คุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของแบบประเมินความแตกฉานด้านสุขภาพสำหรับ ชาวไทยชนิดรายการคำที่มีคำถามทดสอบความเข้าใจในผู้ป่วยชาวไทยมุสลิม
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความตรงและความเที่ยงของแบบประเมินความแตกฉานด้านสุขภาพสำหรับชาวไทยชนิดรายการคำที่มีคำถามทดสอบความเข้าใจหรือ Thai Health Literacy Assessment Using Word List with Extended Questions to Test Comprehension (THLA-W+) ในผู้ป่วยชาวไทยมุสลิมและหาจุดตัดเกณฑ์คะแนนที่เหมาะสมของแบบวัด วิธีการ: การศึกษานี้ใช้แบบวัด THLA-W+ ที่พัฒนาโดยผดุง จันชูโต ที่ประกอบด้วยคำจำนวน 48 คำและมี 4 ตัวเลือกในแต่ละคำเพื่อทดสอบความเข้าใจของตัวอย่างต่อคำในแบบวัด การคำนวณคะแนนมี 3 แบบ คือ 1) คำนวณจากการทดสอบการอ่าน (THLA-W+R: reading test) 2) คำนวณจากการทดสอบความเข้าใจ (THLA-W+C หรือ comprehension test) และ 3) คำนวณจากการทดสอบการอ่านร่วมกับการทดสอบความเข้าใจ (THLA-W+RC: reading and comprehension test) ตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยนอกที่เป็นชาวไทยมุสลิม 767 คนของโรงพยาบาลยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี การทดสอบความตรงของ THLA-W+ ทำโดยหาความสัมพันธ์กับตัวบ่งชี้ความแตกฉานด้านสุขภาพ (health literacy: HL) ระดับการศึกษา และและแบบวัด Thai Health Literacy Assessment Using Nutrition Label (THLA-N8) การหาจุดตัดและความสามารถในการทำนายใช้การวิเคราะห์ receiver operating curve ผลการวิจัย: THLA-W+R, THLA-W+C และ THLA-W+RC มี Cronbach Alpha 0.98, 0.97, และ 0.97 ตามลำดับ THLA-W+C และ THLA-W+RC สามารถแยกตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกันได้ดี และดีกว่า THLA-W+R ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ระหว่างคะแนน THLA-W+ ทั้ง 3 แบบกับตัวชี้วัด HL ต่าง ๆ (เช่น ความสามารถในการอ่าน ความเข้าใจเอกสารทางสุขภาพ) เป็นบวกและมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.22-0.82; P<0.05) ซึ่ง THLA-W+C และ THLA-W+RC มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่สูงกว่า THLA-W+R คะแนนจาก THLA-W+C และ THLA-W+RC มีความสัมพันธ์กันสูงโดย r=0.99 หากใช้ความสามารถในการอ่าน ความเข้าใจเอกสารทางสุขภาพ และ THLA-N8 เป็นตัววัดมาตรฐาน พบว่า THLA-W+R มีพื้นที่ใต้โค้ง (area under the curve; AUC) เท่ากับ 0.64-0.66 (ขึ้นกับตัววัดมาตรฐาน) ซึ่งน้อยกว่า AUC ของ THLA-W+C และ THLA-W+RC ที่เท่ากับ 0.82-0.83 และ 0.82-0.83 ตามลำดับ จุดตัดคะแนนที่เหมาะสมของ THLA-W+R, THLA-W+C และ THLA-W+RC คือ 47, 37 และ 37 ตามลำดับ ความไวของแบบวัด คือ ร้อยละ 41.90-46.52, 68.68-78.61 และ 70.74-80.75 ตามลำดับ THLA-W+C และ THLA-W+RC มีค่าความไวมากกว่า THLA-W+R ส่วนค่าความจำเพาะของแบบวัดจากการคำนวณคะแนนทั้ง 3 แบบมีค่าใกล้เคียงกัน คือ 76.21-88.10, 67.96-83.33 และ 66.02-80.95 ตามลำดับ สรุป: THLA-W+ มีความเที่ยงและความตรงในผู้ป่วยชาวไทยมุสลิม ในการทดสอบควรใช้ THLA-W+C เพราะมีคุณสมบัติการวัดที่ดีกว่า THLA-W+R และไม่ต้องใช้บุคลากรในการตัดสินการอ่านออกเสียงคำ THLA-W+C มีความไวและความจำเพาะเป็นที่น่าพอใจ ผู้ที่ได้คะแนนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 37 ถือว่ามี HL ไม่พียงพอ
Article Details
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์ บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสารเภสัชกรรมไทยถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ
References
2. Berkman ND, Sheridan SL, Donahue KE, Halpern DJ, Viera A, Crotty K, et al. Health literacy interven-tions and outcomes: an updated systematic review. Evidence Report/Technology Assesment No. 199. Rockville, MD. Agency for Healthcare Research and Quality; 2011.
3. Davis TC, Crouch M, Wills G, Abdehou D. Rapid assessment of literacy levels of adult primary care patients. Fam Med 1991; 23: 433-55.
4. Parker RM, Baker DW, Williams MV, Nurss JR. The test of functional health literacy in adults: a new instrument for measuring patients’ literacy skills. J Gen Intern Med 1995; 10: 537-41.
5. Weiss BD, Mays MZ, Martz W, Casto KM, DeWalt DA, Pignone MP, et al. Quick assessment of literacy in primary care: the newest vital sign. Ann Fam Med 2005; 3: 514-22.
6. Health Education Division, Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. Guide- lines for the development of health literacy to change behavior and reduce risk. Nonthaburi: Ministry of Public Health, 2013.
7. Jindawong B. Validity and reliability of the Thai version of health literacy screening tools for patients at Srinagarind Hospital, Khon Kaen, Thailand. [master thesis]. Khon Kaen: Khon Kaen Uni- versity; 2013.
8. Phantong W. Development of the Thai Health Lite- racy Assessment using Word List (THLA-W). [master thesis]. Songkla: Prince of Songkla University; 2016.
9. Chanchuto P. Development of the Thai Health Lite- racy Assessment Using Word List with extended questions to test comprehension (THLA-W+): testing in Sadao Hospital. [master thesis]. Songkla: Prince of Songkla University; 2017.
10. Lee SY, Bender DE, Ruiz RE, Cho YI. Development of an easy-to-use Spanish health literacy test. Health Serv Res 2006; 41: 1392-412.
11. Na Phatthalung P, Lerkiatbundit S. Development of Thai health literacy assessment based on the assess ment of ability to use nutrition label. Thai Journal of Pharmacy Practice 2019; 11: 659-77.
12. Office of the Private Schools within 5 Southern Border Provinces. Comparision of the average score on ordinary national educational test [online]. 2017 [cited Apr 16, 2018]. Available from: www.skprivate .go.th/uploads/information/9a33fc62f981f0a441b0cac91da055c6.xlsx.
13. Faul GF, Erdfelder E, Buchner A and Lang AG. Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behav Res Methods 2009; 41:1149-60.
14. Youden WJ. Index for rating diagnostic tests. Cancer 1950; 3: 32–5.
15. Swets JA. Measuring the accuracy of diagnostic systems. Science 1988; 240:1285-93.
16. Jaeschke R, Guyatt GH, Sackett DL. Users' guides to the medical literature. III. How to use an article about a diagnostic test. B. What are the results and will they help me in caring for my patients? The Evidence-Based Medicine Working Group. JAMA. 1994; 271: 703-7.