การจัดการปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนโดยเครือข่าย บวร.ร

Main Article Content

สิริลักษณ์ รื่นรวย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาวิธีการและผลของการจัดการปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (drugs and health product related problems: DHPRP) ในชุมชน โดยเครือข่าย บวร.ร (บ้าน วัด โรงเรียน และโรงพยาบาล) และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการทำงานส่งเสริมเครือข่ายโดยหน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับ วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ศึกษาข้อมูลระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับชุมชน ตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ใช้แรงงาน 249 คน ซึ่งผ่านการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ใช้แรงงานในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านร่องตาที ตัวอย่างอาศัยใน 249 ครัวเรือน (ตัวอย่าง 1 คนต่อ 1 ครัวเรือน) อาสาสมัครสาธารณสุขที่ผ่านการอบรมเป็นผู้ช่วยวิจัยเก็บข้อมูลความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาและสำรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในครัวเรือน สาธารณสุขอำเภอและผู้ช่วยวิจัยสำรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ห้ามจำหน่ายในร้านชำทุกร้าน รวม 6 ร้าน ผลการวิจัย: วิธีการจัดการ DHPRP ในชุมชนโดยเครือข่าย บวร.ร มีการดำเนินการดังนี้ 1) การให้ความรู้ด้วยสื่อที่สร้างขึ้นโดยชุมชน 2) การตรวจสอบเฝ้าระวังร้านชำ 3) การเยี่ยมบ้านต้านสเตียรอยด์ โดย Mr. Anti - Steroid 4) ชุมชนเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์อันตรายไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ 5) การคัดเลือกร้านชำต้นแบบ 6) การคัดเลือกบ้านนวัติวิถี 7) การจัดทำข้อตกลงร่วมของชุมชน 8) การจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน 9) การบูรณาการแก้ไขปัญหากับงานบุญประเพณี 10) การที่พระเทศน์ให้ความรู้ 11) การสร้างหมอนวดน้อย 12) การดำเนินการตามแนวทางการจัดการปัญหาสเตียรอยด์ ผลการดำเนินงานของเครือข่าย บวร.ร ทำให้ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคยาอย่างปลอดภัยของตัวอย่างดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ลดความชุกของครัวเรือนที่พบยาปฏิชีวนะเหลือใช้และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อาจปนเปื้อนสารสเตียรอยด์ และลดความชุกของร้านชำที่จำหน่ายยาปฏิชีวนะ ยาอันตราย ยาชุด และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อาจปนเปื้อนสารสเตียรอยด์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการทำงานส่งเสริมเครือข่ายของหน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับ คือ การร่วมกันวิเคราะห์ DHPRP ในชุมชนทำให้ทุกภาคส่วนในชุมชนเห็นความสำคัญของปัญหา และทำให้เกิดแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของพื้นที่ สรุป: เครือข่าย บวร.ร ใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นในการให้ความรู้ เน้นการตรวจสอบเฝ้าระวัง จัดทำข้อตกลงร่วมของชุมชนในการจัดการ DHPRP และมีทางเลือกให้แก่คนในชุมชน ทำให้ DHPRP ในชุมชนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kiatyingangsuli N. The potential of public sector in managing medicine problems in the community. Yawiphak [online]. 2015 [cited Dec 5, 2019]. Available from: www.thaidrugwatch.org/download/ series/series25.pdf.

Public Health Ministerial Declaration on specially controlled drugs B.E. 2521. Royal Gazette No. 95, Part 68 (Jul 4, 1978).

Thongyang P. Take down steroids. Bangkok: TQP; 2011

Pulsukserm J. Results of using steroid abuse problem management model in Uthaithani province. FDA Journal 2016; 23: 42-51.

Health Consumer Protection and Pharmacy Department, Uthaithani Provincial Public Health Office. Annual report 2018. Uthaithani; Uthaithani Provincial Public Health Office; 2018.

Katsil J. The study of problems on medicine and health products in Uthaitani Province. Northern Regional Primary Health Care Journal 2018; 30: 37-43.

Food and Drug Administration. Monitoring and evaluation of the Healthy Community Project 2019. Nonthaburi: Food and Drug Administration; 2019.

Ban Rong Ta Thi Health Promoting Hospital. Annual report 2017. Uthaitani: Ban Rong Ta Thi Health Promoting Hospital; 2017.

Ban Rong Ta Thi Health Promoting Hospital. Annual report 2018. Uthaitani: Ban Rong Ta Thi Health Promoting Hospital; 2018.

Panya R. Effects of the intervention on steroid adulterated health products at the communities in the catchment area of Khun Lan sub-district health promoting hospital, Dok Kham Tai District, Phayao. Thai Journal of Pharmacy Practice 2019; 11: 552-63.

Hamontee E. The success of community in protection and solution of problem of youth risking to drug addiction in Angthong Province. Journal of MCU Nakhondhat 2018; 5: 434-51.