การโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายของคลินิกเวชกรรม ที่ให้บริการเสริมความงามในจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

อาภากร เขจรรักษ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจสถานการณ์การโฆษณาทางสื่อออนไลน์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายของคลินิกเวชกรรมที่ให้บริการ เสริมความงามในจังหวัดมหาสารคาม วิธีการ: ผู้วิจัยเก็บข้อมูลการโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ทุกช่องทาง (เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิสเตอร์ ยูทูปและเว็บไซต์อื่น) ของคลินิกฯ ทุกแห่ง (27 แห่ง) ในระยะเวลา 1 เดือน พบว่า คลินิกทุกแห่งใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการโฆษณา จึงเลือกโฆษณาที่ใช้ชื่อคลินิกในเฟซบุ๊กตรวจสอบประเด็นการฝ่าฝืนตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 ประกอบประกาศกรมสนับสนุน บริการสุขภาพ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และค่าใช้จ่ายในการ โฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล พ.ศ.2562 และประกาศแพทยสภาที่ 50/2549 เรื่อง  คำที่ห้ามใช้ในการโฆษณาและคู่มือการปฏิบัติงานการพิจารณาอนุมัติโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล ผลการวิจัย: โฆษณาในเฟซบุ๊กจำนวนทั้งสิ้น 163 ชิ้น ฝ่าฝืนกฎหมาย จำนวน 151 ชิ้น (ร้อยละ 92.64) เมื่อพิจารณากฎหมายทั้งสามฉบับที่เกี่ยวข้อง พบการโฆษณาฝ่าฝืนประกาศกรมสนับสนุนบริการสุขภาพฯ  หรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล พ.ศ.2562 มากที่สุดใน ข้อ 7(1) (ห้ามมิให้โฆษณาอันเป็นเท็จหรือไม่มีมูลความจริงฯ) จำนวน 37 ชิ้น (ร้อยละ 24.50 ของโฆษณาที่พบว่าผิดกฎหมาย การฝ่าฝืนประกาศแพทยสภาฯ พบมากที่สุด ใน ข้อ 8 โดยใช้คำว่า “ครบวงจร" หรือการแสดงราคาเปรียบเทียบมากที่สุด (28 ชิ้น หรือร้อยละ 18.54 ของโฆษณาที่ผิดกฎหมายที่พบ) การฝ่าฝืนคู่มือการปฏิบัติงานฯ พบมากที่สุดในเรื่อง โบท็อกซ์ (22 ชิ้น ร้อยละ 14.57 ของโฆษณาที่ผิดกฎหมายที่พบ) สรุป: ผลจากการศึกษาสามารถใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติการพิจารณาอนุมัติโฆษณาและเฝ้าะระวังคลินิกเอกชน และใช้เป็นข้อมูล เพื่อประชาสัมพันธ์แนวทางการตรวจสอบโฆษณาไปยังผู้บริโภคและเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Electronic Transactions Development Agency. Thai land internet user behavior 2019 [online]. 2019 [cited Dec 10, 2020]. Available from: www.etda.or .th/publishing-detail/thailand-internet-user-behavior-2019-slides.html.

Department of Health Service Support. Annual report 2019 [online]. 2020 [cited Dec 14, 2020]. Available from: hss.moph.go.th/HssDepartment/img/pdf/report year2562.pdf.

Consumer Protection and Public Health Group, Mahasarakham Provincial Public Health Office. Annual report 2020 [online]. 2020 [cited Dec 19, 2020]. Available from: mkho.moph.go.th.

Consumer Protection and Public Health Group, Mahasarakham Provincial Public Health Office. Meeting on post marketing control 2020. Mahasarakham: Mahasarakham Provincial Public Health Office; 2020.

Sanatorium Act B.E. 2541. Royal Gazette No. 115, Part 15A (Mar 24, 1998).

Sanatorium Act B.E. 2559. Royal Gazette No. 133, Part 107A (Dec 20, 2016).

Notification of the Department of Health Service Support in 2019 on rules, procedures conditions and cost for advertising of sanatoriums. Royal Gazette No. 136, Part 289D special (Nov 25, 2019).

Announcement of the Medical Council of Thailand No. 50/2549 on words prohibited in advertising.

Musik N. Working manual on approving advertising of sanatoriums B.E.2019 [online]. 2020 [cited Dec 19, 2020]. Available from: hss.moph.go.th/HssDe partment.

Fless JL. Statistical methods for rates and propo tions. 2nd ed. New York: John Wiley; 1981.

Regulations of Ministry of Health on rules and procedures for financial punishment on the violation of Sanatorium Act B.E. 2541. B.E.2556.

Saenkam T. Necessity to control sanatorium advertisements. Nitipat NIDA 2019; 8: 41-55.

Sutram P, Chaiphanawan P. Obstacles in the enforcement of Health Facility Act B.E.2541 for advertisement control. Kasem Bundit Journal 2019; 20: 200-9.

Pacharathip C. Prevalence of illegal online adver tisements among aesthetic medical clinics in Mueang district within a southern Province. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2019; 11: 237-46.