ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของ นักศึกษาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพชั้นปีสุดท้าย ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

Main Article Content

ศิราณี ยงประเดิม
ธนวัฒน์ คงยศ
สุริยน อุ่ยตระกูล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อวัดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพชั้นปีสุดท้ายในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง  วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบตัดขวาง โดยใช้แบบประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลที่พัฒนาขึ้นวัดความรู้ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต พยาบาลศาสตรบัณฑิต และสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ผลการวิจัย: นักศึกษาตอบแบบสอบถาม 195 คน คิดเป็นร้อยละ 75.29 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งหมดในสี่หลักสูตร  โดยเป็นนักศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต 24 คน (ร้อยละ 12.30)  เภสัชศาสตรบัณฑิต 48 คน (ร้อยละ 24.61)  พยาบาลศาสตรบัณฑิต 78 คน (ร้อยละ 40.00)  และสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต 45 คน (ร้อยละ 23.09) ทั้ง 4 หลักสูตรมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) นักศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตมีคะแนนไม่แตกต่างจากนักศึกษาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (คะแนนเฉลี่ย 12.7±1.1  และ 13.4±1.8 ตามลำดับ, P=0.075)  แต่นักศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตและสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตมีคะแนนน้อยกว่าทั้งสองหลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญ (คะแนนเฉลี่ย 10.4±1.9 และ 9.0±2.3  ตามลำดับ, P<0.01) ประเด็นที่นักศึกษาตอบถูกน้อยที่สุด คือ การใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่ถูกสุนัขกัดและการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากบาดแผลในเด็ก  สรุป: คะแนนความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของนักศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตและเภสัชศาสตรบัณฑิตชั้นปีสุดท้ายมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80  แต่นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตและสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตมีคะแนนความรู้ประมาณร้อยละ 70 และ 60 เท่านั้น  อย่างไรก็ตาม นักศึกษาทุกหลักสูตรควรเพิ่มเติมความรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับบาดแผลสุนัขกัดและบาดแผลในเด็ก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization. Antibiotic resistance [on line]. 2018 [cited Sep 10, 2018]. Available from: www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/antibiotic-resistance?fbclid=IwAR1OII4r4psYNyEmkwwiQ36W7Osis5YcQqrprWCIrXDwTNTiybjUPTCGKos

Sumpradit N, Hunnangkul S, Phumart P, Prakongsai P. A survey of the antibiotic control and surveillance system and measures in promoting rational use of antibiotics: Preliminary results. Journal of Health Systems Research 2012; 6: 361-73.

Bunmusik S, Chantra R, Heeaksorn R. Knowledge attitude and behaviors in rational antibiotics use of nursing students southern college of nursing and public health network. Journal of Health Research and Innovation 2019; 2: 25-36.

Sornkrasetrin A, Thongma N, Rajataramya B. Factors predicting the rational antibiotic use among nursing students. The Journal of Baromarajonani College of Nusing, Nakhonratchasima 2019; 25: 43-59.

Yanti N. Factors associated to antibiotic practice among public health students in a university, Phathum Thani. Valaya Alongkorn Review (Human ities and Social Science) 2017; 7: 57-66.

Chongtrakul P, Apisarnthanarak A, Sucharitrangsri S, Leelapreechalert U, Laoweeratham S, Patan T, et al. Antibiotic Smart Use: Rational drug use initiative and implementation. Bangkok: Aksorn Graphic and Design Publishing 2011.

Angkanavisan K, Peungkiatpairote P, Pangdee N, Thongkumkoon S, Wilaiwongsathien K, Pienklintham P, et al. Knowledge and awareness on rational use of antibiotics among first year students of Mahidol University in the academic year 2011. Journal of Health Systems Research 2012; 6: 374-81.

Watphimai S, Chanthapasa K, Areemit J. Opinions of doctors on the implementation of rational drug use policy: A case study of a province in Northeastern region. Thai Journal of Pharmacy Practice 2020; 12: 114-27.