ผลของการใช้แนวทางการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรตาม บัญชียาหลักแห่งชาติในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

รัตนพร เสนาลาด
ภัทรินทร์ กิตติบุญญาคุณ
สมศักดิ์ นวลแก้ว

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ และศึกษาผลของการนำแนวทางดังกล่าวไปใช้ในโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม  วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การศึกษาเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณร่วมกัน โดยการระดมความคิดของบุคลากรทางการแพทย์ 22 รายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ยาสมุนไพรจากโรงพยาบาลชุมชน 5 แห่ง เพื่อสร้างแนวทางการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ จากนั้นศึกษาผลของการนำแนวทางการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร 5 รายการ ได้แก่ เถาวัลย์เปรียง ประสะไพล พญายอ เพชรสังฆาต และธาตุบรรจบ ไปใช้ในโรงพยาบาลชุมชน 5 แห่ง ตั้งแต่ 1 กันยายน - 30 พฤศจิกายน 2562 ผลการวิจัย: แนวทางการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติในโรงพยาบาลชุมชน ประกอบด้วย 1) เภสัชกรแจ้งเรื่องการส่งเสริมใช้ยาสมุนไพรต่อคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาล 2) เภสัชกรให้ข้อมูลทางวิชาการเรื่องยาสมุนไพรกับบุคลากรทางการแพทย์  3) ให้ความรู้เรื่องยาสมุนไพรกับผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาล และ 4) กำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละวิชาชีพในการดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร หลังจากใช้แนวทางดังกล่าวพบว่า โรงพยาบาลชุมชน 5 แห่งมีการสั่งใช้ยาสมุนไพร 5 รายการ เพิ่มขึ้นจาก 563 ครั้ง เป็น 738 ครั้ง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.08) ปัญหาจากการสั่งใช้ยาสมุนไพรไม่เหมาะสมลดลงจาก 167 ครั้ง เป็น 9 ครั้ง (ลดลงร้อยละ 94.6) สรุป: การศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยการระดมความคิดของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ยาสมุนไพร สามารถสร้างแนวทางการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรตามบัญชียาหลักแห่งชาติที่ปฏิบัติได้จริง ส่งผลให้เพิ่มการใช้ยาสมุนไพรของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดมหาสารคาม และสามารถลดปัญหาการสั่งใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติที่ไม่เหมาะสมได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ministry of Public Health. National of master plan for herbal development issue no.1 (2017-2021). Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2017.

Maha Sarakham Provincial Health Office. Strategic plan for health system in Mahasarakham Province 2015 – 2021 and key performance indicator of public health operation 2018. Maha Sarakham: Maha Sarakham Provincial Health Office; 2018.

Reukreungrit N, Sumpaothong K, Itharat A. Factors influencing the use of herbal medicine in u thong hospital, Supanburi province. Thammasat Medical Journal 2010; 10: 302-10.

Virasombat N, Prakobkij W, Tunthaworn T, Riyachan P, Sudto M, Ouaysawat M, et al. Herbal medicine usage in current health service system: A case study of sung noen contracting unit of primary care-CUP, Nakhon Ratchasima Province. Journal of Thai Traditional Medicine and Alternative Medicine 2011; 9: 47-56.

Meechumnarn T. Evaluation of the use of herbal and Thai traditional medicines in hospitals under the Ministry of Public Health In Roi-Et province in 2014. Thai Journal of Pharmacy Practice 2015; 7: 155-66.

Kapol N, Tosanguan K, Thavorncharoensap M, Suksomboon N, Kulpeng W, Tantivess S, et al. Views of health professionals on herbal medicine and policy for promotion of herbal medicine use in healthcare setting. Journal of Health System Research 2011; 5: 513-21.

Sutthiprasert K. Participatory action research of worker. Bangkok: JNTPrinting; 1997.

Pacharavanich N, Boontha N, Wangmaneerat A. The study of opinion and experiences for herbal medicines prescription in Ubon Ratchathanee Province [independent study]. Ubon Rajathanee; Ubon Rajathanee University 2004.

Petchsong J. Factors affecting the herbal medicine prescribing of physicians in community hospitals [Master Thesis]. Bangkok: Mahidol University;2001.

Itrat A, Singchangchai P, Kuropakornpong P, Singphaiboonporn N, Ruttanasuwan P, Kummee S. Knowledge, attitude, readiness and traditional medicine used of medicinal plants specified in the fundamental primary health care project of medical personnel in governmental hospitals in Southern Thailand [independent study] . Songkhla: Prince of Songkla University; 1998.