ความสอดคล้องของการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะตามแนวทางการรักษา สำหรับโรคปอดอักเสบชุมชนจากเชื้อแบคทีเรีย ในแผนกผู้ป่วยนอก

Main Article Content

มาลัยพร กัณฑา
หนึ่งฤทัย สุกใส
อรกานต์ หลานวงษ์
จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาร้อยละความสอดคล้องของการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคปอดอักเสบชุมชนจากเชื้อแบคทีเรียเมื่อเทียบกับแนวทางการรักษาของสมาคมโรคติดเชื้อประเทศสหรัฐอเมริกาฉบับปีพ.ศ. 2562 ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จังหวัดขอนแก่น วิธีการ: รูปแบบงานวิจัยเชิงพรรณนาเป็นชนิดเก็บข้อมูลย้อนหลัง โดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยนอกที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคปอดอักเสบชุมชนจากเชื้อแบคทีเรีย และได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 การศึกษาประเมินความสอดคล้องของการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะเมื่อเทียบกับแนวทางการรักษาโรคปอดอักเสบชุมชนจากเชื้อแบคทีเรียของสมาคมโรคติดเชื้อประเทศสหรัฐอเมริกาฉบับปี พ.ศ. 2562 (ATS/IDSA 2019)  ผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกรวมทั้งหมด 304 คน การสั่งใช้ยาปฏิชีวนะร้อยละ 45.1 สอดคล้องกับแนวทางการรักษาในทุกด้าน (ชนิดยา ขนาดยา และระยะเวลาให้ยา) การสั่งใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางการรักษาในด้านใดด้านหนึ่ง และในทุกด้านเท่ากับร้อยละ 46.7 และ 2.6 ตามลำดับ ในผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะ 287 คน ผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะที่สอดคล้องกับแนวทางการรักษาจำนวน 223 คน (ร้อยละ 77.7) ผู้ป่วยที่ไม่มีโรคร่วมได้รับชนิดยาปฏิชีวนะที่สอดคล้องกับแนวทางการรักษาร้อยละ 97.3 ความสอดคล้องของการสั่งใช้ขนาดยา และระยะเวลาให้ยา เท่ากับร้อยละ 93.6 และ 79.8 ตามลำดับ ในผู้ป่วยที่มีโรคร่วมพบร้อยละความสอดคล้องของการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในด้านชนิดยาเพียงร้อยละ 14.7 สรุป: ร้อยละการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคปอดอักเสบชุมชนจากเชื้อแบคทีเรียในแผนกผู้ป่วยนอกที่สอดคล้องกับแนวทางการรักษา ในทุกด้าน (ชนิดยา ขนาดยา และระยะเวลาให้ยา) ยังไม่เกินร้อยละ 50   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization. The top 10 causes of death [online]. 2018 [cited Dec 31, 2018]. Available from: www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/th e-top-10-causes-of-death.

Bureau of epidemiology. Annual epidemiological surveillance report 2017 [online]. 2018 [cited Nov 11, 2018]. Available from: 203.157.15.110/boeeng/ annual.php.

Ministry of Public Health. The top 10 diseases in the inpatient department [online] 2019 [cited Apr 30, 2020]. Available from:hdcservice.moph.go.th/hdc/re ports/report.php?source=pformated/format2.php&cat_id=491672679818600345dc1833920051b2&id=87af734bc7575ecba528b7c9dba063bb.

Lopardo GD, Fridman D, Raimondo E, Albornoz H, Lopardo A, Bagnulo H, et al. Incidence rate of community-acquired pneumonia in adults: a popu lation based prospective active surveillance study in three cities in South America. BMJ 2018; 8: 1-9.

Personnea V, Chevalier J, Buffel C, Partouchea H, Gilberga S, Pouvourville G. CAPECO: Cost evaluation of community acquired pneumonia managed in primary care. Vaccine 2016; 34: 2275–80.

Divinoa V, Schranzb J, Earlyc M, Shahd H, Jianga M, DeKovena M. The annual economic burden among patients hospitalized for community acquired pneumonia (CAP): a retrospective US cohort study. Curr Med Res Opin 2020; 36: 151–60.

Mandell LA, Wunderink RG, Anzueto A, Bartlett JG, Campbell GD, Dean NC, et al. Infectious diseases society of America/American Thoracic Society Con sensus Guidelines on the management of community-acquired pneumonia in adults. Clin Infect Dis 2007; 44: 27-72.

Metlay JP, Waterer GW, Long AC, Anzueto A, Brozek J, Crothers K, et al. Diagnosis and treatment of adults with community-acquired pneumonia: An official clinical practice guideline of the American Thoracic Society and Infectious Diseases Society of America. Am J Respir Crit Care Med 2019; 200: 45-67.

Pediatric Pulmonary & Critical Care Thai Society. Diagnosis and treatment of children with acute respiratory tract infections [online]. 2019 [cited Apr 30, 2020]. Available from: www.thaipediatrics. org/Media/media-20190906151602.pdf.

Wattengel BA, Sellick JA, Skelly MK, Napierala R, Schroeck J, Mergenhagen KA. Outpatient antimicro bial stewardship: targets for community-acquired pneumonia. Clin Ther 2019; 41: 466-76.

Micek ST, Lang A, Fuller BM, Hampton NB, Kollef MH. Clinical implications for patients treated inappropriately for community-acquired pneumonia in the emergency department. BMC Infect Dis 2014; 14: 1-8.

Wongsurakiat P, Chitwarakorn N. Severe community-acquired pneumonia in general medical wards: outcomes and impact of initial antibiotic selection. BMC Pulm Med 2019; 19: 2-10.

Tansarli GS, Mylonakisa E. Systematic review and meta-analysis of the efficacy of short course antibiotic treatments for community-acquired pneu monia in adults. Antimicrob Agents Chemother 2018; 62: 1-13.