ปฏิกิริยาระหว่างอาหารกับวาร์ฟาริน: ความจริงกับความเชื่อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสื่อสารข้อเท็จจริงเพื่อปรับความเชื่อที่ผู้ป่วยรับรู้เป็นสิ่งที่ท้าทายมากในงานบริบาลทางเภสัชกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีการเกิดอันตรกิริยาระหว่างอาหารและ warfarin บทความปริทัศน์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดและแนวทางการจัดการปัญหาการเกิดอันตรกิริยาระหว่างอาหารและ warfarin จากการทบทวนวรรณกรรมและจากประสบการณ์ของผู้นิพนธ์ บทความนี้แสดงให้เห็นประเด็นที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) มีหลักฐานการเกิดอันตรกิริยาระหว่างอาหารและ warfarin แต่ข้อมูลมีจำกัดและคุณภาพต่ำ อาหารที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์มากที่สุดซึ่งอยู่ในระดับชั้นของหลักฐานที่ดีในการเกิดอันตรกิริยาแล้วทำให้ค่า INR สูงขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ คือ cranberry และ การเกิดอันตรกิริยาแล้วทำให้ค่า INR ลดลงและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน คือ broccoli 2) การตั้งคำถามมีความสำคัญมากกว่าคำตอบ กล่าวคือ เภสัชกรต้องซักประวัติผู้ป่วยโดยละเอียด จับประเด็นปัญหาให้ได้ และใช้ข้อมูลของผู้ป่วยในการแก้ปัญหาของผู้ป่วยแบบเฉพาะราย วิธีคิดที่เหมาะสมนำไปสู่การบริบาลทางเภสัชกรรมที่มีประสิทธิภาพ การตัดสินใจต้องใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์เข้ามาพิจารณาและปรับให้เหมาะสมกับการตอบสนองของผู้ป่วย และ 3) การสื่อสารเพื่อให้เกิดความร่วมมือในแผนการรักษาเป็นสิ่งที่ต้องแสดงออกมาให้เป็นรูปธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Hill JA, Agewall S, Baranchuk A, Booz GW, Borer JS, Camici PG, et al. Medical misinformation. Circ Cardiovasc Qual Outcomes. 2019; 12: e005496.
Erku DA, Belachew SA, Abrha S, Sinnollareddy M, Thomas J, Steadman KJ, et al. When fear and misinformation go viral: Pharmacists' role in deterring medication misinformation during the 'infodemic' surrounding COVID-19. Res Social Adm Pharm. 2021; 17: 1954-63.
Zhou X, Jenkins R. Dunning-Kruger effects in face perception. Cognition. 2020; 203: 104345.
Kahneman D. Q&As with Daniel Kahneman. Proc Natl Acad Sci 2013; 110: 13696.
Alsoufi B. Thinking, fast and slow. J Thorac Cardiovasc Surg. 2017; 153: 646-7.
Harter K, Levine M, Henderson SO. Anticoagulation drug therapy: a review. West J Emerg Med. 2015; 16: 11-7.
Holford NH. Clinical pharmacokinetics and pharmacodynamics of warfarin. Understanding the dose-effect relationship. Clin Pharmacokinet. 1986; 11: 483-504.
Holbrook AM, Pereira JA, Labiris R, McDonald H, Douketis JD, Crowther M, Wells PS. Systematic overview of warfarin and its drug and food interactions. Arch Intern Med. 2005; 165: 1095-106.
Norwood DA, Parke CK, Rappa LR. A Comprehensive review of potential warfarin-fruit interactions. J Pharm Pract. 2015; 28: 561-71.
Di Minno A, Frigerio B, Spadarella G, Ravani A, Sansaro D, Amato M, Kitzmiller JP, Pepi M, Tremoli E, Baldassarre D. Old and new oral anticoagulants: Food, herbal medicines and drug interactions. Blood Rev. 2017; 31: 193-203.
Leite PM, Martins MAP, Castilho RO. Review on mechanisms and interactions in concomitant use of herbs and warfarin therapy. Biomed Pharmacother. 2016; 83: 14-21.
Tan CSS, Lee SWH. Warfarin and food, herbal or dietary supplement interactions: A systematic review. Br J Clin Pharmacol. 2021; 87: 352-74.
Ötles S, Senturk A. Food and drug interactions: a general review. Acta Sci Pol Technol Aliment. 2014; 13: 89-102.
Methavigul K, Boonyapisit W. Optimal INR level in Thai atrial fibrillation patients who were receiving warfarin for stroke prevention in Thailand. J Med Assoc Thai. 2014; 97: 1274-80.
Daugherty NE, Smith KM. Dietary supplement and selected food interactions with warfarin. Orthopedics. 2006; 29: 309-14.
Behera SK, Das S, Xavier AS, Velupula S, Sandhiya S. Comparison of different methods for causality assessment of adverse drug reactions. Int J Clin Pharm. 2018; 40: 903-10.
Ilardo ML, Speciale A. The Community Pharmacist: Perceived barriers and patient-centered care communication. Int J Environ Res Public Health. 2020; 17: 536.
Poowaruttanawiwit P, Tanpalang N, Sriprom P. Assessment of knowledge and drug adherence to warfarin therapy in patients with heart valve replacement surgery. Research Proceeding in Naresuan Research Conference 13rd, Thailand, 2017 Phitsanulok, Thailand.
Tran MT, Grillo JA. Translation of drug interaction knowledge to actionable labeling. Clin Pharmacol Ther. 2019; 105: 1292-95.