การพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาการใช้ยาชุดในชุมชนโดยสภาองค์กร ชุมชนตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

อัจฉรา มีดวง
สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการแก้ปัญหายาชุดในชุมชนโดยสภาองค์กรชุมชนตำบลและศึกษาผลของรูปแบบดังกล่าว วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะ 1 เป็นการสร้างความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วน ผู้วิจัยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำชุมชน คือ ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านกู่ และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชนคัดเลือกแกนนำชุมชนเป็นทีมวิจัยอีก 6 คน ระยะ 2 เป็นการวิเคราะห์ปัญหาแบบมีส่วนร่วม การประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลสรุปว่าปัญหาสำคัญที่ต้องดำเนินการก่อนคือยาชุด หลังจากนั้นมีการจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ปัญหายาชุดในชุมชน โดยเลือกบ้านโนนรังเป็นหมู่บ้านนำร่องก่อนขยายผลทุกหมู่บ้านในปีต่อไป ระยะ 3 เป็นการวางแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เวทีประชาคมบ้านโนนรังกำหนดกติกาชุมชน และแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาชุดของบ้านโนนรัง ระยะนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลองกลุ่มเดียวที่วัดผลก่อนและหลังการแทรกแซง การศึกษาเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 107 คน การแทรกแซงดำเนินการโดยอบรมผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุข หลังจากนั้น ผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขดำเนินการกระจายความรู้แก่ประชาชนทุกครัวเรือน ประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าว ให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านชำ เฝ้าระวังการจำหน่ายยาในร้านชำ และติดป้ายห้ามรถเร่ขายยาชุด ระยะ 4 เป็นการปฏิบัติและถอดประสบการณ์แบบมีส่วนร่วม การถอดประสบการณ์ดำเนินการหลังจากการปฏิบัติตามแผนโดยการจัดเวทีประชาคมและการประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล ผลการวิจัย: คะแนนความรู้และคะแนนทัศนคติเรื่องยาชุดหลังจากการดำเนินกิจกรรมการแก้ปัญหาฯ สูงขึ้นจาก 7.53±0.32 คะแนนเป็น 11.32±0.13  คะแนน (คะแนนเต็ม 14) และจาก 5.99±0.23 เป็น 8.12±0.11 คะแนน (คะแนนเต็ม 9) ตามลำดับ ซี่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) หลังการดำเนินการ ทุกคนไม่ใช้ยาชุดในครั้งต่อไปและไม่พบร้านชำจำหน่ายยาชุดจากเดิมที่พบ 3 ใน 4 ร้านก่อนการดำเนินการ ปัจจัยความสำเร็จคือ ผู้นำชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน และการพัฒนาศักยภาพชุมชน สรุป: สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านกู่สามารถแก้ไขปัญหายาชุดในชุมชนได้ โดยสามารถใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization. WHO policy perspec- tives in medicines: promoting rational use of medicine: core components: WHO Report, Sep 2002. Geneva: World Health Organization; 2002.

Chokevivat V, Tuntivess S, Jamniandamrongkarn S. Thai Drugs System 2020. Bangkok: Thanaaroon karnpim; 2021.

Booddawong B, Kiatying-Angsulee N, Wanleepong K, Boonmanus L, Kadsomboon O, Dokbua J, et al. Sources and distribution of unlawful medicines in 8 provinces of Thailand: Inform the public policy change. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2016; 11: 260-68.

Budawong B, Yungthong W. Community empower rment in the management of the problems on inappropriate drugs and health products: Case study of Nonkhun District, Sisaket Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 8: 332-42.

Asipong S. Health product use behavior with no medical indications among patients with chronic diseases at Rasi Salai, Sisaket Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2015; 7: 105-13.

Soda O, Srisayam M, Rodkaew A, Lailak C, Machana S. Identification of steroid in ya-chud and herbal medicines in Bansok Subdistrict, Lomsak District, Phetchabun Province. Thai Journal of Pharmacy Practice 2017; 9: 216-24.

Shinghirunnusorn C, Chaisumritchoke TS, Pum thong S, Weintong P, Yongpraderm S, Leesawat C, et al, editors. Rational drug use community: RDU community. Bangkok: Health Administration Division; 2020.

Arparsrithongsagul S, Kulsomboon V, Zuckerman IH. Multidisciplinary perspective intervention with community involvement to decrease antibiotic sales in village groceries in Thailand. Asia Pac J Public Health. 2015; 27: 480-8.

Pangkumlai S, Pinatha C. Development of measures to solve the problems associated with steroid use among the elderly. Journal of Health Science 2019;28:441-52.

Community Organizations Development Institute. Manual for the establishment and development of the Tambon community organization council. Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security; 2009.

Praputnitisarn S. Participatory action research: Concepts and practices. 4th ed. Chiang Mai: Wanida karnpim; 2009.

Jaturat P, Muangorn T. Results of solving problems using community-based drugs at Ban Nong Pan Mahasarakham Province [dissertation]. Maha Sarakham: Maha Sarakham University; 2019

Potisita C. Science and art of qualitative research. 5th ed. Bangkok: Amarin printing; 2011.

Chankunapas P, Boonyarit P, Srisupan V, Lueng ruengrong P, Prapaso N. Development of the health service system (service plan : rational drug use). Bangkok: Health Administration Division; 2016.

Chummalee I. Solving problem of Ya-chud use with participation of community at Bandonnong, Maha Sarakham Province [dissertation]. Maha Sarakham: Maha Sarakham University; 2006.

Kraisuan S, Chummalee I, Satayavongthip P. Ya-chud use of people and outcome of pharmaceutical care by the way of sufficient health to solve problem at Ban Nonsan, Nonrang sub-district, Muang district Roi-Et province. Maha Sarakham: Maha Sarakham University; 2011.