การจัดการปัญหาด้านยาภายใต้โครงการลดความแออัด ของผู้ป่วยที่โรงพยาบาลโดยการรับยาที่ร้านขายยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการจัดการปัญหาด้านยา และประเมินระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อโครงการลดความแออัดของผู้ป่วยที่โรงพยาบาลโดยให้รับยาที่ร้านขายยาแผนปัจจุบัน วิธีการ: ตัวอย่างในการศึกษานี้ประกอบด้วยผู้ป่วยนอก 46 คนที่เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการบริการอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์และโรงพยาบาลวารินชำราบที่มารับบริการที่ร้านยา 10 แห่ง ตามโครงการฯ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 การศึกษาประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ใน 4 ด้าน คือ ลักษณะของผู้ให้บริการ บริการที่ได้รับ สถานที่ที่รับบริการ และระยะเวลาในการให้บริการด้วยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ข้อมูลความดันโลหิตและระดับนํ้าตาลในเลือดเก็บจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บันทึกข้อมูลการตรวจผู้ป่วยที่ร้านยา ข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยาและปัญหาเกี่ยวกับยาในใบสั่งยา 1,660 ใบเก็บจากบันทึกของเภสัชกรในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของร้านยา 3 ร้านในเครือข่าย ผลการวิจัย: ผู้ป่วยสามารถคุมความดันโลหิตได้ร้อยละ 75.00 และควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้ร้อยละ 51.72 ปัญหาด้านยาที่พบมากที่สุดคือ ปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยา (ร้อยละ 6.99 ของใบสั่งยาที่ศึกษา) ความพึงพอใจในแต่ละด้านของผู้ป่วยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพบความพึงพอใจสูงสุด ในด้านลักษณะของผู้ให้บริการ (3.91±0.28 จากคะแนนเต็ม 4) และด้านระยะเวลาในการให้บริการ (3.91±0.35) สรุป: เภสัชกรสามารถช่วยให้ผู้ป่วยในโครงการฯ ยังคงมีผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดี และช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับยาที่เกิดกับผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดต่อโครงการทั้งด้านเภสัชกรที่ให้บริการ งานบริการที่ได้รับ สถานที่ตั้งของร้านยา และเวลาในการรับยา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
National Statistical Office. Number of outpatients in 21 diseases within public health facilities of the Ministry of Public Health throughout the Kingdom 2009 - 2018 [online]. 2019 [cited May 9, 2020]. Available from: statbbi.nso.go.th/staticreport/page/s ector/th/05.aspx
Srivanichakorn S. Over-crowding problems in hospi- tals. Journal of Health Systems Research 2007; 1: 216-23.
News and Media Relations Group, Bureau of Infor- mation Office of the Permanent Secretary. Ministry of Public Health uses 3 strategies to reduce conges tion at major hospitals [online]. 2019 [cited May 10, 2020]. Available from: pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2 /04/117764/
Chalongsuk R, Lochind-amnuay S, Suntimaleewola- gun W. A study of a refill prescription service system comparing a hospital pharmacy and an accredited pharmacy. Journal of Health Systems Research 2007; 1: 249-61.
Sookaneknun P, Rattanachotpanit T, Thowanna B, Senanok R, Somsaard P, Ukrit Sonhorm U, et al. Comparison of pharmaceutical care outcomes in chronic disease patients receiving refill prescription between accredited community pharmacies and primary care units, Maha Sarakham Province. Jour nal of Health Systems Research 2012; 6: 100-11
Pakdevong N, Binhosen V. Factor predicted blood pressure control in persons with hypertension in one community hospital. Journal of Nursing and Health Care 2011; 32: 23-30.
Lu J, Lu Y, Wang X, Li X, Linderman GC, Wu C, et al. Prevalence, awareness, treatment, and control of hypertension in China: data from 1·7 million adults in a population-based screening study (China PEACE Million Persons Project). Lancet 2017; 390: 2549-58.
Sirikutjatuporn K, Wirojratan V, Jitramontree N. Predicting self-management behaviour of elderly type 2 diabetes patients. Thai Journal of Nursing Council 2017; 32: 81-93.
Lertsinudom S, Rintara W, Wanakamanee U, Thana nithisak C, Anusornpanichakul P, Kaewketthong P. The synthesis of political suggestion for the development of accredited drugstore co-working with family medicine clinic. Bangkok: Health Systems Research Institute (HSRI); 2020.