ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลบนฉลากยาของผู้รับบริการ ณ แผนกบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลท่าศาลา

Main Article Content

สาวิตรี เหล่าไพบูลย์กุล
วรัชยา ช่วยกาญจน์
นิอัซมี นิเลาะ
นาถพล ตลึงจิตร
นลินนุช มีศิลป์
ณัฐธิดา เพชรดี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้ของผู้รับบริการ ณ แผนกบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกเกี่ยวกับข้อมูลบนฉลากยา และข้อมูลที่ผู้รับริการต้องการให้แสดงบนฉลากยา ตลลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะบุคคลกับความรู้ดังกล่าว วิธีการ: ตัวอย่างในการศึกษา คือ ผู้รับบริการแผนกบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้วิจัยรวบรวมรายการยาที่มีการสั่งจ่ายของแผนกบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกมากที่สุด 3 รายการ ได้แก่ พาราเซตามอล คลอร์เฟนิรามีน และอะมอกซิซิลลิน ผู้วิจัยสัมภาษณ์ผู้รับบริการเพื่อเก็บข้อมูลทั่วไป จากนั้นให้ผู้รับบริการอ่านข้อมูลบนฉลากยาของโรงพยาบาลพร้อมทั้งประเมินความรู้เกี่ยวกับข้อมูลบนฉลากยาทั้ง 3 ชนิดข้างต้น และสัมภาษณ์ต่อในส่วนพฤติกรรมของผู้รับบริการเกี่ยวกับการอ่านฉลากยา และข้อมูลที่ผู้รับบริการต้องการให้แสดงบนฉลากยา การเก็บข้อมูลดำเนินการตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2562-30 มกราคม 2563  ผลการวิจัย: ผู้รับบริการทั้งหมด 350 คนเข้าร่วมการวิจัย ผู้รับบริการร้อยละ 61.14, 24.00 และ 14.86 มีคะแนนความรู้ ≥ 80, 60-79 และ ≤ 59 คะแนน (เมื่อเทียบคะแนนให้เต็ม 100) หัวข้อ QR code เป็นส่วนที่ผู้รับบริการตอบผิดมากที่สุด ปัจจัยลักษณะบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้เกี่ยวกับฉลากยา ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา และความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ร้อยละ 30.57 ของตัวอย่างไม่อ่านฉลากยาทุกครั้งที่รับประทานยา ข้อมูลที่ผู้รับบริการส่วนใหญ่ต้องการบนฉลากยาเป็นข้อมูลที่มีอยู่แล้วบนฉลากยา เช่น ชื่อสามัญทางยาภาษาไทย ข้อบ่งใช้ และอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ตัวอย่างแนะนำให้เพิ่มขนาดตัวอักษรบนฉลากยา สรุป: ผู้รับบริการส่วนใหญ่มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับข้อมูลบนฉลากยามากกว่าร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม แต่ยังมีข้อมูลที่ผู้รับบริการขาดความรู้บนฉลากยา เช่น การใช้ QR code และยังคงต้องการข้อมูลที่มีอยู่แล้วบนฉลากยา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Macdonald M. Patient safety: examining the adequacy of the 5 rights of medication administra- tion. Clin Nurse Spec 2010; 24: 196-201.

Wongriantong T. Standard format of medicine labels in Thailand [master thesis]. Bangkok: Chulalong korn University; 2007.

Sub-committee on Rational Drug Use Promotion. Suggestions on improving medicine labels and the preparation of supplementary labels to promote reasonable use of drugs. Bangkok: Wanida Karn pim limited partnership; 2015.

Dawood OT, Hassali MA, Saleem F, Ibrahim IR. Assessment of self-reporting reading of medicine’s labels and the resources of information about medicines in general public in Malaysia. Pharma col Res Perspect 2018; 6: 1-7.

Ruenruay S, Saokaew S. Situation of medicines and dietary supplements in the health provider board region 3. Thai Journal of Pharmacy Practice 2017; 9: 225-35.

Niyomyat P. Knowledge, Attitude and behavior of medicine label reading and leaflet of patients at hypertension clinic Khueang nai hospital, Khueang nai district, Ubon Ratchathani [indepen dent study]. Mahasarakham: Mahasarakham University; 2009.

Davis TC, Federman AD, Bass PF, Jackson RH, Middlebrooks M, Parker RM, et al. Improving patient understanding of prescription drug label instructions. J Gen Intern Med 2009; 24: 57–62.

Suwannakanit J, Chanchamroonkit J, Thanyawatsa wat M. Drug utilization understanding through drug label among undergraduate students in Chulalong korn university [independent study]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2011.

Wolf MS, Davis TC, Curtis LM, Webb JA, Bailey SC, Shrank WH, et al. Effect of standardized, patient-centered label instructions to improve comprehension of prescription drug use. Med Care 2011; 49: 1-12.

Sub-committee on Rational Drug Use Promotion. Rational drug use hospital manual. Bangkok: Agri cultural Cooperatives of Thailand Printing; 2015.

Chaicom K, Klangsang P, Palaeng B. Knowledge, attitude and behavior of medical students toward

safety in laboratory practices. Srinagarind Medical Journal 2013; 28: 484-9.

Kitdesh A, Kaewbooddee K. QR code in Thailand and application of QR code technology in the hospitals in Thailand 4.0. Mahidol R2R e-Journal 2018; 2: 51-9.

Pons ES, Moraes CG, Falavigina M, Sirtori LR, Cruz FC, Webster G, et al. Users’ preferences and perceptions of the comprehensibility and read- ability of medication labels. PLoS ONE 2019; 14: e0212173. doi: 10.1371/journal.pone.0212173.

Law AV, Zargarzadeh AH. How do patients read, understand and use prescription labels? An explo ratory study examining patient and pharma-cist perspectives. Int J Pharm Pract 2010; 18: 282–9.

Shrank W, Avorn J, Rolon C, Shekelle P. Medication safety: effect of content and format of prescription drug labels on readability, understanding, and medication use: a systematic review. Ann Pharmacother 2007; 41: 783-801.

Hellier E, Edworthy J, Derbyshire N, Costello A. Considering the impact of medicine label design characteristics on patient safety. Ergonomics 2006; 49: 617-30.

Phimarn W, Pianchana P, Rungsungnoen R, Ritthiya L, Pattaradunpituk W. Development and evaluation of pictorial labeling system for elderly patients with chronic disease. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2014; 9: 109-15.