ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลารอรับยาของห้องยาผู้ป่วยนอกพิเศษ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์

Main Article Content

ประภัสสร ทับทวี
พชร บุณยะตุลานนท์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลารอรับยาของผู้รับบริการที่ห้องยาผู้ป่วยนอกพิเศษ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลระยะเวลารอรับยาและปัจจัยที่ศึกษาจากโปรแกรม IBM® cognos® business intelligence (BI) โปรแกรมที่ใช้บันทึกการสั่งใช้ยาของแพทย์ในระบบผู้ป่วยนอก และใบสั่งยาของห้องยาผู้ป่วยนอกพิเศษของศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 31 มกราคม 2564 ระยะเวลารอรับยาแสดงใน 3 แบบ ได้แก่ ระยะเวลารอกระบวนการภายในห้องยา ระยะเวลารอส่งมอบยา และระยะเวลารอทั้งระบบ ปัจจัยที่ศึกษาทั้งหมด 8 ปัจจัย ได้แก่ ระบบการสั่งใช้ยา วันของสัปดาห์ เวลาที่ห้องยาได้รับใบสั่งยา หน่วยตรวจ จำนวนชั้นวางยาที่ใช้จัดยาต่อใบสั่งยา จำนวนรายการยาต่อใบสั่งยา ใบสั่งยาที่ไม่มียาเพียงพอพร้อมใช้ในห้องยา และใบสั่งยาที่ห้องยาส่งข้อมูลกลับไปให้แพทย์แก้ไข ผลการวิจัย: ตัวอย่างใบสั่งยาทั้งหมด 1,243 ใบสั่งยา มีระยะเวลารอรับยาเฉลี่ยของกระบวนการภายในห้องยา กระบวนการรอส่งมอบยา และกระบวนการทั้งระบบ เท่ากับ 17.65±0.34 นาที 33.78±2.12 นาที และ 51.44±2.16 นาที ตามลำดับ มีใบสั่งยาที่ได้รับยาภายใน 30 นาทีตามเป้าหมาย ร้อยละ 53.10 ระยะเวลารอรับยาที่นานเกิดจากหลายปัจจัย ส่วนใหญ่มีระยะเวลารอคอยในส่วนกระบวนการรอส่งมอบยานาน ปัจจัยอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากกระบวนการทำงานของห้องยา ทำให้ระยะเวลารอรับยาเฉลี่ยทั้งระบบไม่บรรลุเป้าหมาย จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กับระยะเวลารอรับยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ปัจจัยที่ทำให้ระยะเวลารอคอยของกระบวนการภายในห้องยาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มี 6 ปัจจัย ได้แก่ วันของสัปดาห์ เวลา จำนวนชั้นวางยาที่ใช้จัดยาต่อใบสั่งยา จำนวนรายการยา ใบสั่งยาที่ไม่มียาเพียงพอพร้อมใช้ในห้องยา และใบสั่งยาที่ส่งข้อมูลกลับไปให้แพทย์แก้ไข ปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อระยะเวลารอรับยาของกระบวนการภายในห้องยาคือ การไม่มียาที่ระบุในใบสั่งเพียงพอพร้อมใช้ในห้องยา รองลงมาคือ ใบสั่งยาที่ส่งข้อมูลกลับไปให้แพทย์แก้ไข ปัจจัยที่ทำให้ระยะเวลารอคอยของกระบวนการรอส่งมอบยาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มี 4 ปัจจัย ได้แก่ วันของสัปดาห์ ช่วงเวลา หน่วยตรวจ และจำนวนชั้นวางยาที่ใช้จัดยาต่อใบสั่งยา สรุป: ทุกปัจจัยที่ศึกษามีความสัมพันธ์กับระยะเวลารอรับยา ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลารอรับยาของกระบวนการภายในห้องยามากที่สุด คือ การไม่มียาที่ระบุในใบสั่งยาเพียงพอพร้อมใช้ในห้องยาและใบสั่งยาที่ห้องยาส่งข้อมูลกลับไปให้แพทย์แก้ไข ดังนั้น ควรนำปัจจัยที่ทำให้ผู้รับบริการรอคอยนาน ไปพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดระยะเวลารอคอยของผู้รับบริการ และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเกณฑ์เป้าหมายตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาลมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ningsanon T, Ratanawijitrasin S. Hospital drug system performance indicators. 2nd ed. Bangkok: Poramatkanpim; 2008.

Oche M, Adamu H. Determinants of patient waiting time in the general outpatient department of a tertiary health institution in north Western Nigeria. Ann Med Health Sci Res. 2013; 3: 588-92.

Shahzadi S, Annayat S. Factors associated patient waiting time at outpatient department in Allied hospital Faisalabad. J Biol Agric Healthc. 2017; 7: 14-20.

Boonpitak S, Ratanavijit K. Application of lean concepts for reducing waiting time: a case of outpatient department at Phrapokklao hospital Chanthaburi. ASEAN Journal of Scientific and Technological Reports. 2018; 21: 21-31.

Yunus M, Wiryanto, Yuandani. Evaluation of waiting time for outpatient prescription services at the pharmacy installation at the Universitas Sumatera Utara hospital. Indonesian Journal of Pharmaceuti- cal and Clinical Research 2020; 3: 54-61.

Alam D, Girsang E, R Nasution SL. Identification of influence factors on waiting time of prescription services for outpatient. In: Turnip A, Joelianto E, Santosa H, Naseer N, editors. Proceedings of the international conference on health informatics, medical, biological engineering, and pharmaceuti- cal; 2020 Sep 24-25; Medan, Indonesia. Setúbal: Scitepress; 2020. p. 23-9.

Pharmacy Department, Saraburi Hospital. Standard of Saraburi hospital pharmacy service [online]. 2020 [cited Jun 26, 2021]. Available from: www.srbr .in.th/wp-content/uploads/2018/07/eb02.pdf.

Ayele Y, Hawulte B, Feto T, Basker GV, Bacha YD. Assessment of patient satisfaction with pharmacy service and associated factors in public hospitals, Eastern Ethiopia. Sage Open Med. 2020; 8: 20503 12120922659. doi: 10.1177/2050312120922659.

Jande M, Liwa A, Kongola G, Justin-temu M. Assessment of patient satisfaction with pharmaceu- tical services in hospital pharmacies in Dar es Salaam, Tanzania. East and Central Afr J Pharm Sci 2013; 16: 24-30.

Ekasari FD, Bachtiar A. Analysis of waiting time for pharmaceutical services Cempaka Putih hospital. ICPH 2019. Proceedings of the 5th International Conference on Public Health; 2019 Feb 13-14; Surakarta, Indonesia: Theicph; 2019.p. 480-6.

Somton P, Sutthananun W, Chewchan T, Jarean pak R, Naleang NS. Study on system design for decrease waiting time in out–patient pharmacy unit at Bamrasnaradura infectious diseases institute [online]. 2014 [cited Jan 22, 2021]. Available from: ryssurvey.com/vichakarn/downloadq.php?f=ddc2019 08211417413842_150_1001ca.pdf&fc=title_205.pdf

Boonma A, Sethanan K, Talangkun S, Laonapakul T. Patient waiting time and satisfaction in GP clinic at a tertiary hospital in Thailand. In: Hamontree C, editor. ICEAST 2018. The 4th International Confe- rence on Engineering, Applied Sciences and Tech- nology; 2018 Jul 4-7; Phuket, Thailand. MATEC Web of Conferences; 2018; 192: 01034.

Himawan VB, Fitriasari N, Widyassari A. System effectivity of pharmacy services queue time in out patient pharmacy depot RSD Dr. Soebandi Jember. Humanistic Network for Science and Technology 2018; 2: 602-6.

Srisaard B. Foundation of research. 10th ed. Bang kok: Suweeriyasan; 2017.

Tungkhasamit T, Bamrung I. Computerized physi cian ordering entry system for chemotherapy at Udon Thani cancer hospital. Journal of the Thai Medical Informatics Association. 2017; 2: 65-71.

Davis L, Brunetti L, Lee EK, Yoon N, Cho SH, Suh DC. Effects of computerized physician order entry on medication turnaround time and orders requiring pharmacist intervention. Res Social Adm Pharm. 2013; 10: 756-67.

Lewing LD, Hatfield MD, Sansgiry SS. Impact of computerized provider order entry systems on hospital staff pharmacist workflow productivity: A three site comparative analysis based on level of CPOE implementation. J Hosp Adm 2017; 7: 1-8

Thawithangkul S, Thawithangkul W, Wananukul W. Benefits and obstacles of computerized physician order entry (CPOE) system in Ramathibodi Hospital. Journal of the Thai Medical Informatics Association. 2016; 2: 128-33.

Conrad M. Patient waiting time and associated factors at the assessment center, general out-patient department Mulago hospital Uganda [master thesis]. Kampala: Makerere University; 2013