มูลค่าความสูญเสียของยาพ่นสูดสูตรผสมระหว่างคอร์ติโคสเตียรอยด์และ β2-agonist ชนิด ออกฤทธิ์ยาวที่เกิดจากการครอบครองยาเกินจำเป็นของผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์

Main Article Content

ชนนิกานต์ นิลโมจน์
กุลธิดา สุขสวัสดิ์
พิมพ์วรา ตันเวชศิลป์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อคำนวณหาจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับยาในปริมาณที่เกินจำเป็นสำหรับยาพ่นสูตรผสมระหว่างคอร์ติโคสเตียรอยด์และ β2-agonist ชนิดออกฤทธิ์ยาว 4 ชนิด ได้แก่ fluticasone/salmeterol (125/25), fluticasone/salmeterol (100/50), fluticasone/salmeterol (250/50) และ budesonide/formoterol (160/4.5) และเพื่อประเมินมูลค่าความสูญเสียที่เกิดขึ้น วิธีการ: การศึกษาใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2560 นิยามของการได้รับยาพ่นสูดมากเกินปริมาณที่ใช้จริง คือ การมีปริมาณยาพ่นสูดที่แพทย์สั่งจ่ายมากเกินกว่าปริมาณยาที่ใช้จริงมากกว่า 1 หลอดโดยพิจารณาปริมาณยาพ่นสะสมที่ผู้ป่วยได้รับตลอดช่วงระยะเวลาที่ศึกษาทั้งหมด 21 เดือน ผลการวิจัย: จากผู้ป่วยทั้งหมด 2,414 คน มีผู้ป่วยนอกที่ได้รับยา fluticasone/salmeterol (125/25), fluticasone/salmeterol (100/50), fluticasone/salmeterol (250/50) และ budesonide/formoterol (160/4.5) มากเกินจำเป็น จำนวน 331 คน (ร้อยละ 34.34), 12 คน (ร้อยละ 11.21), 146 คน (ร้อยละ 20.28) และ 161 คน (ร้อยละ 21.41) ตามลำดับ มูลค่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับยาพ่นทั้ง 4 ชนิด คิดเป็น 821,609 บาทในช่วงเวลาที่ศึกษา ผู้ที่ใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการและคลินิกอายุรกรรมเป็นสิทธิและคลินิกที่ได้รับยาเกินจำเป็นมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 71.73 และ 34.89 ตามลำดับ สรุป:  ควรมีการพัฒนาระบบเพื่อประกอบการตัดสินใจสั่งใช้ยาของแพทย์ เช่น การแสดงข้อมูลปริมาณยาสะสมที่แพทย์สั่งจ่ายและปริมาณที่ผู้ป่วยต้องใช้จริงทุกครั้งในระบบคอมพิวเตอร์ มาตรการที่ดีจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาลได้ประมาณ 460,000 บาทต่อปี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Thailand Office of the National Economic and Social Development Council. National healthcare expenditure as a percentage of gross domestic product (GDP): 1993 – 2018 [online]. 2019 [cited Nov 3, 2019]. Available from: social.nesdc.go.th/ SocialStat/StatReport_Final.aspx?reportid=1260&template=1R1C&yeartype=M&subcatid=18.

Chaiyakunapruk N, Nimpitakpong P, Jeanpeerapong N, Dilokthornsakul P. The magnitude and impact of medication oversupply on fiscal and policy solutions [online]. 2012 [cited Jun 2, 2018]. Available from: kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3641?show=full.

Trueman P, Taylor D, Lowson K, Newbould J, Blighe A, Meszaros A; Wright D, et al. Evaluation of the scale, causes and costs of waste medicines. Report of DH Funded National Project. York Health Econo mics Consortium and the School of Pharmacy, University of London, York and London; 2010.

Charoenchokthavee W, Lertwattanachai T, Rodhed bhai W, Kobwanthanakun S. Analysis and manage ment of unused medicines in urban community. Vajira Medical Journal. 2013; 57: 147-58.

Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease . Global strategy for the diagnosis, management and prevention of chronic obstructive lung disease (2019 report) [online]. 2019 [cited Nov 3, 2019]. Available from: goldcopd.org.

Thai Asthma Council and Association. Thailand asthma diagnosis and treatment guideline [online]. 2019 [cited Nov 3, 2019]. Available from: www.tac. or.th/index.php/en/download/category/1-guidelines.

Notification of Drug System Development Committee on establishment of median price. Royal Gazette No. 136, Part 99D special (April 22, 2019).

World Health Organization. ICD-10 : international statistical classification of diseases and related health problems: tenth revision. [online]. 2004 [cited Nov 3, 2019]. Available from: apps.who.int/iris/han dle/10665/42980

Toy EL, Beaulieu NU, McHale JM, Welland TR, Plauschinat CA, Swensen A, et al. Treatment of COPD: relationships between daily dosing frequen- cy, adherence, resource use, and costs. Respir Med 2011; 105: 435–41.