ต้นทุนโดยตรงทางการแพทย์ในผู้ป่วยโรคหืดในโรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาต้นทุนโดยตรงทางการแพทย์ในผู้ป่วยโรคหืดในโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาที่เก็บข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ HOSxP ของโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียงแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี เกณฑ์คัดผู้ป่วยเข้าในการวิจัย คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคหืดและเข้ารับบริการระหว่าง 1 ตุลาคม 2556 ถึง 30 กันยายน 2560 ผลลัพธ์หลัก คือ ต้นทุนโดยตรงทางการแพทย์ซึ่งแปลงค่าเรียกเก็บเป็นต้นทุนด้วยวิธีอัตราส่วนต้นทุนต่อค่าเรียกเก็บ (ratio of cost to charge) ผลลัพธ์รอง คือ รูปแบบการรับยาควบคุมอาการ การศึกษาวิเคราะห์ผลตามปีงบประมาณ 2557 - 2560 และสิทธิการรักษา ผลการวิจัย: ผู้ป่วยถูกคัดเข้ามาในการศึกษาทั้งหมด 468 ราย อายุเฉลี่ย 38.47 ± 20.56 ปี ร้อยละ 60.47 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.95 ไม่มีโรคเรื้อรังอื่น ๆ ร่วมด้วย และร้อยละ 78.42 มีสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติ ต้นทุนเฉลี่ยปี 2557 - 2560 เป็น 6,615 ± 9,002, 5,756 ± 6,911, 4,546 ± 8,785 และ 4,557 ± 41,162 บาทต่อรายต่อปี ตามลำดับ ต้นทุนเป็นค่ายาร้อยละ 36.05 – 51.14 อัตราการรับบริการผู้ป่วยนอกเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลงจาก 5.31 ± 5.08 ครั้งต่อรายต่อปี ในปี 2557 เป็น 3.08 ± 2.47 ครั้งต่อรายต่อปี ในปี 2560 นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติมีต้นทุนรวมสูงสุดเป็น 4,938 ± 11,015 บาทต่อรายต่อปี รองลงมา คือ ประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการ ตามลำดับ ผู้ป่วยมีแนวโน้มได้รับ ICS เพื่อควบคุมอาการลดลงจากร้อยละ 70.12 ในปี 2557 เหลือร้อยละ 59.17 ในปี 2560 สรุป: ในปี 2557 – 2560 ต้นทุนรวมโดยตรงทางการแพทย์ของผู้ป่วยโรคหืดในโรงพยาบาลแห่งนี้มีแนวโน้มลดลงทุกปี โดยต้นทุนรวมผู้ป่วยนอกทั้งต้นทุนทางยาและไม่ใช่ยามีแนวโน้มลดลง แต่ต้นทุนผู้ป่วยในมีแนวโน้มสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบตามสิทธิการรักษาพบว่า สิทธิประกันสังคมมีอัตราการรับบริการและต้นทุนรวมผู้ป่วยนอกสูงสุด แต่ไม่มีการรับบริการผู้ป่วยในเลย ส่วนสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติมีต้นทุนรวมทั้งหมดและต้นทุนรวมผู้ป่วยในสูงสุด
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
The Global Asthma Report 2011 Paris France. The International Union against Tuberculosis and Lung Disease 2011 [online]. 2011 [cited Dec 16, 2016]. Available from: www.globalasthmareport.org.
Boonsawat W, Philip J Thompson, Zaeoui U, Samo sorn C, Rab Faruqi, Poonnoi P. Survey of asthma management in Thailand-the asthma insight and management study. Asian Pac J Allergy Immunol 2015; 33: 14-20.
Global Initiative for Asthma. Pocket guide to asthma management and prevention: a pocket guide for physicians and nurses, updated 2015 [online]. 2015 [cited Dec 16, 2016]. Available from: www.global asthmareport.org
Boonsawat W, Charoenphan P, Kiatboonsri S, Wongtim S, Viriyachaiyo V, Pothirat C. Survey of asthma control in Thailand. Respirology 2004; 9: 373-8.
Chuesakoolvanich K. Cost of hospitalizing asthma patients in a regional hospital in Thailand. Respirology 2007; 12: 433-8.
Dilokthornsakul P, Lee Todd A, Dhippayom T, Jean peerapong N, Chaiyakunapruk N. Comparison of health care utilization and costs for patients with asthma by severity and health insurance in Thailand. Value Health Reg Issues 2016; 9: 105-11.
Uppapong B. Direct medical cost in patients with asthma in Prankratai Hospital. Journal of Health Systems Research 2008; 1: 481–8.
Machapamo P. Development of asthma patient care model through participation of health network in Wapipathum Hospital. Journal of Health Science 2017; 26: 896–904.
Yosying K, Suthum J, Manoyos N. Medical charge of child asthma inpatient in Maharachnakorn. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2012;8: 53-9.
Boonpiyathad T, Yimsawad S, Sangasapaviriya A. The cost of asthma treatment in Phramongkutlao Hospital: population-based study in adults. J Med Assoc Thai 2016; 99: 51-7.
Health Insurance Department. MUCC MOPH Network of unit cost. Nonthaburi: Ministry of Public Health Office; 2013.
Ministry of Public Health. Unit cost of hospital in Health Region 9 under the Ministry of Public Health on 2016. Nonthaburi: Ministry of Public Health Office; 2016.
Im-anong P. Problem of drug use in community hospitals. Chonburi: Panthong Hospital; 2014.