การศึกษาสภาพการจัดการศึกษาหลักสูตรเจ้าพนักงานเภสัชกรรมในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาหลักสูตรเจ้าพนักงานเภสัชกรรมในประเทศไทย วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยเก็บข้อมูลจากอาจารย์ 88 คน และนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม 276 คนของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ทั้ง 7 แห่งในประเทศไทย (ชลบุรี พิษณุโลก ยะลา ขอนแก่น ตรัง อุบลราชธานี และสุพรรณบุรี) การศึกษาใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลความเห็นต่อความเหมาะสมของสภาพการจัดการศึกษาใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านหลักสูตร 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านการบริหารจัดการ ผลการวิจัย: อาจารย์ให้ความเห็นต่อความเหมาะสมของสภาพการจัดการศึกษาในด้านหลักสูตรในระดับมาก (4.01±0.69 จากคะแนนเต็ม 5) ด้านการจัดการเรียนการสอนในระดับมาก (4.14±0.65) และด้านการบริหารจัดการอยู่ในระดับมาก (3.89±0.80) สำหรับกลุ่มนักศึกษาให้ความเห็นต่อความเหมาะสมในการจัดการศึกษาในระดับมากทุกด้านเช่นเดียวกัน ดังนี้ ด้านหลักสูตร (4.15±0.60) ด้านการจัดการเรียนการสอน (4.18±0.60) และด้านบริหารจัดการ (4.05±0.72) สรุป: ถึงแม้ว่าความเห็นของอาจารย์ต่อความเหมาะสมของสภาพการจัดการศึกษาของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรแต่ละแห่ง โดยภาพรวมจะอยู่ในระดับมาก แต่ยังมีประเด็นที่ยังต้องพัฒนาในเรื่องการบริหารจัดการ สื่อการเรียนการสอน อาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม และการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ดังนั้นวิทยาลัยแต่ละแห่งต้องตระหนักถึงการพัฒนาในประเด็นเหล่านี้ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Buasri T. Curriculum theory: Curriculum design and develop ment. Bangkok: Public Development Education Bureau; 1999.
Srisa-an W. Principles and systems of educational adminis tration. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University Press; 2000.
Sayorwan W. Role of pharmacy technician in consumer protection fair in provincial public health office [master thesis]. Nakhorn Pathom: Silpakorn University; 2004.
Praboromarajchanok institute. Diploma programme in phar- maceutical techniques, revised 2018. Nonthaburi: Praboro marajchanok Institute; 2018.
The Pharmacy Council. Competencies of pharmacy technician from the resolution of the Pharmacy Council meeting no. 6/2014, July 21, 2014. Nontha buri; 2014.
Praboromarajchanok Institute. Handbook of internal educational quality assurance. According to vocatio- nal standards of 2018, colleges under Praboromara- jchanok Institute. Nonthaburi: Praboromarajchanok Institute; 2018.
Srisa-ard B. Preliminary research. 9th ed. Bangkok: Suwiriyasan; 2013.
Muadthomg S, Suksri H, Rotanatanya S, Amornrote worawut C. Research and evaluation of public health diploma program. (pharmaceutical techniques), revised 2007. Khon Kaen: Sirindhorn College Of Public Health, Khon Kaen; 2011.
Praboromarajchanok Institute. Handbook of opera- tions for the formation of graduate identity Praboro- majchanok Institute. Nonthaburi: Yuttarin Printing; 2011.
Kunakorn S. Curriculum and instruction. 4th ed. Bangkok: Chuan Printing; 1980.
Wongnutararot P. Academic administration. Bang- kok: Pimdee; 2002.
Department of Vocational Education. Premises of the college. Bangkok: Printing Department Press; 1995.