การประเมิลผลการดำเนิน “โครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านยาเพื่อ ลดความแออัดในโรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม”

Main Article Content

จุฬารัตน์ ฮาดวิเศษ
สุรศักดิ์ ไชยสงค์
กาญจนาภรณ์ ตาราไต
เพียงขวัญ ศรีมงคล
ร่มตะวัน กาลพัฒน์
พสิษฐ์ พัจนา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม วิธีการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงการประเมินผลโครงการโดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด 16 คน และการสัมภาษณ์ผู้ป่วยทั้งหมด 21 คน ซึ่งแบ่งเป็นในโครงการ 11 คนและนอกโครงการ 10 คน การวิจัยนี้ดำเนินการในระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 – กันยายน พ.ศ. 2563 ผลการวิจัย: โรงพยาบาลมหาสารคามมีการดำเนินงานรูปแบบที่ 1 คือ โรงพยาบาลเป็นผู้จัดยาและส่งยาให้ร้านยาเพื่อจ่ายยาให้ผู้ป่วย  ร้านยาเข้าร่วมโครงการ 13 ร้าน และมีผู้ป่วยที่เข้าร่วมทั้งหมด 225 คน โดยป่วยด้วยโรคหอบหืด (ร้อยละ 53.77) โรคเบาหวาน (ร้อยละ 27.11) และโรคต่อมลูกหมากโต (ร้อยละ 14.22) ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกับการบริการในร้านยามากโดยเฉพาะด้านความสะดวกสบายและรวดเร็ว ผู้ป่วยทั้งในและนอกโครงการไม่ค่อยพึงพอใจเนื่องจากไม่ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์และขาดความกระตือรือร้น/ความเอาใจใส่ ความแออัดในโรงพยาบาลลดลงเล็กน้อย เห็นได้จากสัดส่วนของผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.07 ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 21,000 คน ผู้ป่วยในโครงการประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมากกว่าผู้ป่วยนอกโครงการ สรุป: โครงการฯ สามารถลดความแออัดในโรงพยาบาลได้เล็กน้อย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกับบริการที่ได้รับมาก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิผลมากขึ้นจำเป็นต้องมีการจัดระบบและขั้นตอนการรองรับที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์และการขยายสิทธิให้ครอบคลุมทุกกลุ่มประชากร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Srivanichakorn S. Over-crowding problems in hospitals. Journal of Health Systems Research 2007; 1: 216-23.

Tettanom P. Patient safety and overcrowding in emergency room. Public Health & Health Laws Journal 2018; 4: 237-49.

Lertsinudom S, Tawinkan N, Hansuri N, Nasatid A. Outcomes of family pharmacist network services in universal health care coverage. Thai Journal of Pharmacy Practice 2018; 10: 382-91.

Wangein C. Ministry of Public Health implemented 3 strategies to reduce overcrowding in large hospitals [online]. 2018 [cited Oct 12, 2020]. Available from: www.thaihealth.or.th/Content/45188-สธ.%20ใช้%203%20ยุทธศาสตร์ลดแออัดโรงพยาบาลใหญ่.html.

Arkaravichien W, Hongsamout D, Jarupach C, Sangkar P. Co-ordination between community pharmacy and community caring clinic: The essential factors. Journal of Health Science 2008; 17: 706-11.

Kessomboon N, Hongsamout D, Sangkar P, Chanth pasa K, Jarupach C, Arkaravichien. Payment providing pharmacy administration and pharmacy dispensing under the national health security scheme: A case study of Sombun pharmacy contracted to Maha Chai Community Caring Clinic Nakhon Ratchasima. Journal of Health Science 2008; 17: 884-96.

Chaiyasong S, Osiri S, Hirunpanich V, Arparsrithong sagul S. Primary care services in pharmacies under the health insurance system: A case of university pharmacy. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 2005.

Sumpanprateep S. Evaluation the effectiveness of “termya termsuk” (fill pills fill happiness) project. Med J 2016; 30: 59-68.

Simtrakul W, Lochidamnuay S. Evaluation of antihy pertensive medication refill clinic operated by pharmacist at Si Prachan Hospital, Suphanburi province, Thailand. Journal of Health Science 2015; 24: 727-33.

Chalongsuk R, Lochnd-amnuay S, Suntimaleewo lagun W. A study of a refill prescription service system comparing a hospital pharmacy and an accredited pharmacy. Journal of Health Systems Research 2007; 1: 249-61.

Upakdee N, Dhippayom T. Community pharmacy service under the national health insurance in Australia. Journal of Health Science 2015; 24: 182-94.

Lochid-amnuay S, Kessombook N, Putthasri W, Puangkantha W. Recommendations on incorpora- ting accredited community pharmacy into Universal Coverage in Thailand. Thai Journal of Hospital Pharmacy 2011; 3: 189-202.