การประเมินหลักสูตรและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อคุณลักษณะของ ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบ วิชาชีพเภสัชกรรม สาขาเภสัชบำบัดของวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย

Main Article Content

สุทธิพร ภัทรชยากุล
สิริมา สิตะรุโน
อรวรรณ แซ่ลิ่ม
ดิษยา วัฒนาไพศาล
ยงยุทธ เลิศศรีสถิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินหลักสูตร สำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาเภสัชบำบัด วิธีการ: กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ผ่านการฝึกอบรม ผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน อาจารย์ผู้สอน ตัวแทนกระทรวงสาธารณสุข และองค์กรวิชาชีพ การศึกษาใช้แบบสอบถามออนไลน์และแบบสัมภาษณ์เพื่อสอบถามความคิดเห็นต่อหลักสูตรวุฒิบัตรฯ จุดแข็ง จุดด้อย คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ที่สำเร็จการศึกษา และข้อเสนอแนะในการจัดการสอน ผลการสำรวจถูกนำเสนอในโครงการสัมมนาหลักสูตรวุฒิบัตรฯ เพื่อกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ผลการวิจัย: จากคะแนนเต็ม 5 ผู้ผ่านการฝึกอบรม (n=31) พึงพอใจต่อหลักสูตรโดยรวมเฉลี่ย 3.77 พึงพอใจในคุณลักษณะตนเองเฉลี่ย 4.19 อาจารย์ในหลักสูตรวุฒิบัตรฯ (n=9) พึงพอใจต่อหลักสูตรโดยรวมเฉลี่ย 4.00 ผู้บังคับบัญชา (n=7) พึงพอใจคุณลักษณะของผู้ผ่านการฝึกอบรมเฉลี่ย 4.61 จุดแข็งของหลักสูตร คือ เป็นการฝึกอบรมในสถานการณ์จริงทำให้เชี่ยวชาญในการให้บริบาลทางเภสัชกรรม และริเริ่มงานใหม่ได้ด้วยตัวเอง จุดอ่อนของหลักสูตรคือมีระยะเวลาเรียนที่ยาวนานและความก้าวหน้าทางวิชาชีพของผู้จบจากหลักสูตรที่ไม่ใช่อาจารย์ยังไม่ชัดเจน ส่วนประเด็นที่ยังสามารถพัฒนาได้ ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัยและการประเมินผลการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ได้แก่ 1) เชี่ยวชาญการบริบาลทางเภสัชกรรม 2) ให้ข้อมูลยาได้ถูกต้องและเหมาะสม 3) มีทักษะการทำวิจัย 4) ทำงานเป็นทีม 5) มีคุณธรรมและจริยธรรม 6) มีภาวะผู้นำ 7) มีทักษะการสอนที่ดี และ 8) ระบุปัญหา/แก้ไขปัญหาด้านยาเชิงระบบ สรุป: ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพึงพอใจในคุณลักษณะของผู้ผ่านการฝึกอบรม การฝึกอบรมควรมุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติงานในสถานการณ์จริงและปรับรูปแบบการฝึกอบรมเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Sitaruno S, Jenjirachote W, Ruengwattanachai R, Keawsri R, Wantiva B, Chaiyakan K. Survey of need, motivation and restrictions to pursue graduate studies among pharmacy students and pharmacy graduates from Prince of Songkla University. Thai Journal of Pharmacy Practice 2018; 10: 542- 50.

ASEAN University Network (AUN). Guide to AUN-QA assessment at programme level version 3.0. [online]. 2015 [cited June 20, 2020]. Available from: www.aunsec.org/pdf/Guide%20to%20AUN-A%20As sessment%20at%20Programme%20Level%20VersI on%203_2015.pdf

Pharmacy Council of Thailand. Pharmacy Council Regulations on The College of Pharmacotherapy of Thailand [online]. 2008 [cited Jun 15, 2020]. Available from: www.pharmacycouncil.org/share/file /file_40.pdf

The College of Pharmacotherapy of Thailand. The training manual of Board Certified Pharmacothe rapy Training Program [online] . 2018 [cited Jun 18, 2020]. Available from: thaibcp.pharmacycouncil.org/ file-download/fadmin_1554196510.pdf

American Society of Health-System Pharmacists. Competency areas, goals, and objectives for a resi- dency in an advanced area of pharmacy practice [online]. 2018 [cited Jun 18, 2020]. Available from: www.ashp.org/-/media/assets/professional-develop ment/residencies/docs/pgy2-outcomes-goals-objecti ves-residencies-advanced-area.ashx

American Society of Health-System Pharmacists. Required competency areas, goals, and objectives for postgraduate year one (PGY1) pharmacy residencies. [online]. 2015 [cited June 18, 2020]. Available from: www.ashp.org/-/media/assets/profes sional-development/residencies/docs/required-comp etency-areas-goals-objectives

McCarthy BC, Jr., Weber LM. Update on factors motivating pharmacy students to pursue residency and fellowship training. Am J Health Syst Pharm 2013; 70: 1397-403.

Dupuis S, Martel A, Arfa T, Valma J, Williamson DR, Perreault MM. Factors influencing fourth-year pharmacy students' decisions to pursue a hospital pharmacy residency. Can J Hosp Pharm 2016; 69: 209-15.