ความคิดเห็นของเภสัชกรในการคัดเลือก จัดหา เก็บรักษา และกระจาย ยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ในโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดหนึ่ง

Main Article Content

ดวงพร ลาภจิตร
สุพัตรา ชาติบัญชาชัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเภสัชกรในคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (PTC) ในการคัดเลือก จัดหา เก็บรักษา และกระจายยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ในโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดหนึ่ง วิธีการ: การศึกษาแบบพรรณนาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างเก็บข้อมูล แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบเนื้อหาและทดลองใช้ในโรงพยาบาลของจังหวัดใกล้เคียง ตัวอย่าง คือ เภสัชกรแห่งละ 1 คนในโรงพยาบาล 11 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลจังหวัด (S) 1 แห่ง โรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ (M2) 2 แห่ง โรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง (F1)  2 แห่ง  โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก (F2) 6 แห่ง ผลการศึกษา:  การพิจารณาคัดเลือกยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ทุกรายการดำเนินการผ่าน PTC  โดยคัดเลือกเฉพาะยากลุ่ม opioid เพื่อระวังอาการปวดอย่างรุนแรงเท่านั้น  เงื่อนไขในการคัดเลือกยาในแต่ละโรงพยาบาลมีความแตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะคัดเลือกชนิดยา รูปแบบยา และความแรงของยาให้มีเพียงชนิดเดียว ยกเว้นโรงพยาบาลระดับจังหวัดที่มียาหลายความแรงและหลายรูปแบบ ในปี 2559 รายการที่คัดเลือกไว้เพื่อสั่งจ่ายในโรงพยาบาลมีตั้งแต่ 3 ถึง 13 รายการ ทุกแห่งสั่งซื้อทุกรายการไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตัวอย่างร้อยละ 54.54 ระบุว่า เอกสารที่ใช้ประกอบการจัดซื้อและขั้นตอนการพิจารณาการซื้อมีความยุ่งยาก เมื่อขาดยาจะยืมยาระหว่างโรงพยาบาล ยาถูกเก็บที่คลังยาใหญ่โดยมีตู้เก็บเฉพาะและมีตู้ยาย่อยกระจายตามหอผู้ป่วยบางหอที่มีผู้ป่วยซึ่งอาจต้องใช้ยากลุ่มนี้ ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันในแต่ละโรงพยาบาล  ทุกแห่งไม่อนุญาตให้เบิกยาไปใช้นอกโรงพยาบาล สรุป : ในการคัดเลือกและจัดหายาเสพติดให้โทษประเภท 2 พบว่ามีการกำหนดกรอบยาจังหวัดและการยืมยาภายในจังหวัด PTC ในระดับจังหวัดควรทำความตกลงเรื่องกรอบบัญชียาของจังหวัดในแต่ละระดับโรงพยาบาลและจัดระบบการยืมยาภายในจังหวัด และควรมีบุคลากรสาขาที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย นอกจากนี้ควรทำความเข้าใจในกฎระเบียบและมีข้อตกลงที่ชัดเจนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อลดขั้นตอนในการจัดซื้อและจัดทำรายงานให้สะดวกมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Narcotics Drug Act B.E. 2522. Royal Gazette No. 96, Part 63 special (Apr 27, 1979).

Food and Drug Administration. Guidelines for the purchase of narcotics and psycho tropic substances [online]. 2014 [cited Oct 20, 2516]. Available from: www.fda.mogh.go.th/sites/Narcotics

Pornsuree S, Junichi S, Hirosawa T. Knowledge attitudes and barriers of physicians, policy makers/

regulators regarding use of opioids for cancer pain management in Thailand. Nagoya J Med Sci 2013; 75: 201-12.

Rojanasak T, Temsak P, Narumol A. Palliative care and essential drug availability: Thailand national survey 2012. J Palliat Med 2013; 16: 546-50.

World Health Organization. Strengthening of palliative care as a component of integrated treatment through out the life course. J Pain Palliat Care Pharmacother 2014; 28: 130-4.

Office of the Permanent Secretary for Public Health. Announcement of the Office of the Permanent Secre tary for Public Health regarding the measures to supervise the administration of drug administration of hospital [online]. 2012 [cited Jun 1, 2016]. Availa ble from: www.moph.go.th/r web/e_ eports/e_do cu ments.

Cleary J, Radbruch L, Torode J, Cherny NI. Formu lary availability and regulatory barriers to accessibi lity of opioids for cancer pain in Asia: a report from the Global Opioid Policy Initiative (GOPI). Ann Oncol

; 24(Suppl 11): xi24-32.

Cherny NI, Baselga J, De Conno F, Radbruch L. Formulary availability and regulatory barriers to accessibility of opioids for cancer pain in Europe: a report from the ESMO/EAPC Opioid Policy Initiative.

Ann Oncol 2010; 21: 615-26.

Leon MX, De Lima L, Florez S, Torres M, Daza M, Mendoza L, et al. Improving availability of and access to opioids in Colombia: description and preliminary results of an action plan for country. J Pain Symptom Manage 2009; 38: 758-66.

Rojanasak T, Temsak P, Narumol A. Regulation of opioid drugs in Thai government hospital: Thailand national survey 2012. Indian J Palliat Med 2014; 20: 6-11.