พฤติกรรมและเหตุผลการใช้กัญชาของประชาชน: กรณีศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

รัตติยา แดนดงยิ่ง
กรแก้ว จันทภาษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมและเหตุผลของการใช้กัญชาทางการแพทย์ของประชาชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ วิธีการ: การศึกษาเชิงคุณภาพนี้สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์จำนวน 15 คน การศึกษาเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง และใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ เกณฑ์การคัดเลือก คือเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้กัญชาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ การเก็บข้อมูลดำเนินการระหว่างเดือนเมษายน 2564 - พฤษภาคม 2564 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูลสำคัญให้ความหมายกัญชาตามรูปแบบและวิธีใช้กัญชา ได้แก่ กัญชาเป็นยาเสพติด กัญชาเป็นยารักษาโรค และกัญชาเป็นสมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพ สำหรับเหตุผลที่ใช้กัญชา แบ่งเป็นการใช้เพื่อการดูแลสุขภาพ และการใช้เพื่อการรักษาโรคหรือความเจ็บป่วย โดยส่วนใหญ่ใช้กัญชาเป็นการรักษาเสริมควบคู่กับการรักษาแผนปัจจุบัน และต้องปิดบังข้อมูลการใช้กัญชาต่อแพทย์ผู้รักษา ในส่วนพฤติกรรมการใช้กัญชาพบว่า แม้จะมีการให้บริการคลินิกกัญชาทางแพทย์ในโรงพยาบาล ผู้ให้ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่ยังเลือกใช้กัญชาที่เรียกว่า “กัญชาใต้ดิน” เนื่องจากมองว่าการไปรับบริการที่คลินิกกัญชาทางแพทย์เป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ยาก ในการเลือกใช้กัญชาผู้ให้ข้อมูลสำคัญให้ความสำคัญกับผลที่เกิดขึ้นเท่านั้น รูปแบบกัญชาที่พบ ประกอบด้วย น้ำมันกัญชา ใบกัญชา แคปซูลน้ำมันกัญชา และกัญชาในตำรับยาแผนไทย น้ำมันกัญชาเป็นรูปแบบที่มีการใช้มากที่สุด และมีมุมมองว่าน้ำมันกัญชาเป็นยารักษาโรคที่มีฤทธิ์แรงที่สุด สรุป ในมุมมองของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ กัญชาถูกนำมาใช้เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพและเป็นตัวช่วยในการรักษาอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น การใช้ “กัญชาใต้ดิน” อาจเป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัดของการเข้ารับบริการในระบบสาธารณสุขไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Public Health Ministerial Declaration in 2020 on Specify the names of narcotics in schedule 5. Royal Gazette No. 137, Part 290D special (Dec 14, 2020).

Tantisirin K. Law and regulation of medical cannabis use: Training on the use of medicinal cannabis extracts for pharmacists. Bangkok: Pharmacy Council of Thailand; 2019.

Assanangkornchai S, Thaikla K, Talib FM, Pailee klee S, Charoenratana S, Saingam D. Estimation of the number of current medical cannabis user in Thailand. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2021.

Phanwichian K. Factors associated with cannabis usage on behavioral level for medical benefits of the people. Journal of Boromarjonani College of Nursing Suphanburi 2020; 3: 31-42.

Abuhasiraa R, Schleidera LBL, Mechoulamc R, Novack V. Epidemiological characteristics, safety and efficacy of medical cannabis in the elderly. Eur J Intern Med 2018; 49: 44–50.

Department of Medical Services. Guidelines for prescribing medical cannabis products to patients. Bangkok: War Veterans Organization of Thailand; 2019.

Gardiner KM, Singleton JA, Sheridan J, Kyle GJ, Nissen LM. Health professional beliefs, knowledge and concerns surrounding medicinal cannabis – A systematic review. PLoS One 2019; 14: e0216556. doi: 10.1371/journal.pone.0216556.

Philpot LM, Ebbert JO, Hurt RT. A survey of the attitudes, beliefs and knowledge about medical cannabis among primary care providers. BMC Fam Pract. 2019; 20: 17. doi: 10.1186/s12875-019-0906-y.