ต้นทุนการเข้านอนรักษาในโรงพยาบาลกุมภวาปีของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ

Main Article Content

กิตลดา กิตยคม
ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช
สุพล ลิมวัฒนานนท์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประมาณการต้นทุนการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลกุมภวาปี สำหรับโรคปอดอักเสบ (pneumonia) หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับค่ารักษาพยาบาลและการกลับเข้านอนรักษาในโรงพยาบาลภายใน 28 วัน และวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่ายาในระหว่างการนอนรักษา วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังโดยใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลในปีงบประมาณ 2558-2561 คิดต้นทุนค่ารักษาในมุมมองของโรงพยาบาล ผลการวิจัย: ในปีงบประมาณ 2558-2561 ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่นอนรักษาในโรงพยาบาลทั้งหมด 3,009 ครั้ง ต้นทุนการรักษาพยาบาลต่อครั้งมีค่ามัธยฐาน 6,497 บาท (พิสัยควอร์ไทล์ 3,828-15,160 บาท)  โดยคิดเป็นผู้ป่วยที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน 1,679 ครั้ง ปัจจัยซึ่งสัมพันธ์กับค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ประกอบด้วย ช่วงอายุระหว่าง 15-59 ปี และ 60-74 ปี การเข้านอนโรงพยาบาลด้วยความรุนแรงของโรคร่วมและภาวะแทรกซ้อนในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อแบ่งความรุนแรงตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (diagnosis-related group) ผู้ป่วยที่มีวันนอนโรงพยาบาลตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป การทำหัตถการในระบบทางเดินหายใจ และการใช้ยาปฏิชีวนะในบัญชียาหลักแห่งชาติ ประเภทบัญชี ง. ซึ่งต้องมีการประเมินการสั่งใช้ (drug use evaluation)  สำหรับโอกาสกลับเข้านอนรักษาในโรงพยาบาลภายใน 28 วัน ไม่พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับต้นทุนค่ายาที่ใช้ระหว่างการนอนรักษา พบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 0.32 ต่อไตรมาส (95% CI, ร้อยละ 0.08-0.56 ) สรุป: เพื่อลดค่าใช้จ่ายของการนอนรักษาโรคปอดอักเสบ โรงพยาบาลควรทบทวนการใช้ยาปฏิชีวนะในระหว่างการรักษาอย่างจริงจัง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Buakaew S, Kiewchaum T, Laophokhin V, Kitikannakorn N. Cost-analysis of antibiotic prescription for upper respiratory infections (URIs) and acute diarrhea (AD) from hospital perspective: A cross sectional study in Noenmaprang district hospital. Pharm Sci Asia 2019; 46: 33-8.

Department of disease control. Annual epidemiology surveillance report 2015 [online]. [cited Jul 1, 2016 ] Available from: www.boe.moph.go.th/Annual/AES R2015/aesr2558/Part%201/05/pneumonia.pdf.

Falagasa ME, Mourtzoukoua EG, Vardakas KZ. Sex differences in the incidence and severity of respira tory tract infections. Respir Med 2007; 101: 1845-63.

Greenbaum AH, Chen J, Reed C, Beavers S, Calla han D, Christensen D et al. Hospitalizations for severe lower respiratory tract infections. Pediatr 2014; 134: 546-54.

Jasti H, Mortensen EM, Obrosky DS, Kapoor WN, Fine MJ. Causes and risk factors for rehospitaliza- tion of patients hospitalized with community-acquired pneumonia. Clin Infect Dis 2008; 46: 550-6.

Phakdiphan S, Anantachoti P, Pengsuparp T, Trakun kan S. Hospital financial status and quality of care under diagnosis related groups payment mecha- nism. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal 2014; 9: 213-21.

Walker E, Ison MG. Respiratory viral infections among hospitalized adults: experience of a single tertiary healthcare hospital. Influenza Other Respir Viruses 2014; 8: 282–92.