สถานการณ์และความพร้อมของสถานที่ผลิตยาแผนโบราณในเขตสุขภาพที่ 3 ในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการพื้นฐานในการผลิตยาแผนโบราณ พ.ศ. 2559

Main Article Content

ธนัชพร อินโท
จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจสถานการณ์ของสถานที่ผลิตยาแผนโบราณในเขตสุขภาพที่ 3 และประเมินความพร้อมของผู้ประกอบการด้านความรู้ เวลา งบประมาณการลงทุน และปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการพื้นฐานในการผลิตยาแผนโบราณ พ.ศ. 2559 วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานที่ผลิตยาแผนโบราณในเขตสุขภาพที่ 3 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี พิจิตร กำแพงเพชร และชัยนาท ที่ผู้ประกอบการยินยอมให้เก็บข้อมูล จำนวน 23 แห่ง การศึกษาเก็บข้อมูลช่วงเดือนมิถุนายน ถึง กันยายน พ.ศ. 2562 ด้วยแบบสอบถาม โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ สังเกต และประเมินสถานที่ผลิตยาแผนโบราณ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจำแนกตามแบบประเมินเป็น 5 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 การบริหารคุณภาพ หมวดที่ 2 บุคลากร หมวดที่ 3 อาคารสถานที่และเครื่องมือ หมวดที่ 4 การดำเนินการด้านเอกสาร และหมวดที่ 5 ตัวอย่างจัดเก็บ ผลการวิจัย: สถานที่ผลิตยาแผนโบราณมีคะแนนรวมทุกหมวดเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 27.42 หมวดที่คะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ การบริหารคุณภาพ และน้อยที่สุด คือ การดำเนินการด้านเอกสาร เท่ากับร้อยละ 43.9 และ 3.79 ตามลำดับ สถานที่ผลิตยาแผนโบราณเพียง 1 แห่ง ที่คะแนนทุกหมวดมากกว่าร้อยละ 50 และสถานที่ผลิตยาต้องใช้เวลามากกว่า 5 ปี ในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ฯ หมวดที่ต้องใช้งบประมาณในการปรับปรุงมากที่สุด คือ อาคารสถานที่ ปัญหาและอุปสรรคด้านกระบวนการผลิตยา คือ หลักเกณฑ์ฯ มีความยุ่งยาก ปัญหาและอุปสรรคด้านการจำหน่าย คือ คนรุ่นใหม่มีความนิยมใช้ยาแผนโบราณลดลง และด้านนโยบายจากรัฐบาล คือ หลักเกณฑ์สถานที่ผลิตยาแผนโบราณมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย สรุป: สถานที่ผลิตยาแผนโบราณในเขตสุขภาพที่ 3 ยังไม่พร้อมปฏิบัติตามเกณฑ์ฯ และจะใช้เวลาในการพัฒนามากกว่า 5 ปี ผู้ประกอบการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจที่จะพัฒนาสถานที่ผลิตยาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ความเป็นไปได้ของตลาดการจำหน่ายยาแผนโบราณ หรือการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ฯ จากกระทรวงสาธารณสุข สถานที่ผลิตยาแผนโบราณควรได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนในการจัดหาแหล่งเงินทุน การพัฒนานวัตกรรมการผลิตและสูตรตำรับยาแผนโบราณ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนการตลาด และการหาช่องทางการจำหน่ายเพื่อให้ยาแผนโบราณของไทยคงอยู่ต่อไป 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ministry of Public Health. Twenty-Year national strategic plan for public health (2017-2036). Nonthaburi: Strategy and Planning Division; 2018. p. 78.

Filing for licenses and licensing the production, sale and importation to the country of traditional medicine B.E.2555. Royal Gazette No. 129, Part 58A (July 4, 2012).

Specifying details for criteria and production methods of traditional medicine according to drug act B.E. 2559 Royal Gazette No. 133, Part 50D special (February 26, 2016).

Anon.How to use traditional medicine safely [online]. 2017 [cited April 1, 2021]. Available from: www. ttmed.psu.ac.th/blog.php?p=218#

Viboonsunti C, Viboonsunti S. Assessment of the practices of manufacturing herbal medicine form traditional medicinal plants in Chiang Mai province. Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine 2007; 5: 151-65.

Vacharanukul P. Potential of the modern pharmaceutical manufacturers in Thailand to perform pharmaceutical inspection cooperation scheme (PIC/S) [master thesis]. Nakhon Pathom: Silpakorn University; 2007.

Sirikwin P, Pongpirul K, Sirikwin K, Anantsuksomsri S. Situation of public and private herbal pharmaceu tical factories of Thailand. Journal of Thai Traditio- nal & Alternative Medicine 2020; 18: 99-110.

Tummasuriya C. Manufacturing problems in the Thai traditional medicine industry. In: Tosayanon S, editors. SSRU 2016. Proceedings of the 7th International and Thai Conference in IRD of Suan Sunandha Rajaphat University; 2016 Mar 25; Bangkok, Thailand. Bangkok; 2016. p. 2691-701.

Sermsinsiri N. Listening to opinions on the draft subordinate law to the traditional medicine act B.E. 2562. In: Anon, editor. Public hearing on the draft of subordinate law to the traditional medicine act B.E. 2562; 2021 March 22; Thailand. Bangkok: 2009. p. 5-30.

Rattanapikul P, Fusiri P. Motivation in choosing traditional medicines of consumers in Bangkok. Journal of Finance, Investment, Marketing and Business Management 2012; 2: 144-61.

Phuengphol N, Sayorwan W, Namwong N. Factors predicting the decision to distribute herbal medicine products of drug store in Chonburi province. Journal of Humanities and Social Sciences 2016; 24: 177-94.

Warnset C. Problems and obstacles in production system, distribution, and consumption of stakeholders for the organic herbal medicine products: case study of Chao Phya Abhaibhubejhr hospital foundation [master thesis]. Bangkok: Thammasat University; 2015.

Jaiyen P, Yeabkai Y. Factors Affecting People’s Trustworthiness in Herbal Products in Sukhothai Province. Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine 2020; 18: 122-34.