting the standards for patient safety. J Am Pharm Assoc (Wash) 2002; 42: S54-5.

Anderson JG, Abrahamson K. Your health care may kill you: medical errors. Stud Health Technol Inform 2017; 234: 13-7.

Abdulghani KH, Aseeri MA, Mahmoud A, Abulezz R. The impact of pharmacist-led medication reconcilia- tion during admission at tertiary care hospital. Int J Clin Pharm 2018; 40: 196-201.

Chanatepaporn P, Anutchatchaval S, Nakornratana chai P. Development of medication reconciliation at female-medicine ward in Srinagarind hospital. Srina- garind Medical Journal 2014; 29: 276-82.

Sirikantavanon C, Prakongsai N. Effect of medication reconciliation on medication error in diabetic patients , Prapokklao Hospital. Journal of Prapokklao Hospi- tal Clinical Medical Education Center 2014; 31: 232-47.

Chatwiriyawong C, Tulapunt S. Effect of medication reconciliation in medicine ward at Sawanpracharak Hospital. Sawanpracharak Medical Journal 2018; 15: 95-102.

Chiewchantanakit D, Anupong M, Pituchaturont N, Dilokthornsakul P, Dhippayom T. The effectiveness of medication reconciliation to prevent medication error: a systematic review and meta-analysis. Res Soc Admin Pharm 2020; 16: 886–94.

Mekonnen AB, McLachlan AJ, Brien JA. Effective ness of pharmacist-led medication reconciliation pro- grammes on clinical outcomes at hospital transitions: a systematic review and meta-analysis. BMJ Open. 2016; 23: e010003.

Nuntasena K. The study of medication error, cost, cost saving and cost avoidance of medication reconciliation at inpatient department, Khao-Suan-Kwang hospital, Khon Kaen province. Journal of Khon Kaen Provincial Health Office 2021; 3: 21-37.