ความเข้มสัมพัทธ์ของยาเคมีบำบัดกับการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ระยะต้น ณ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Main Article Content

ปวิตรา เชียงอารีย์
จิรัฏฐ์ ธีราประดิษฐ์
สุภัสร์ สุบงกช

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มของยาสัมพัทธ์ (relative dose intensity : RDI) ของสูตรยาเคมีบำบัดมาตรฐานกับการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะต้นที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยยาเคมีบำบัด วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาติดตามข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะต้นที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดและได้รับการรักษาเสริมด้วยยาเคมีบำบัดเป็นครั้งแรก ขนาดยาที่ผู้ป่วยได้รับในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาล ถูกนำคำนวณเป็น RDI การศึกษาติดตามผลของการรักษาเป็นระยะเวลา 5 ปีในผู้ป่วย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยที่มี RDI < ร้อยละ 85 และ กลุ่มผู้ป่วยที่มี  RDI > ร้อยละ 85 การศึกษาใช้สถิติ Cox proportional hazards model ในการวิเคราะห์อัตราส่วนความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต อัตราส่วนความเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำของโรคมะเร็งเต้านม และอัตราส่วนความเสี่ยงต่ออาการไม่พึงประสงค์จากการรักษา ผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมดจำนวน 601 ราย แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มี RDI  < ร้อยละ 85 จำนวน 151 ราย (ร้อยละ 25.12) และ กลุ่มผู้ป่วยที่  RDI > ร้อยละ 85 จำนวน 450 ราย (ร้อยละ 74.88) กลุ่มที่มี RDI > ร้อยละ 85 มีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่ากลุ่มที่ RDI < ร้อยละ 85 (HR = 0.66 ; 95%CI 0.41, 1.06) แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่พบความแตกต่างอย่างนัยมีสำคัญทางสถิติของอัตราส่วนความเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำของโรคมะเร็งเต้านม ความเสี่ยงต่อการเกิดพิษทางระบบโลหิตวิทยาและพิษต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม สรุป: ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะต้นที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยยาเคมีบำบัดหลังการผ่าตัดทั้งในกลุ่มที่ได้รับยาเคมีบำบัดในขนาด RDI < ร้อยละ 85 และ RDI > ร้อยละ 85 ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านอัตราส่วนความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต อัตราส่วนความเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำ และอัตราเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการรักษา 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization. Cancer prevention and control [online] .2021 [cited May 23, 2021]. Availa ble from: www.who.int/nmh/a5816/en/.

National Cancer Institute. Hospital-based cancer registry 2019 [online]. 2021 [cited May 23, 2021]. Available from: www.nci.go.th/th/File_download/Nci %20Cancer%20Registry/Hospital-Based%202019% 20NCI.pdf

Laoitthi P, Parinyanitikul N. Breast cancer: epidemio logy prevention and screening recommendations. Chulalongkorn Medical Journal 2016; 60: 497-507.

Denduluri N, Patt DA, Wang Y, Bhor M, Li X, Favret AM, et al. Dose delays, dose reductions, and relative dose intensity in patients with cancer who received adjuvant or neoadjuvant chemotherapy in community oncology practices. J Natl Compr Canc Netw 2015; 13: 1383–93.

Shayne M, Crawford J, Dale DC, Culakova E, Lyman GH. Predictors of reduced dose intensity in patients with early-stagebreast cancer receiving adjuvant chemotherapy. Breast Cancer Res Treat 2006; 17: 255-62.

Rosner B. Fundamentals of biostatistics. 5th ed. Pacific Grove, CA: Duxbery; 2000.

Denduluri N, Patt D, Wang Y, Bhor M, Li X, Favret AM, et al. Chemotherapy dose intensity and overall survival among patients with advanced breast or ovarian cancer. Clin Breast Cancer 2018; 18: 380-86.

Loibl S, Skacel T, Nekljudova V, Luck HJ, Schwenkglenks M, Brodowicz T. Evaluating the impact of relative total dose intensity (RTDI) on patients’ short and long-term outcome in taxane- and anthracycline-based chemotherapy of metas tatic breast cancer pooled analysis. BMC Cancer 2011; 11: 131. doi: 10.1186/1471-2407-11-131

Schraa SJ, Frerichs KA, Agterof MJ, Hunting JCB, LosM, Jong PCD. Relative dose intensity as a proxy measure of quality andprognosis in adjuvant chemotherapy for breast cancer in daily clinical practice. Eur J Cancer B Oral Oncol 2017; 79: 152-57.

Ladwa R, Kalas T, Pathmanathan S, Woodward N, Wyld D, Sanmugarajah J. Maintaining dose intensity of adjuvant chemotherapy in older patients with breast cancer. Clin Breast Cancer 2018; 18: 1181–7.

Bonadonna G. Valagussa P, Moliterni A: Adjuvant cyclophosphamide, methotrexate and fluorouracil in node positive breast cancer. New Engl J Med 1995, 14: 901-16.

Curigliano G, Cardinale D, Suter T, Plataniotis G, Azambuja ED, Sandri MT, et al. Cardiovascular toxicity induced by chemotherapy, targeted agents and radiotherapy: Ann Oncol 2012; 7: 155-66.

Davies C, Pan H, Godwin J, et al. Long-term effects of continuing adjuvant tamoxifen to 10 years versus stopping at 5 years after diagnosis of oestrogen receptor-positive breast cancer: ATLAS, a randomised trial. Lancet 2013; 381: 805-16.

Hershman DL, Shao T, Kushi LH, et al. Early discontinuation and non-adherence to adjuvant hormonal therapy are associated with increased mortality in women with breast cancer. Breast Cancer Res Treat 2011; 126: 529–37.