ประสบการณ์การใช้ยาฮอร์โมนเพศของหญิงข้ามเพศในจังหวัดสกลนคร

Main Article Content

ปิญาภรณ์ นามวงสา
กรแก้ว จันทภาษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสบการณ์ในการใช้ยาฮอร์โมนเพศของหญิงข้ามเพศในจังหวัดสกลนคร วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นหญิงข้ามเพศจำนวน 18 คน ที่เคยใช้และกำลังใช้ยาฮอร์โมนเพศเพื่อการข้ามเพศ การศึกษาเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ.2563 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา: ผู้ให้ข้อมูลสำคัญให้ความหมายของยาฮอร์โมนเพศว่าเป็นพาหนะหรือเป็นทางลัดนำไปสู่ความเป็นผู้หญิง เหตุผลสำคัญที่ทำให้ใช้ยาฮอร์โมนเพศคือ ความต้องการปรับเปลี่ยนร่างกายจากเพศชายไปสู่เรือนร่างสวยงามของเพศหญิง ซึ่งแต่ละคนมีประสบการณ์ในการใช้ยาฮอร์โมนเพศและมีรูปแบบในการเทคยาที่แตกต่างกันตามเงื่อนไขหรือตามข้อจำกัดของแต่ละคน ไม่มีสูตรสำเร็จหรือแบบแผนสำหรับการข้ามเพศไปสู่ความเป็นผู้หญิง ช่องทางที่ทำให้รู้จักและใช้ยาฮอร์โมนเพศ คือ การรับรู้ข้อมูลแบบออฟไลน์ที่เป็นการแนะนำบอกต่อแบบปากต่อปากจากเพื่อนหรือรุ่นพี่ และการรับรู้ข้อมูลแบบออนไลน์ นอกจากนี้ยังพบว่าอาการข้างเคียงจากการใช้ยาซึ่งเป็นนิยามทางการแพทย์ได้ถูกตีความเชื่อมโยงกับประสิทธิภาพของยาในการทำให้บรรลุถึงรูปร่างที่พึงปรารถนา ผู้ให้ข้อมูลนิยามอาการข้างเคียงดังกล่าวว่า ยากำลังทำงานหรือยากำลังออกฤทธิ์ ซึ่งสร้างความสุขความพึงพอใจให้ผู้ใช้มากกว่าจะมองว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกาย ในทางตรงกันข้ามหากอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดเรือนร่างที่ไม่พึงปรารถนา เช่น อ้วนขึ้นหรือเกิดผื่นแพ้ ก็พร้อมที่จะตีความอาการดังกล่าวในทางลบจนถึงขั้นทำให้ทนไม่ได้และตอบสนองโดยการหยุดใช้ยา สรุป: การใช้ยาฮอร์โมนเพศของหญิงข้ามเพศเน้นที่การใช้ยาด้วยตนเองเป็นสำคัญ การมีประสบการณ์ในการใช้ยาฮอร์โมนเพศที่หลากหลาย และการนิยามอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาในมุมมองใหม่เป็นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ควรทำความเข้าใจและควรให้คำแนะนำเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาที่สอดรับกับบริบทของหญิงข้ามเพศต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bunyaphisomphan S, Samakkeekarom R, Bunmon gkhon P. Life, identity, and sexuality of transgender. Bangkok: Deun Thula Publications; 2008.

Shilling C. The body and social theory. 3rd ed. London: Sage; 2012.

Featherstone M, Hepworth M, Turner B. The body: social process and cultural theory. London: Sage Publications; 1991.

Duangwiset N. The review of “Feminine” among transgender [online]. 2015 [cited Nov 9, 2020]. Available from: www.sac.or.th/databases/anthropolo gy-concepts/articles/9

Juntrasook A, Freeman C, Ojanen TT, Supawanta nakul N, Samakkeekarom R, Sophitachasak S, et al. Project to develop recommendations for the development of forms and systems of support for family members, friends, life partners and health service providers to promote the well-being of the LGBTQ population [online]. 2019 [cited May 11, 2021]. Available from: lsed.tu.ac.th/uploads/lsed/pdf /research/%20LGBT4P.pdf

Radix A. Hormone therapy for transgender adults. Urol Clin North Am 2019; 46: 467-73.

T’Sjoen G, Arcelus J, Gooren L, Klink DT, Tangpri cha V. Endocrinology of transgender medicine. Endocr Rev 2018; 40: 97-117.

Dahl M, Feldman J, Goldberg J, Jaberi A. Endocrine Therapy for Transgender Adults in British Columbia: Suggested guidelines physical aspects of transgender endocrine therapy. Vancou- ver: Transgender Health Information Program; 2015.

Health Policy Project, Asia Pacific Transgender Network & United Nations Development Program. Blueprint for the provision of comprehensive care for trans people and trans communities. Washing- ton, DC: Futures Group, Health Policy Project; 2015.

Humphries-Waa K. The use of hormone therapy in the male-to-female transgender population: issues for consideration in Thailand. Int J Sex Health 2014 ; 26: 41-51.

Ratanalert W, Smithphol K. The manual of Thai transgender health service. Bangkok: Center of Excellence in Transgender Health (CETH) Chula longkorn University; 2019

Im-uerb D, Anekpattanakit A, Laohabut N, Siriwong P. The purchasing behavior and marketing mix of contraceptive pill of transgendered students. Nakon Phathom: Faculty of Management Science, Silpa korn University; 2011.

Samakkeekarom R, Ratlerdkarn S, Sinchai K, Julla wat K, Sangnak N, Taesombat J. The use of hor mone therapy among trans-woman students in government and private university. Qual Life Res 2019; 15: 48-66.

Suriyasarn B. Gender identity and sexual orienta- tion in Thailand. Bangkok: ILO Country Office for Thailand, Cambodia and Lao People’s Democratic Republic; 2014.

Chotiwan P. “Factory Kathoeys”: transgendered lives and selves of migrant labors from the North eastern Region [master Thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2014.

Hembree WC, Cohen-Kettenis PT, Gooren L, Han nema SE, Meyer MJ, Murad MS, et al. Endocrine treatment of gender-dysphoric/gender-incongruent persons: an endocrine society clinical practice guideline. J Clin Endocrinol Metab 2017; 102: 3869 -903.

Tanthien P. Self-medication habits in Thai people. J Hematol Transfus Med 2009; 19: 309-16.