การวิเคราะห์ต้นทุนแบบอิงกิจกรรมของการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วมจากผู้ป่วยจิตเภท ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนในการบริบาลทางเภสัชกรรมเฉพาะสาขาจิตเวช

Main Article Content

จักรกฤษณ์ หงษ์ทอง
นุศราพร เกษสมบูรณ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วมจากผู้ป่วยจิตเภทที่มีความยุ่งยากซับซ้อนในการบริบาลทางเภสัชกรรมเฉพาะสาขาจิตเวชด้วยวิธีคำนวณต้นทุนแบบอิงกิจกรรม ณ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์  วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวางที่รวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางเพื่อการจัดการระบบยาโรงพยาบาลเชิงบูรณาการ และวิเคราะห์ต้นทุนแบบอิงกิจกรรมในมุมมองของผู้ให้บริการสุขภาพ ผลการวิจัย: ผู้ป่วยทั้งหมด 20 ราย แบ่งเป็นชาย 17 คน และหญิง 3 คน การตัดสินใจแบบมีส่วนร่วมใช้ระยะเวลาเฉลี่ย 47.85 นาที (SD = 4.09) มีต้นทุนค่าแรงเภสัชกร 2,921.09 บาท (SD = 744.48) ต้นทุนค่าวัสดุ 6.97 บาท (SD = 1.90)  และต้นทุนค่าลงทุน 11.19 บาท (SD = 0.11) รวมต้นทุนรวมทางตรง 2,939.25 บาท ต้นทุนการให้บริการต่อครั้งเฉลี่ย 146.96 บาท การวิเคราะห์ความไวโดยปรับเปลี่ยนค่าแรงของเภสัชกรพบว่า ต้นทุนการให้บริการต่อครั้งเฉลี่ยเมื่อค่าแรงเภสัชกรต่ำ คือ 105.15 บาทและ 157.79 บาทเมื่อค่าแรงเภสัชกรสูง (ค่าเฉลี่ย 131.47, SD = 37.22) ผู้ป่วยพึงพอใจต่อการบริการในระดับมากที่สุดและไม่มีการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ สรุป: ต้นทุนของการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วมโดยผู้ป่วย คือ 146.96 บาทต่อครั้งในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีความยุ่งยากซับซ้อนและมีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kanjanasilp J, Ploylearmsang C. A short term outcomes of pharmaceutical care in Thai patients with schizophrenia: a randomized controlled trial. Songklanakarin J Sci Technol 2016;38: 189–97.

Samprasit N, Thavornwattanayong W. Outcome of pharmaceutical care in patients with psychiatric disorder: a systematic review. Journal of Health Systems Research. 2018;12: 590–607.

Rational Use of Drug Subcommittee. Teacher’s guide for promoting rational drug use. Nonthaburi: Food and Drug Administration, Ministry of Public Health; 2017.

Elwyn G, Frosch D, Thomson R, Joseph-Williams N, Lloyd A, Kinnersley P, et al. Shared decision making: A model for clinical practice. J Gen Intern Med. 2012;27: 1361–7.

Aljumah K, Hassali MA. Impact of pharmacist intervention on adherence and measurable patient outcomes among depressed patients : a randomised controlled study. BMC Psychiatry. 2015;15: 1–9.

Younas M, Bradley E, Holmes N, Sud D, Maidment ID. Mental health pharmacists views on shared decision-making for antipsychotics in serious mental illness. Int J Clin Pharm. 2016;38: 1191–9.

IHoMe Network, Faculty of Pharmaceutical Sciences Khon Kaen University and Udonthani Hospital. Khon Kaen: Integrated hospital medication management system (IHoMe). Khon Kaen: Khon Kaen University; 2017.

Riewpaiboon A. Standard cost lists for health technology assessment. Nonthaburi: Health Interven tion and Technology Assessment Program (HITAP); 2011.

Kessomboon N, Satja-areewat P. Financial manage ment for pharmacist: costing and investment decision on KhonKaen: Faculty of Pharmaceutical Sciences Khon Kaen University; 2009.