การสอนเกี่ยวกับบัญชียาหลักแห่งชาติในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต และทัศนคติที่เกี่ยวข้องของอาจารย์ผู้สอน

Main Article Content

บรรณสรณ์ เตชะจำเริญสุข
กิติยศ ยศสมบัติ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจการสอนเกี่ยวกับบัญชียาหลักแห่งชาติ (National List of Essential Medicines: NLEM) ในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตและทัศนคติที่เกี่ยวข้องของอาจารย์ผู้สอน วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์เภสัชกรผู้รับผิดชอบหรือเป็นผู้สอนหลักในรายวิชาเกี่ยวกับ NLEM ของคณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทยที่คัดเลือกโดยการสุ่มแบบจำเพาะเจาะจง การสำรวจใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน รูปแบบการประเมินผล และทัศนคติของอาจารย์ต่อ 1) NLEM  2) การสอนเกี่ยวกับ NLEM และ 3) บริบท ปัญหา และอุปสรรคของการสอน ผลการวิจัย: อาจารย์เภสัชกรที่ตอบแบบสอบถามกลับมีจำนวน 19 คน จากทุกสถาบันในประเทศไทย สถาบันละ 1 คน การเรียนการสอนเกี่ยวกับ NLEM ส่วนใหญ่ดำเนินการในชั้นปีที่ 3 และ 4 ของหลักสูตร จำนวนชั่วโมงรวมของการเรียนการสอนเกี่ยวกับ NLEM เฉลี่ยเท่ากับ 3.26±2.05 และ 2.00±3.84 ชั่วโมงในรายวิชาบรรยายและปฏิบัติการ ตามลำดับ การสอนแบบบรรยายและการสอบแบบปรนัยเป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด อาจารย์ผู้ตอบแบบสอบถามมีทัศนคติเชิงบวกอย่างชัดเจนในด้านประโยชน์และความจำเป็นของ NLEM และการเรียนการสอนเกี่ยวกับ NLEM การเรียนการสอนเกี่ยวกับ NLEM ควรบูรณาการเชื่อมโยงกับเนื้อหารายวิชาอื่น ๆ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษารายละเอียดของ NLEM สรุป: การเรียนการสอนเกี่ยวกับ NLEM ในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตมีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย อาจารย์ผู้รับผิดชอบหรือเป็นผู้สอนหลักมีทัศนคติต่อ NLEM และการเรียนการสอนเกี่ยวกับ NLEM ในเชิงบวกโดยเฉพาะในด้านประโยชน์และความจำเป็นต่อผู้ป่วยและระบบสาธารณสุขของประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

National Drug System Development Committee. National list of essential medicines 2018. Nonthaburi: Food and Drug Administration, Ministry of Public Health Thailand; 2018.

Jirawattanapisal T, Kingkaew P, Lee T-J, Yang M-C. Evidence-based decision-making in Asia-Pacific with rapidly changing Health-Care Systems: Thailand, South Korea, and Taiwan. Value Health. 2009; 12: S4-S11.

Tian X, Song Y, Zhang X. National essential medi cines list and policy practice: A case study of China’s health care reform. BMC Health Serv Res. 2012; 12: 401.

Sharma S, Kh R, Chaudhury RR. Attitude and opinion towards essential medicine formulary. Indian J Phar macol 2010; 42: 150-2.

Shen Q, Yang C, Chang J, Wu L, Zhu W, Lv B, et al. Hospital pharmacists’ knowledge of and attitudes towards the implementation of the National Essential Medicines System: a questionnaire survey in western China. BMC Health Serv Res. 2016; 16: 292.

Notification of Pharmacy Council of Thailand No.18/2013 on the core competency of pharmacy curriculum (July 3, 2013).