วัฒนธรรมองค์การของโรงพยาบาลโนนแดง: การวิจัยเชิงคุณภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์:เพื่ออธิบายลักษณะวัฒนธรรมองค์การของโรงพยาบาลโนนแดง วิธีการ: การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้เก็บข้อมูลโดยวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกตามแบบการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 15 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาล 2 คน คณะกรรมการทีมบริหารโรงพยาบาล 5 คน และผู้ปฏิบัติงาน 8 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัย: โรงพยาบาลมีวัฒนธรรมองค์การทั้ง 4 ประเภทผสมผสานกัน ได้แก่ 1)วัฒนธรรมองค์การแบบเครือญาติ 2) วัฒนธรรมองค์การแบบลำดับขั้น 3) วัฒนธรรมองค์การแบบมุ่งความสำเร็จ และ4) วัฒนธรรมองค์การแบบปรับตัว วัฒนธรรมองค์การแบบเครือญาติและวัฒนธรรมองค์การแบบลำดับขั้นเป็นวัฒนธรรมที่โดดเด่น สรุป: โรงพยาบาลโนนแดงมีลักษณะวัฒนธรรมองค์การแบบผสมผสานโดยมีวัฒนธรรมโดดเด่น 2 ประเภท ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกโรงพยาบาลที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างเหมาะสม ดังนั้น ควรส่งเสริมให้โรงพยาบาลมีลักษณะวัฒนธรรมองค์การแบบปรับตัวและแบบมุ่งความสำเร็จมากขึ้น
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Schein EH. Organizational culture and leadership. 4th ed. San Francisco: Jossey Bass; 2010.
Benjachaiyaporn S. A study of the relationship between quality culture factors and educational quality in public higher education institutions [dissertation]. Bangkok: Srinakharinwirot University; 2006.
Bangmo S. Organization and management. 4th ed. Bangkok: Wittayaphat; 2007.
Hartnell CA, Ou AY, Kinicki AJ, Choi D, Karam EP. A meta-analytic test of organizational culture’s association with elements of an organization’s system and its relative predictive validity on organizational outcomes. J Appl Psychol 2019; 104: 832-50.
Cameron KS, Quinn RE. Diagnosing and changing organizational culture base on the competing values framework. Rev ed. San Francisco: Jossey Bass; 2006. p. 23-30.
Yu T. A review of study on the competing value frame work. Int J Bus Manag 2009; 4: 37-42.
Baker KA. Organizational culture [online].2002 [cited Oct 10, 2020]. Available from: citeseerx.ist.ps u.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.104.7772&rep=rep1&type=pdf
Noknoi J. Communication in organization. Bangkok: Chulalongkorn University; 20
Meechart W. Public organization administration behavior. Bangkok: Chulalongkorn University; 2008
Phandhufung S. Organizational culture and Quality of care in government hospital under hospital accreditation: A case study of one service unit in the hospital [master thesis]. Bangkok: Mahidol University; 2006.
Chantavibul A. Enhancing employee commitment through applying organization culture: A research on private hospital in Bangkok [dissertation]. Bangkok: Graduate School, Suan Dusit Rajabhat University; 2011.
Srinont M.Theory of Generation and Cognitive Framework. Mahamakut Buddhist University educa tion Journal 2018; 6: 364-73.
Office of the permanent secretary for ministry of Agriculture and cooperative. Organizational culture analysis [online]. 2012 [cited Oct 10, 2020]. Available from: www.opsmoac.go.th/km-km_org_ce nter-files-391991791962.