การจัดการปัญหาความไม่ปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในเขตคลินิกชุมชนวัดใหม่ทุ่งคา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

เพิ่มพรรณ์ ธนะภาส
อัจฉรียา ฟองศรี
กฐิน สมบูรณ์
ประดิตร ปะนะรัตน์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อจัดการปัญหาความไม่ปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (harms from drugs and health products: HDHP) ที่บ้านผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (diabetes mellitus and hypertension: DMHT) ในเขตคลินิกชุมชนวัดใหม่ทุ่งคา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่จัดการปัญหา HDHP ที่บ้านของผู้ป่วย DMHT 64 คนในเขตรับผิดชอบของคลินิกชุมชนวัดใหม่ทุ่งคาโดย 1. การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย DMHT โดยใช้หลักการ 4 สงสัย 2 ส่งต่อ 2. การจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังจัดการปัญหา HDHP หรือ smart อสม. (อาสาสมัครสุขภาพ) ซึ่งทำหน้าที่ให้ความรู้ที่บ้านของผู้ป่วย DMHT ตัวแปรตาม คือ ความรู้และความสามารถเรื่องยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (drugs and health products: DHP) การเก็บข้อมูลในช่วงก่อนและหลังการแทรกแซงใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นในการศึกษา ผลการวิจัย: ความรู้เรื่อง DHP โดยรวมของผู้ป่วยเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 6.15±3.08 (จากคะแนนเต็ม 12) เป็น 7.92±2.27 ในช่วงหลังการจัดการปัญหาฯ (P<0.001) หากพิจารณาความรู้รายด้าน พบว่า ผู้ป่วยมีความรู้เฉลี่ยเรื่องหลักการใช้ยาทั่วไปเพิ่มขึ้น (2.70±1.31 และ 3.45±0.83 จากคะแนนเต็ม 4 ตามลำดับ, P<0.001) ความรู้เท่าทันการโฆษณาฯ เพิ่มขึ้น (0.61±0.68 และ 1.11±0.78 จากคะแนนเต็ม 2 ตามลำดับ, P<0.001) ความรู้เรื่องการเลือกซื้อยาแผนโบราณและอันตรายของสารสเตียรอยด์เพิ่มขึ้น (1.13±1.15 และ 1.98±1.23 จากคะแนนเต็ม 3   ตามลำดับ, P<0.001) ผู้ป่วยร้อยละ 14.1 และ 28.1  มีความรู้เรื่องการดูวันหมดอายุของ DHP ก่อนและหลังการจัดการปัญหาฯ ตามลำดับ (P=0.049) ความรู้เรื่องการเก็บรักษายาเพิ่มขึ้น (1.58±0.77 และ 1.92±0.27 จากคะแนนเต็ม 2 ตามลำดับ, P=0.002) การประเมินความสามารถในการตรวจสอบ DHP ของผู้ป่วยเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 2.04±1.69 (จากคะแนนเต็ม 4) ในช่วงก่อนการจัดการปัญหาฯ เป็น 2.67±1.56 ในช่วงหลังการจัดการปัญหาฯ (P=0.021) หากพิจารณาความสามารถรายด้าน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 39.1 และ 59.4 สามารถดูเลขทะเบียนยาได้ในช่วงก่อนและหลังการจัดการปัญหาฯ ตามลำดับ (P=0.015) ตัวอย่างร้อยละ 53.1 และ 75.0 สามารถดูเครื่องหมาย อย. บนฉลากอาหารก่อนและหลังการจัดการปัญหาฯ ตามลำดับ (P=0.009) ตัวอย่างร้อยละ 59.4 และ 68.8 สามารถดูวันหมดอายุของ DHP ก่อนและหลังการจัดการปัญหาฯ ตามลำดับ (P=0.260) ตัวอย่างร้อยละ 53.1 และ 64.1 สามารถรู้เท่าทันโฆษณา DHP ก่อนและหลังการจัดการปัญหาฯ ตามลำดับ (P=0.180) สรุป: วิธีการจัดการปัญหา HDHP ที่บ้านของผู้ป่วย DMHT ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้และความสามารถในเรื่อง DHP ดีขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Chumjit C, Aumrumpai Y. Medication management system for medication safety in hospital: An analysis on problems and opportunity for improve ment. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal 2009; 4: 127-35.

2. Bunnuk W, Wongtrakoon P, Mahamongkol H, Niumkhum W. the survey of medicine, food supplement and herbal products used problems among elderly a case study at the community of Tumbon Srisa Chorakhe Noi, Samut Prakan Province. HCU Journal of Health Science 2016; 39: 97-108.

3. Sripattrangkul S, Leesawat J. The Effects of consuming dietary supplementary products, in Lampang City Municipality communities. Journal of Community Development and Quality of Life 2014; 3: 277-84.

4. Ruenruay S, Saokaew S. Situation of medicines and dietary supplements in the health provider board region 3. Thai Journal of Pharmacy Practice 2017; 9: 225-35.

5. Chatakarn V. Action research. Suratthani Rajabhat Journal 2015; 1: 29-49.

6. Armartmuntree T, Nithikathkul C, Mahaweerawat U. The development of a diabetic care system in Kuchan health promoting hospital, Kham Khuean Kaeo District, Yasothon Province. Kuakarun Journal of Nursing 2016; 23: 69-85.

7. Rachaniyom S, Saramunee K. Family pharmacist’s management of drug related problems for chronic diseases at patient’s in home, Kranuan District Health Network. Thai Journal of Pharmacy Practice 2016; 8: 169-81.

8. Champunot P. Leftover medicines and medicine use behavior of people in Chiang Mai Province [online]. 2011 [cited Aug 21, 2017]. Available from: search. lib.cmu.ac.th/search/?searchtype=.&searcharg=b1505917

9. Tongyoung P. 4 suspects and 2 forwards of untrustworthy health products [online]. 2018 [cited May 21, 2018]. Available from: waymagazine.org/ curiousandshare/.