การพัฒนาแนวทางเพื่อลดการจำหน่ายยาผิดกฎหมายของร้านชำในอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนามาตรการลดปัญหาการจำหน่ายยาผิดกฎหมายจากร้านชำในอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร วิธีการ: การศึกษานี้แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นขั้นการเลือกพื้นที่วิจัย สร้างเครื่องมือวิจัย และเลือกทีมวิจัย ในระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาแนวทางเพื่อลดปัญหาการจำหน่ายยาผิดกฎหมายในร้านชำ ประกอบด้วยการวางแผนการน็น็นสำรวจพฤติกรรมการจำหน่ายยาในร้านชำ 12 ร้านของตำบลบ้านหัวเมือง และระดมความคิดเห็นกับภาคีเครือข่ายได้แก่ ผู้ประกอบการร้านชำ 12 คน ตัวแทนอาสาสมัครสุขภาพประจำหมู่บ้าน 6 คน เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 คน และผู้นำชุมชุน 4 คน เพื่อกำหนดกิจกรรมในการลดปัญหาการจำหน่ายยาผิดกฎหมาย ได้แก่ การอบรมความรู้เรื่องยาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การสร้างสื่อรู้ทันยา การประเมินติดตามชี้แนะแบบพี่เลี้ยง และการเสริมพลังให้ร้านชำ ผู้วิจัยประเมินความรู้เกี่ยวกับยาและพฤติกรรมการจำหน่ายยาของผู้ประกอบการร้านชำก่อนและหลังดำเนินการ การศึกษาระยะที่ 3 นำวิธีการที่ได้ไปทดลองใช้ในร้านชำของอำเภอมหาชนะชัย 147 ร้าน ผลการศึกษา: ในการศึกษาระยะที่ 3 ความรู้ของผู้ประกอบการร้านชำเพิ่มจากก่อนการใช้มาตรการที่พัฒนาขึ้น (6.70±2.16 จากคะแนนเต็ม 15) เป็น 11.34±1.97 ในช่วงหลังการใช้มาตรการ ร้านชำที่จำหน่ายยาผิดกฎหมายลดจาก 118 ร้าน (ร้อยละ 80.27 ของร้านชำทั้งหมด) เป็น 43 ร้าน (ร้อยละ 29.25) หรือลดลงร้อยละ 51.02 ผลการศึกษาได้วิธีการลดปัญหาการจำหน่ายยาผิดกฎหมายในร้านชำ เรียกว่า “TICE Model” ประกอบด้วย T: Training I: Information C: Coaching และ E: Empowerment สรุป: “TICE Model” ที่พัฒนาขึ้นเป็นวิธีการที่ลดปัญหาการจำหน่ายยาผิดกฎหมายในร้านชำได้ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Benítez J. Preparing a personal formulary as part of a course in clinical pharmacology. Clin Pharmacol Ther. 2002; 49: 606–8.
Shayakul C, Pisont J, Wananukul W, Punnupurat P, Kanjanarat P, Yosombat K, et al. Rational drug use hospital manual. Nonthaburi: Printing House of Agricultural Co-operative Federation of Thailand; 2015.
Thamlikitkul V. Antibiotic-resistant pathogens (antimicrobial drugs) and the control and prevention of antibiotic-resistant pathogens. Siriraj Medical Bulletin. 2013; 6: 117-20.
Singhirunnusorn C, Chaisamritchok ST, Poomthong P, Vianthong P, Yongpraderm S, Leesawat J, et al. Rational drug use community: RDU community. Nonthaburi: Office of Permanent Secretary of Public Health Ministry; 2020.
Koonyodying A. Prevalence and characteristics of antibiotics providing groceries in Amphoe Wangnuea, Lampang province. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2015; 7: 114-20.
Jitprasithsiri S. Prevalence of illegal drug distribution among groceries in Sanamchaikhet District, Chachoengsao. Thai Journal of Pharmacy Practice 2019; 11: 387-96.
Pattamasaravut P, Muenpa R. Development of model grocery stores from the civil state project on collective action for drugs safety in communities. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2020; 12: 601-11.
Chompoo A, Surin S. Dangerous drugs distribution surveillance in grocery stores of consumer protection group in the area of Mae Sa Riang hospital. FDA Journal 2015; 22: 45-50.