ความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ของเภสัชกรโรงพยาบาลรัฐ

Main Article Content

น้ำฝน ศรีบัณฑิต
อภิญญา เหลืองวิเชียรพร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้ ความคิดเห็น และปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ของเภสัชกรโรงพยาบาลรัฐ วิธีการ: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้เก็บข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ไปยังเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานบริการเภสัชกรรมในโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ จำนวน 2,110 ฉบับ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึง กรกฎาคม 2563 เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่งแบบสอบถามกลับ 684 ชุด (ร้อยละ 32.4) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 70.8) อายุเฉลี่ย 37.4±8.2 ปี โดยอยู่ในทีมให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ ร้อยละ 56.6 เคยเข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ ร้อยละ 67.8 เภสัชกรมีคะแนนความรู้เฉลี่ยเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ 10.9±1.9 จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน คะแนนความคิดเห็นเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์เฉลี่ย 2.9±0.6 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน มีระดับความคิดเห็นไม่แน่ใจกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ (ร้อยละ 49) ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรู้เกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ประเภทโรงพยาบาล (P=0.046) เขตสุขภาพที่ปฏิบัติงาน (P=0.014) การเป็นโรงพยาบาลนำร่องการให้บริการกัญชาทางการแพทย์ (P=0.046) การมีคลินิกกัญชาทางการแพทย์ (P=0.032) และประวัติการเข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์ (P<0.001) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระยะเวลาในการทำงาน (P=0.016) และเขตสุขภาพที่ปฏิบัติงาน (P=0.007) สรุป: เภสัชกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับกัญชาทางแพทย์ แต่ยังไม่แน่ใจกับการใช้กัญชาทางแพทย์เนื่องจากมีข้อกังวลในแง่ผลกระทบต่อสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

National Institute on Drug Abuse. Marijuana as medi cine [online]. 2018 [cited Oct 19, 2019]. Available from: www.drugabuse.gov/publications/drugfacts/m arijuana.

Narcotics Act B.E. 2562. Royal Gazette No.134, Part 19A (Feb 18, 2019).

Department of Medical Services, Ministry of Public Health. Guidance on cannabis for medical use B.E. 2563 [online]. 2020 [cited May 2, 2021]. Available from: cannabis.fda.moph.go.th/wp-content/uploads/ PDF/manual/February_2020/Guidance-Updated-v-4_update-20200120-cover.pdf.

Abuhasira R, Shbiro L, Landschaft Y. Medical use of cannabis and cannabinoids containing products- Regulations in Europe and North America. Eur J Intern Med 2018; 49: 2-6.

Hwang J, Arneson T, St Peter W. Minnesota pharmacists and medical cannabis: A survey of knowledge, concerns, and interest prior to program launch. PT 2016; 41: 716-22.

Szyliowicz D, Hilsenrath P. Medical marijuana knowledge and attitudes: a survey of the California

pharmacists association. J Prim Care Community Health 2019; 10: 1-6.

Mitchell F, Gould O, LeBlanc M, Manuel L. Opinions of hospital pharmacists in Canada regarding marIj uana for medical purposes. Can J Hosp Pharm 2016; 69: 122-30.

Ministry of Public Health. Information search system for health care providers have trained in medical cannabis course [online]. 2021 [cited May 2, 2021]. Available from: hemp.fda.moph.go.th/FDA_MARIJU ANA/SAS/VISIT_DOCTOR.

Strategy and Planning Division, Permanent Secretary Offices, Ministry of Public Health. Report on public health resource [online]. 2018 [cited Sep 23, 2019]. Available from: ps.moph.go.th/new_bps/sites/defaul t/files/Report%20Health%20Resource%202018.pdf.

Nulty D. The adequacy of response rates to online and paper surveys: what can be done? Asses Eval Higher Educ 2008; 33: 301-14.

Evanoff AB, Quan T, Dufault C, Awad M, Bierut LJ. Physicians-in-training are not prepared to prescribe medical marijuana. Drug Alcohol Depend 2017; 180: 151-5.

Philpot LM, Ebbert JO, Hurt RT. A survey of the attitudes, beliefs and knowledge about medical cannabis among primary care providers. BMC Fam Pract 2019; 20: 1-7.

Katesomboon P. Medical cannabis for family physicians. Journal of Primary Care and Family Medicine 2020; 3: 13-20.

Boonthae S. A survey of the knowledge, understanding and opinions about medical and recreational cannabis among public aged 15 years and over. Bangkok: Centre for Addiction Studies; 2020.