ความเชื่อเรื่องยาและความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ติดเชื้อเอชไอวี : กรณีศึกษาโรงพยาบาลแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษามุมมองความเชื่อเรื่องยา พฤติกรรมการใช้ยา และความร่วมมือในการใช้ยาต้านไวรัสของผู้ติดเชื้อเอชไอวี วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพซึ่งเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การศึกษาคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง จำนวน 21 คน โดยเป็นผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และเข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างน้อย 6 เดือนในโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ การเก็บข้อมูลดำเนินการระหว่างเดือนธันวาคม 2563 ถึง เมษายน 2564 การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า ยาต้านไวรัสช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันเพิ่มมากขึ้น ทำให้ไม่เกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสแทรกซ้อน จึงให้ความร่วมมือในการใช้ยาโดยการตั้งเวลาเพื่อแจ้งเตือนกินยาทุกครั้ง ในรายที่เกิดอาการข้างเคียงจากยาหรือกินยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่น ผู้ที่ติดเชื้อจากแม่สู่ลูก จะให้ความร่วมมือในการใช้ยาที่ลดลง ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการแอบกินยา การเปลี่ยนภาชนะบรรจุยา รวมถึงการหลบซ่อนเวลามาโรงพยาบาล เนื่องจากเป็นผู้ที่ไม่ได้เปิดเผยตัว สิ่งเหล่านี้อาจทำให้กินยาไม่สม่ำเสมอ ไม่มารับยา หรือขาดยาได้ สรุป: ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เลือกที่จะปกปิดสภาวะการติดเชื้อของตนเอง การเปิดเผยอาจทำให้เกิดปัญหาการปรับตัวเข้าสู่สังคมตามมาจากความหวาดกลัวว่าจะไม่ได้การยอมรับจากสังคม เกิดปัญหาด้านการเรียนและการทำงานได้ การเข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสและการกินยาตรงเวลาต่อเนื่องสม่ำเสมอทำให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนกับคนอื่นทั่วไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Bureau of Epidemiology. HIV info hub. Nonthaburi: Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2019.
HIV and AIDS Data Hub for Asia-Pacific. Thailand: Key facts on HIV [online]. 2019. [cited Feb 2, 2020]. Available from: www.aidsdatahub.org/countryprofiles /thailand.
Mietprom T, Rutchanagul P, Kongvattananon P. Self- care experiences of adolescents living with HIV/ AIDS receiving antiretroviral drugs. Journal of Nurses’ Association of Thailand, North-Eastern Division 2013; 31: 57-67.
Kongsatree P. Factors associated with virological failure in children receiving first-line regimens antiretroviral therapy in Chaiyaphum hospital. Region 11 Medical Journal 2016; 30: 15-21.
Srijaiwong S, Sindthu S, Ratinthorn A, Viwatwong kasem C. Sexuality education and teachers' atti- tudes towards sexual double standard influencing on sexual risk behaviors among adolescents. Boroma rajonani College of Nursing, Uttaradit Journal 2019; 11: 91-102.
Paktipat P, Kingpaiklang M, Cherdchaiyapoom W, Phimarn W, Taengthonglang C, Saramunee K. Factors affect the CD4 levels and quality of life of HIV/AIDs patients. Jourmal of Science and Techno logy Mahasarakham University 2017; 36: 561-71.
Horne R, Weinman J, Hankins M. The beliefs about medicines questionnaire: the development and eva- luation of a new method for assessing the cognitive representation of medication. Psychol Health 1999; 14: 1-24.
Kongpet C, Sherer P. Worldview of medicine: expe- riences of people living with HIV/AIDS taking antiretroviral medication. Proceedings of Rangsit University Research Conferences; 2012 Apr 10; Bangkok, Thailand. p. 70-7.
Poovipirom N. Cause of death in HIV/AIDS infected patients in Samutsakhon hospital. Region 4-5 Medical Journal 2016; 35: 2-12.
Bureau of AIDS, TB and STIs. Thailand National Guidelines on HIV/AIDS Diagnosis, Treatment and Prevention 2020. Nonthaburi: Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2020.
Udompanich T, Kosalaraksa P, Ratanamanee S. Duration of antiretroviral therapy and adherence in HIV-infected children at Srinagarind Hospital. Srina garind Medical Journal 2008; 23: 258-64.
Tuengwiwat S. Outcome of antiretroviral drug use in HIV-patients at Mab-ammarit hospital. Region 11 Medical Journal 2015.; 29: 161-69.
Chaiyasit Y, Piboonrungroj P. Stigmatization: nursing applications to reduce effects for HIV/AIDS patients. Journal of Nursing Division 2013; 40: 114-25.