ความชุกของโฆษณาทางสื่อออนไลน์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายของ คลินิกเวชกรรมที่ให้บริการเสริมความงามในจังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

ชฎากร บุญสิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของโฆษณาทางสื่อออนไลน์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายของคลินิกเวชกรรมที่ให้บริการเสริมความงามในจังหวัดเพชรบูรณ์ วิธีการ: ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากโฆษณาทางสื่อออนไลน์ทุกชิ้นในช่วง 2 เดือน (มกราคมและกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564) ของคลินิกเวชกรรมที่ให้บริการเสริมความงามทุกแห่งในจังหวัดเพชรบูรณ์ (11 แห่ง มี 2 แห่งที่มี 2 สาขาและใช้ช่องทางในการโฆษณาร่วมกันจึงทำให้เหลือจำนวนคลินิกฯ ที่ใช้สืบค้นข้อมูลทั้งสิ้น 9 แห่ง) สื่อออนไลน์ที่สำรวจเบื้องต้นในการศึกษา ได้แก่ facebook, twitter, instagram, youtube, line และเว็บไซต์ของคลินิกเวชกรรมฯ พบว่ามีการโฆษณาทางสื่อออนไลน์อย่างน้อย 1 ช่องทางและพบว่าคลินิกฯ ทุกแห่งใช้ช่องทาง facebook การวิจัยครั้งนี้จึงเลือกโฆษณาที่ลงใน facebook มาตรวจสอบประเด็นฝ่าฝืนประกาศกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขและค่าใช้จ่ายในการโฆษณา หรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล พ.ศ. 2562 ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ประกาศแพทยสภาที่ 50/2549 เรื่องคำที่ห้ามในการโฆษณา และมติที่ประชุมคณะกรรมการสถานพยาบาลเรื่องการโฆษณาสถานพยาบาล ผลการวิจัย: ในช่วงเวลาของการศึกษาพบโฆษณาของคลินิกฯ ใน facebook ทั้งหมด 222 ชิ้น เป็นโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมายจำนวน 180 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 81.08  เมื่อแบ่งการกระทำตามระดับความรุนแรงโดยยึดหลักการทำหัตถการ  พบว่า มีโฆษณาเกี่ยวข้องกับหัตการที่จัดอยู่ในระดับรุนแรงมากที่สุด เช่น โฆษณาที่มีการทำหัตถการโดยการสะกิด จิ้ม ฉีด และแทงเข็ม จำนวน 100 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 45.05 ทั้งนี้แบ่งเป็นการฝ่าฝืนประกาศกรมสนับสนุนบริการสุขภาพฯ ข้อ 7 (1) มากที่สุด (ประกาศอันเป็นเท็จหรือ ไม่มีมูลความจริง โอ้อวดเกินจริง หลอกลวง ปกปิดความจริงฯ) จำนวน 35 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ19.44 โฆษณาฝ่าฝืนประกาศแพทยสภาที่ 50/2549 ข้อ 1 (ใช้คำว่า “เพียง”) มากที่สุดจำนวน 23 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 12.78 ฝ่าฝืนมติที่ประชุมคณะกรรมการสถานพยาบาลเรื่องการโฆษณาสถานพยาบาลมติ 15/5/61 เรื่องโบท็อกซ์ (botox) มากที่สุด จำนวน 75 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 41.67  สรุป: การโฆษณาทางสื่อออนไลน์ของคลินิกเวชกรรมที่ให้บริการเสริมความงามในจังหวัดเพชรบูรณ์ร้อยละ 81.08 ฝ่าฝืนกฎหมาย ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปจัดทำคู่มือในการพิจารณาอนุมัติโฆษณาสถานพยาบาลของจังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งยังใช้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเรื่องการยื่นขออนุญาต รวมถึงบทกำหนดโทษของการโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เพื่อให้ผู้ประกอบการรับทราบและปฏิบัติตามให้ถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Manageronline. Market value of Thai beauty and health [online]. 2019 [cited Dec 18, 2020]. Available form:mgronline.com/business/detail/9620000090151

Sanatorium Act B.E. 2541. Royal Gazette No. 115,

Part 15A (Dec 18, 2020).

Notification of the Department of Health Service Support on criteria, methods, conditions and expenses for advertising or announcements. Royal Gazette No. 135, Part 21 (special) (July 30, 2018).

Medical Council of Thailand. Announcement of Statement of the Medical Council of Thailand No. 50/2549 on words prohibited in advertising [online]. 2006 [cited Dec 18, 2020]. Available form: www.tmc. or.th/download/50_49.pdf

Sirisawat W. The Study on advertisements of private sanitariums in Nakhon Ratchasima Province. Regio- nal Health Promotion Center 9 Journal 2019; 12: 92-104.

Saenkam T. Necessity to control sanatorium adver tisements. Nitipat NIDA 2019; 8: 41-55

Mahaprom T, Suparyong O, Chinwong D, Chinwong S. Situation of medical advertisements broadcasted on radios in rural districts of northern Thailand. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2019; 11: 840-9.

Sutram P, Chaiphanawan P. Obstacles In the enforce ment of Health Facility Act 2541 for advertisement control. Kasem Bundit Journal 2019; 20: 200-9.

Chantana C. Sanatorium advertising according to the Sanatorium Act, B.E. 2541 [independent study]. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open Univer sity; 2013.

Pacharathip C. Prevalence of illegal online advertise ments among aesthetic medical clinics in Mueang district within a southern province. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2019; 11: 237-46.