การใช้ยาที่ได้รับยาจากโรงพยาบาลด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน: กรณีศึกษาตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

อารีย์ พิมพ์ดี
วิบูลย์ วัฒนนามกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาการใช้ยาด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับยาจากโรงพยาบาล วิธีการ: การศึกษาใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 28 คน ประกอบด้วยผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้จำนวน 13 คน และที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้จำนวน 15 คน ข้อมูลที่ได้ผ่านการตรวจสอบสามเส้าถูกนำมาวิเคราะห์แก่นสาระ ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 6 เดือน ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2561 – 31 พฤษภาคม 2562 ผลการวิจัย: การใช้ยาด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับยาจากโรงพยาบาลนั้นมีการปรับเปลี่ยนไม่เป็นไปตามที่แพทย์สั่งทั้งชนิดยา วิธีใช้ยา และขนาดยา ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนการใช้ยาได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ ผ่านประสบการณ์ด้วยตนเองจนกระทั่งพบจุดสมดุลที่ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้เป็นปกติ กระบวนการนี้ขึ้นกับการรับรู้เรื่องโรคและยา ระยะเวลาเป็นโรคเบาหวาน อาการแสดงที่เกิดขึ้น ค่าระดับน้ำตาลในเลือด วัฒนธรรมยาต่อคุณสมบัติของยา ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม และระบบบริการสาธารณสุข สรุป: ประสบการณ์การใช้ยาด้วยตนเองเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวาน ปรากฏการณ์นี้เป็นข้อค้นพบที่ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าใจการใช้ยาของผู้ป่วย และปรับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานควบคู่ไปกับการใช้แนวทางการรักษาโรคเบาหวานแผนปัจจุบันเพื่อส่งผลให้เกิดผลการรักษาที่ดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Karuranga S, da Rocha Fernandes J, Huang Y, Malanda B. IDF diabetes atlas [online]. 2017 [cited Jan 9, 2018]. Available from: www.diabetesatlas. org.

World Health Organization. Global report on diabetes [online]. 2016 [cited Jan 9, 2018]. Available from: apps.who.int/iris/handle/10665/204871.

Suksaard T, Ngamaroon W, Suriyawongpaisal W. NCDs diseases situation report issue 2: kick off to the goals. Nonthaburi: International Health Policy Program; 2016.

Zhu VJ, Tu W, Rosenmana MB, Overhagec JM. Nonadherence to oral antihyperglycemic agents: subsequent hospitalization and mortality among patients with type 2 diabetes in clinical practice. Stud Health Technol Inform 2015; 216: 60-3.

Sokol MC, Kimberly A, Robert R. Robert S. Impact of medication adherence on hospitalization risk and healthcare cost. Med Care 2005; 43:521-30.

Diabetes Association of Thailand. Clinical practice guideline for diabetes. 2nd ed. Pathum Thani: Rom yen Media; 2017.

Van der Geest S, Whyte SR. Hardon A. The anthropology of pharmaceuticals: a biographical approach. Annu Rev Anthropo 1996; 25: 153-78.

Flanigan J. Pharmaceutical freedom: Why patients have a right to self medicate. New York: Oxford University Press; 2017.

Van der Geest S, Whyte SR. The context of medicines in developing countries. Netherlands: Het spinhuis Publishers; 1991.

Department of Planning and Information, Namphong Hospital. Population database of Namphong Hospital. Khon Khaen: Namphong Hospital; 2017.

Kowatcharakul W, Sringernyuang L. Begin with the heart to primary care pharmacy. Bangkok: Good Print Printing; 2012.

Senah KA. Blofo Tshofa. Local perception of medicines in a Ghanaian Coastal community. In: Etkin NL, Tan ML, editors. Medicines: Meanings and contexts. Philippines: Health Action Information Network and Medical Anthropology Unit, University of Amsterdam; 1994. p.83-99.

Supachaipanichpong P, Vatanasomboon P, Tansakul S, Chumchuen P. Knowledge and beliefs in medication use among diabetic patients with non-medication adherence. Veridian E-Journal Science and Technology, Silpakorn University 2014;1: 1-12.

Phanphuwong S, Chanthapasa K. Dietary supple ment consumption behavior of diabetes mellitus patients in Tambon Warit Cha-phum, Warit Cha-phum District, Sakon Nakhon Province. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2013;9: 155-9.

Chaichanawirote U, Vithayachockitikhun N. Medication use behaviors among the older Thai adults. Journal of Nursing and Health Sciences 2015; 9: 32-46.